ผู้วิจัย

กิ่งแก้ว ปะติตังโข

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ทำการสังเคราะห์อนุภาคนาโนทางเคมีด้วยสภาวะที่ไม่รุนเเรง ศึกษาสมบัติทางเคมีเชิงฟิสิกส์และฤทธิ์ทางชีวภาพในการต้านอนุมูลอิสระและการต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในมนุษย์ พบว่า สามารถสังเคราะห์อนุภาคนาโนทองเเดง (C1) เหล็ก (C2) และนิกเกิล (C3) ในตัวทำละลายเอทานอลที่ร้อนได้ผลผลิตในเปอร์เซ็นต์ที่สูงถึง 78.82 81.11 และ 55.01% ผลการศึกษาด้วยเครื่อง SEM พบว่า ลักษณะของอนุภาคทองเเดงนาโนเป็นทรงกลม ส่วนเหล็กและนิกเกิลนาโนมีลักษณะเป็นรูปเข็มกระจายตัวสม่ำเสมอ ส่วนฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ DPPH พบว่า อนุภาคทองเเดงนาโนมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระ DPPH สูงสุด รองลงมาคือ อนุภาคเหล็กและนิกเกิลนาโน สำหรับการต้านอนุมูลอิสระเทคนิค FRAP พบว่า ลิเเกนด์ Dimethyl glyoxime (DMG หรือ L1) ออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด ส่วนทองเเดงมีฤทธิ์ต่ำที่สุด สำหรับการต้านแบคทีเรียก่อโรคในมนุษย์ พบว่า C1 และ C2 มีประสิทธิภาพในการต้านแบคทีเรียทั้ง 4 ชนิด คือ B.cereus Staphylococus aureus Salmonella และ E.coli ได้ดีที่สุดโดยมีค่าขอบเขตการยับยั้งเฉลี่ยระหว่าง 25-30 mm ดังนั้นผลจากการวิจัยในครั้งนี้จึงมีประโยชน์ต่อวงการเเพทย์และเภสัชเป็นอย่างยิ่ง

หน่วยงานการอ้างอิง

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ไฟล์แนบ

pdf Vol_47_No_2_P_233-242

ขนาดไฟล์ 710 KB | จำนวนดาวน์โหลด 245 ครั้ง

ความคิดเห็น