ผู้วิจัย

กิ่งแก้ว ปะติตังโข

บทคัดย่อ

งานวิจัยการใช้และความต้องการสารสนเทศจากสื่อประชาสัมพันธ์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ1) ศึกษาการใช้และความต้องการสื่อประชาสัมพันธ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2) ศึกษาการใช้และความต้องการเนื้อหาของสารสนเทศจาก สื่อประชาสัมพันธ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 3) หาแนวทางการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ การวิจัยครั้งนี้เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาจาก 6 คณะ จำนวน 375 คน ซึ่งได้มาโดยการใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Yamane และเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารที่รับผิดชอบและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ รวมจำนวน 6 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาใช้สารสนเทศจากสื่อประชาสัมพันธ์ ประเภทสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในระดับมาก ได้แก่ www.bru.ac.th รองลงมาประเภทสื่อบุคคล ได้แก่ อาจารย์/เพื่อน และประเภทสื่อเฉพาะกิจ ได้แก่ โปสเตอร์ ตามลำดับ 2) เนื้อหาของสารสนเทศจากสื่อประชาสัมพันธ์ประเภทต่างๆ ที่นักศึกษาใช้และต้องการมากที่สุด คือ การเรียน การสอนและการสอบ รองลงมา ความรู้-วิชาการ และปฏิทินการศึกษา ตามลำดับ 3) แนวทางการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คือ รายการวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยรายการ “จันทร์นี้ที่ราชภัฏ” คลื่นความถี่ 101.75 MHZ ควรเพิ่มระยะเวลาการจัดรายการ จากเดิม 30 นาที เป็น 60 นาที โดยให้นักศึกษาร่วมจัดรายการด้วย ควรเพิ่มเนื้อหาที่ให้ความรู้แก่นักศึกษา เพิ่มนักศึกษาร่วมจัดรายการด้วย รายการวิทยุกระจายเสียง อสมท.คลื่นความถี่ 92 MHZ รายการ “ราชภัฏสู่ชุมชน” ควรจัดในเวลาราชการ เดิมจัดวันเสาร์ สนับสนุนและส่งเสริมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมผ่านรายการนี้ด้วย นำเสนอเนื้อหาใหม่ๆ และมีการสัมภาษณ์สด จะทำให้น่าสนใจมากขึ้น ควรเสนอข่าวสารที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันที่จำเป็น เช่น ผลการวิจัย และ www.bru.ac.th ของมหาวิทยาลัยควรมีเนื้อหาที่ทันสมัย มีความเคลื่อนไหวตลอดเวลา มีการเชื่อมโยงกับเครือข่ายอื่นๆ

บรรณานุกรม

กรองทอง เพ็ชรวงศ์. (2544). ประสิทธิผลของสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อโน้มน้าวใจบุคลากรภาครัฐ และเอกชนให้มาบริจาคโลหิต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กฤษณา แสนวา. (2542). การใช้สารสนเทศทางการพยาบาลของพยาบาลโรงพยาบาลมหาสารคาม. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. (บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม. กุลธิดา ธรรมวิภัชน์. (2545). การสำรวจภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ศึกษาเฉพาะกรณี 19 โรงเรียนในชุมชน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. กุลภรณ์ หงส์ทอง. (2550). ประสิทธิภาพของการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการรับรู้และ การจูงใจให้นักเรียนสนใจเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (พัฒนศึกษา). กรุงเทพฯ : ศิลปากร. งานทะเบียนและวัดผล. (2554). รายงานจำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ. (2548). การจัดการสารสนเทศเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท --------. (2548). การจัดการองค์ความรู้ในรูปธุรกิจ. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท. ดวงพร คำนูณวัฒน์ และวาสนา จันทร์สว่าง. (2536). สื่อสาร-การประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทรงสุรพันธ์ ชูแสงศรี. (2552). การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการเปิดรับ สื่อประชาสัมพันธ์ เรื่องสิทธิที่ได้รับจากประกันสังคมต่อผู้สูงอายุในอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ คอ.ม. (ครุศาสตร์เทคโนโลยี). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. นุชรี ศีรีเสถียร. (2548). การศึกษาวิจัย เรื่อง การรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ของนักศึกษาที่มีผลต่อ การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยคริสเตียน. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (สื่อสารมวลชน). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ประภาวดี สืบสนธิ์. (2543). สารสนเทศในบริบทสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย. พรทิพย์ วรกิจโภคาหา. (2531). การวิจัยเพื่อการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. พรทิพย์ วรกิจโภคาหา. (2537). ภาพพจน์นั้นสำคัญยิ่ง : การประชาสัมพันธ์กับภาพพจน์. กรุงเทพฯ : คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. มณีวรรณ รัศมีเฟื่อง. (2540). ความต้องการและความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาในการเปิดรับ ข่าวสารเกี่ยวกับการร่าง รัฐธรรมนูญ. วิทยานิพนธ์ นศ.ม. (นิเทศศาสตรพัฒนาการ). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2531). เทคนิคการวางแผนและประเมินผลงานประชาสัมพันธ์. เอกสาร ประกอบการสัมมนาเทคนิคการวางแผนและประเมินผลงานประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2534). การวิเคราะห์ผู้รับสาร. กรุงเทพฯ : คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. รจนา ไชยนิรันดร์กุล. (2542). การใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อสนองตอบความ ต้องการข่าวสารของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ นศ.ม. (การสื่อสารมวลชน). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ. (2548). หลักนิเทศศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์. ลดาวัลย์ ยมจินดา. (2527). หลักการโฆษณา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ลักษณา สตะเวทิน. (2540). หลักการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. ลำดวน แสงมณี. (2553). ประสิทธิภาพในการสื่อสารข้อมูลของสื่อประชาสัมพันธ์ สำหรับ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (เทคโนโลยีทางการศึกษา). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา. ลีนา ลิ่มอภิชาต. (2537). ความคาดหวังและความพึงพอใจในการเปิดรับข่าวสารจากสื่อเพื่อ การประชาสัมพันธ์ ภายในมหาวิทยาลัยรามคำแหงของนักศึกษาและบุคลากร. มหาวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิจิตร อาวะกุล (2522). การประชาสัมพันธ์ : หลักและวิธีปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. --------. (2541). เทคนิคการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. วิมลพรรณ์ ตั้งจิตเพิ่มความดี. (2541). ปัจจัยและวิธีการที่สื่อหนังสือพิมพ์คัดเลือกข่าวและบทความ ประชาสัมพันธ์ ของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วิรัช ลภิรัตนกุล. (2529). การประชาสัมพันธ์ = Public relations. พิมพ์ครั้งที่ 9. ฉบับสมบูรณ์. (ปรับปรุงเพิ่มเติมใหม่). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยการประชาสัมพันธ์. วิรัช ลภิรัตนกุล. (2538). การประชาสัมพันธ์หลักและการปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. --------. (2544). การประชาสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. วิษณุ สวรรณเพิ่ม. (2549). เอกสารประกอบการบรรยายวิชา TM 753. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ศิริสุภา เอมหยวก. (2549). การใช้สารสนเทศในการเรียนของนักศึกษาภาคปกติ คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยราชภัฏ พิบูลสงคราม. สถาพร สะราคำ. (2551). ความต้องการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ทาง www.ru.ac.th/rugolf ของนักศึกษา สาขาวิชาการบริหารจดการกอล์ฟ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สนทยา สาลี. (2551). พฤติกรรมการใช้สารสนเทศของนักศึกษามหาวิทยาลัยพิบูลสงคราม. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยพิบูลสงคราม. สรัญญา พลเสน. (2548). ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม ความต้องการ และความพึงพอใจของนักศึกษา ระดับปริญญาตรีในการรับข่าวสารจากสื่อประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (เทคโนโลยีการศึกษา). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

หน่วยงานการอ้างอิง

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ไฟล์แนบ

pdf 27858-Article Text-61470-1-10-20150104 (1)

ขนาดไฟล์ 230 KB | จำนวนดาวน์โหลด 250 ครั้ง

ความคิดเห็น