ผู้วิจัย

จิรวัฒน์ วิมุตติสุขวิริยา

บทคัดย่อ

ลมเป็นภัยธรรมชาติที่สร้างความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่อง ความเร็วลมทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะเนื่องจากสภาวะโลกร้อน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลอุตุนิยมวิทยาและทำนายความเร็วลมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การทำนายความเร็วลมใช้แบบจำลองทางสถิติวิธี Reverse Weibull จากนั้นจึงปรับให้เป็นความเร็วลมพื้นฐานและค่าแรงลมตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า ความเร็วลมสูงสุดอยู่ที่สถานีตรวจอากาศมุกดาหารและความเร็วลมต่ำสุดอยู่ที่สถานีตรวจอากาศร้อยเอ็ด ผลการคำนวณแรงลมในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ตามมาตรฐาน ASCE 7-10 และกรมโยธาธิการและผังเมือง พ.ศ. 2550 พบว่าต่างมีค่ามากกว่าข้อกำหนดในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จากการศึกษาอาคารเรียนวิทยาลัยชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์และอาคารอัฒจันทร์สนามฟุตบอลไอโมบายจังหวัดบุรีรัมย์พบว่า ค่าแรงลมยกมีค่า 46.2 kg/m2 และ 49.8 kg/m2 ตามมาตรฐาน ASCE 7-10 และกรมโยธาธิการและผังเมืองตามลำดับ งานวิจัยนี้ยังพบอีกว่าลมพายุฤดูร้อนรุนแรงในพื้นที่มักเกิดขึ้นเมื่อมีศูนย์กลางความกดอากาศต่ำอยู่บริเวณภาคเหนือหรือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คำสำคัญ : ความเร็วลม แรงลม Reverse Weibull ผลกระทบเนื่องจากลม

บรรณานุกรม

กรมโยธาธิการ. (ม.ป.ป.). พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522. กรุงเทพฯ : กรมโยธาธิการ. กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2550). มาตรฐานการคำนวณแรงลมและการตอบสนองของอาคาร. กรุงเทพฯ : กรมโยธาธิการ. กรมอุตุนิยมวิทยา. (2534). สถิติภูมิอากาศของประเทศไทยในคาบ 30 ปี (พ.ศ.2504-2533). กรุงเทพฯ : กรมอุตุนิยมวิทยา. จามรพันธุ์ จียาศักดิ์. (2540). ข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยแรงลมและการออกแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กต้านพายุไต้ฝุ่นในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จิรวัฒน์ วิมุตติสุขวิริยา. (2554). รายงานการวิจัยผลกระทบความเร็วลมต่ออาคารในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรณีศึกษาอาคารที่ตั้งอยู่ในภูมิประเทศแบบเปิดโล่งในเขตจังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์ : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. นรินทร์ เอื้อศิริวรรณ. (2538). ความเร็วลมออกแบบและหน่วยแรงลมออกแบบเสนอแนะสำหรับประเทศไทย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์, พูลศักดิ์ เพียรสุสม และ นรินทร์ เอื้อศิริวรรณ. (2539). หน่วยแรงลมสำหรับการออกแบบอาคารสูงในประเทศไทย. ใน เอกสารการสัมมนาวิชาการเรื่อง ผลกระทบเนื่องจากลมที่มีต่อโครงสร้างอาคารสูง และโครงสร้างที่มีความชะลูด (127-140). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร. สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร. (2555). แผนที่อากาศสำหรับประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2555, จาก http://www.thaiwater.net. อติวัฒน์ วิมุตตะสูงวิริยะ (2545). แผนที่ความเร็วลมเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างสำหรับประเทศไทย. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. อติวัฒน์ วิมุตตะสูงวิริยะและ มงคล จิรวัชรเดช (2547). ความเร็วลมเพื่อใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างสำหรับประเทศไทย. (CD-Rom). การประชุมวิชาการนวัตกรรมทางวิศวกรรมสำหรับการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น. อติวัฒน์ วิมุตตะสูงวิริยะและ มงคล จิรวัชรเดช (2547). ความเร็วลมเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างสำหรับประเทศไทย. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 9. STR 41-46. กรุงเทพฯ : วิศวกรรมโยธาแห่งชาติ. American Society of Civil Engineers (ASCE 7-10). (2010). Minimum Design Loads for Buidings and Other Structures. Virginia: The American Society of Civil Engineers. Gross, J.L., Heckert, N.A., Lechner, J.A. and Simiu, E. (1994). Extreme Winds Estimation by Peaks Over Threshold and Epochal Methods. Structures Congress XII (Vol. 2): 1472-1477. Heckert, N.A., Simiu, E. and Whalen, T. (1998). Estimates of Hurricane Wind Speeds by Peaks Over Threshold Method. Journal of Structural Engineering April 1998: 445-449. Simiu, E. (1994). Chaotic Behavior of Coastal Currents Due to Random Wind Forcing. In Oceans Engineering for Today’s Technology and Tomorrow’s Preservation (Vol. 3): 11-16. Simiu, E and Heckert, N.A. (1996). Extreme Wind Distribution Tails: A Peaks Over Threshold Approach. Journal of Structural Engineering May 1996 : 539-547. Simiu, E. and Scanlan, R.H. (1996). Wind Effects on Structures : Fundamentals and Applications to Design. New York: John-Wiley & Sons.

หน่วยงานการอ้างอิง

รมยสาร

ความคิดเห็น