ผู้วิจัย

สายฝน อุไร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ             การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย ตำบลโพธิ์ชัย  อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม เพื่อศึกษาสินค้าและมูลค่าสินค้าของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม และเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม โดยกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ สมาชิกกลุ่มเพาะเห็ดหมู่ที่ 4 บ้านโพธิ์ชัย ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 14 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีอาชีพอย่างชัดเจน และมีความต้องการในการพัฒนาอาชีพของตนเองอย่างชัดเจน โดยใช้โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับบริบทชุมชน การประกอบอาชีพ การสร้างการมีส่วนร่วม และกระบวนการดำเนินงานร่วมกันระหว่างทีมนักวิจัยและชุมชน             ผลการวิจัย พบว่า การศึกษาบริบทของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม พบว่า จากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นของกลุ่มเพาะเห็ดหมู่ที่ 4 บ้านโพธิ์ชัย ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม มีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 14 คน ทางกลุ่มแม่บ้านเพาะปลูกเห็ดนางฟ้า โดยมีการจัดตารางเวรในการดูแลเห็ด ชุมชนประสบปัญหาของสินค้า คือ เห็ดนางฟ้ามีราคาค่อยข้างต่ำ หรือการนำไปขายที่ตลาดในจำนวนมากๆ กลับโดนพ่อค้าคนกลางในการกดราคาให้กิโลกรัมละ 40 บาท การศึกษาสินค้าและมูลค่าสินค้าของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย ทางชุมชนจึงมีความต้องการนำเห็ดนางฟ้ามาเพิ่มมูลค่าให้มากขึ้นกว่าการขายเห็ดสด ลดปัญหาพ่อค้าคนกลางได้ระดับหนึ่ง การศึกษาการเพิ่มมูลค่าสินค้าของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม สรุปได้ว่า สินค้าที่ต้องการนำมาทำการเพิ่มมูลค่าสินค้าเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืนของบ้านโพธิ์ชัย คือ เห็ดนางฟ้าชุมชนหาแนวทางในการค้นหากระบวนเพิ่มมูลค่าสินค้าร่วมกัน โดยใช้วิธีการแสดงความคิดเห็นของกลุ่มแม่บ้านว่าต้องการเพิ่มมูลค่าของเห็ดนางฟ้า คือกระบวนการแปรรูปที่ชุมชนเห็นตรงกันว่า สามารถร่วมกันทำได้และเป็นมติของกลุ่มแม่บ้านเพาะเห็ดคือ การทำลูกชิ้น การทำหมูยอ และการทำแหนมเห็ด ซึ่งสามารถเก็บรักษาไว้ หรือสามารถเก็บไว้ทานได้นาน สามารถทำแล้วนำมาขายได้ตามร้านค้า และตามเทศกาลที่ทางจังหวัดจัดกิจกรรมขึ้นมา ผลจากกระบวนการทดลองปฏิบัติการโดยการใช้วิธีที่ค้นพบมาเพิ่มมูลค่าสินค้ากลุ่มเพาะเห็ดของชุมชน สิ่งที่ได้มา คือ แหนมเห็ด และลูกชิ้น ที่ได้ บรรจุในถุงพลาสติกใส เพื่อทำการขายในราคาถุงละ 20 บาท บรรจุด้วยแหนมเห็ดจำนวน 4 ชิ้น ถึงใส่ถุงพลาสติกใส พบว่า ยังขาดความสวยงาม ไม่น่าดึงดูด ทางคณะผู้วิจัยได้ ติดต่อ อาจารย์ชินานาง ในสาชาวิชาศิลปะ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ทำการออกแบบสติ๊กเกอร์เพื่อนำมาติดบรรจุภัณฑ์ เพื่อความสวยงามและน่าสนใจของสินค้ามากยิ่งขึ้น ผลที่ได้คือ สินค้ามีความน่าเชื่อถือ และสินค้าสามารถจำหน่ายได้ง่าย และตรงตามความต้องการของคนในชุมชน เช่น อบต. และร้านค้าชุมชน คำสำคัญ : การเพิ่มมูลค่า พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน ชุมชน และกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย

บรรณานุกรม

จุรีวรรณ จันพลาและคณะ. (2554). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทยทรงดำเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. ชมธิดา ชื่นนิยม. (2553). ศึกษาการเพิ่มมูลค่าของซังข้าวโพดโดยการทำเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ญาฎา ธนเศรษฐี. (2553). การศึกษาเรื่องการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร. กรุงเทพฯ : บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ธนวรรณ แสงสุวรรณ และคณะ. (2545). การจัดการการตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : เอ็กเปอร์เน็ท. ปิยาภรณ์ คำยิ่งยง. (2558). การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุเหลือใช้ สู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมกรณีศึกษา : ผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้านจากเศษไม้. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต(การจัดการสาระและการสร้างมูลค่า). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. พิสมัย อาวะกุลพาณิชย์ และคนธาภรณ์เมียร์แมน. (2555). การเพิ่มมูลค่าและเอกลักษณ์ของ ผลิตภัฌฑ์ล้านนาด้วยการออกแบบโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา. รายงานการวิจัย คณะวิจิตรศิลป์. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. รัชนี เจริญ และคณะ.(2559).การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้โดนใจผู้บริโภค.ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.(ออนไลน์). เข้าถึงได้ จาก : http : //www2.rdi.ku.ac.th/kasetresearch52/03- foods/ratchanee/food_00.html. (สืบค้นเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2559). ลักษณพร โรจน์พิทักษ์กุล.(2555).การสร้างมูลค่าเพิ่มการทอเสื่อกกเพื่อเศรษฐกิจของชุมชนตำบลกระทุ่มแพ้ว อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี.วารสารศึกษาศาสตร์ . เดือนตุลาคม 2555-มกราคม 2556. 24(1) : 49-51. วารุณี สุนทรเจริญนนท์. (2557). สร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการสร้างสรรค์ไม่ยากอย่างที่คิด. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก://www.amexteam.com/ resources/ helper/editor/upload/ knowledge/1/01_.pdf. (สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2559). วีรวุธ มาฆะศิรานนท์.(2542). คัมภีร์บริหารองค์การเรียนรู้สู่ TQM. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : เอ็กซ เปอร์เน็ท. ศจี สุวรรณศรี. (2551). เอกสารประกอบการสอน เรื่อง หลักการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการประเมิน คุณภาพทางประสาทสัมผัส. ภาควิชาอุตสาหกรรมการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม . พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร. ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). กลยุทธ์การตลาดและการบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ: ธีระศิลป์ และไซเท็กซ์. สาโรจน์ แก้วประสม. (2546). แนวทางในการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าประเภทกะหล่ำปลี ของจังหวัดเชียงราย. การศึกษาค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำนักวิชาการจัดการ. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. สุพาดา สิริกุตตา. (2557). “แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มของแหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ ท่องเที่ยวของจังหวัดสิงห์บุรีประเทศไทย.”วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ. ฉบับเดือนมกราคม-ธันวาคม 2557. 17 : 215-230. องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ชัย. (2560). โปรแกรมการพัฒนาระบบข้อมูลตำบล (Thailand Community Network Appraisal Program : TCNAP) ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอ วาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม : กระทรวงมหาดไทย. . (2560). คู่มือการพัฒนาทักษะการวิจัยชุมชนด้วยการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาแบบ เร่งด่วน (Rapid Ethnographic Community Assessment Process : RECAP) ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม : กระทรวงมหาดไทย. อาจารียา คำทูล. (2555). ผลของกระบวนการจัดฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วมที่มีต่อ ความสามารถในการเพิ่มมูลค่าสินค้าท้องถิ่นของผู้ประกอบการชุมชน. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย อมรรัตน์ อนันต์วราพงษ์ และคณะ. (2557). “รูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนบางหัวเสือ จังหวัดสมุทรปราการ ตามแนวคิดพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง.” วารสารศิลปกรรม ศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 1(2) : 126-151. เอื้อมพร เธียรหิรัญ. (2552). รูปแบบการจัดการเชิงกลยุทธ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อย (SMEs) ผ้าคลุมผมสตรีมุสลิม และหมวก กะปิเยาะห์ จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส บนฐานแนวคิดปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง. สำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. อำนาจ ศรีเทพ.( 2551). ศึกษาความคิดเห็นของเกษตรกรต่อแนวทางการพัฒนาด้าน การเกษตรใน อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. Fuller,G.W. (1994). New Product Development from Concept to Marketplace. CRC Press,Inc. USA: Boca Raton, Florida. Pp.1-23. Heizer, J. H. & Render, B. (1998). Principles of Operations Management. (3rded.). New Jersey: Prentice Hall.

หน่วยงานการอ้างอิง

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย ตำบลโพธิ์ชัย  อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม เพื่อศึกษาสินค้าและมูลค่าสินค้าของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม และเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม โดยกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ สมาชิกกลุ่มเพาะเห็ดหมู่ที่ 4 บ้านโพธิ์ชัย ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 14 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีอาชีพอย่างชัดเจน และมีความต้องการในการพัฒนาอาชีพของตนเองอย่างชัดเจน โดยใช้โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับบริบทชุมชน การประกอบอาชีพ การสร้างการมีส่วนร่วม และกระบวนการดำเนินงานร่วมกันระหว่างทีมนักวิจัยและชุมชน

ผลการวิจัย พบว่า การศึกษาบริบทของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม พบว่า จากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นของกลุ่มเพาะเห็ดหมู่ที่ 4 บ้านโพธิ์ชัย ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม มีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 14 คน ทางกลุ่มแม่บ้านเพาะปลูกเห็ดนางฟ้า โดยมีการจัดตารางเวรในการดูแลเห็ด ชุมชนประสบปัญหาของสินค้า คือ เห็ดนางฟ้ามีราคาค่อยข้างต่ำ หรือการนำไปขายที่ตลาดในจำนวนมากๆ กลับโดนพ่อค้าคนกลางในการกดราคาให้กิโลกรัมละ 40 บาท การศึกษาสินค้าและมูลค่าสินค้าของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย ทางชุมชนจึงมีความต้องการนำเห็ดนางฟ้ามาเพิ่มมูลค่าให้มากขึ้นกว่าการขายเห็ดสด ลดปัญหาพ่อค้าคนกลางได้ระดับหนึ่ง การศึกษาการเพิ่มมูลค่าสินค้าของกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม สรุปได้ว่า สินค้าที่ต้องการนำมาทำการเพิ่มมูลค่าสินค้าเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืนของบ้านโพธิ์ชัย คือ เห็ดนางฟ้าชุมชนหาแนวทางในการค้นหากระบวนเพิ่มมูลค่าสินค้าร่วมกัน โดยใช้วิธีการแสดงความคิดเห็นของกลุ่มแม่บ้านว่าต้องการเพิ่มมูลค่าของเห็ดนางฟ้า คือกระบวนการแปรรูปที่ชุมชนเห็นตรงกันว่า สามารถร่วมกันทำได้และเป็นมติของกลุ่มแม่บ้านเพาะเห็ดคือ การทำลูกชิ้น การทำหมูยอ และการทำแหนมเห็ด ซึ่งสามารถเก็บรักษาไว้ หรือสามารถเก็บไว้ทานได้นาน สามารถทำแล้วนำมาขายได้ตามร้านค้า และตามเทศกาลที่ทางจังหวัดจัดกิจกรรมขึ้นมา ผลจากกระบวนการทดลองปฏิบัติการโดยการใช้วิธีที่ค้นพบมาเพิ่มมูลค่าสินค้ากลุ่มเพาะเห็ดของชุมชน สิ่งที่ได้มา คือ แหนมเห็ด และลูกชิ้น ที่ได้ บรรจุในถุงพลาสติกใส เพื่อทำการขายในราคาถุงละ 20 บาท บรรจุด้วยแหนมเห็ดจำนวน 4 ชิ้น ถึงใส่ถุงพลาสติกใส พบว่า ยังขาดความสวยงาม ไม่น่าดึงดูด ทางคณะผู้วิจัยได้ ติดต่อ อาจารย์ชินานาง ในสาชาวิชาศิลปะ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ทำการออกแบบสติ๊กเกอร์เพื่อนำมาติดบรรจุภัณฑ์ เพื่อความสวยงามและน่าสนใจของสินค้ามากยิ่งขึ้น ผลที่ได้คือ สินค้ามีความน่าเชื่อถือ และสินค้าสามารถจำหน่ายได้ง่าย และตรงตามความต้องการของคนในชุมชน เช่น อบต. และร้านค้าชุมชน

 

คำสำคัญ : การเพิ่มมูลค่า พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน ชุมชน และกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโพธิ์ชัย

 

ABSTRACT

            The objectives of this research were to study the context, to study the goods and its value, and to increase the value of goods of mushroom growing group at Bann Phoe Chai, Phoe Chai Sub-district, Wapee Pathum District, Mahasarakham Province. The target population of this study was the members of mushroom growing group at Bann Phoe Chai, Phoe Chai Sub-district, Wapee Pathum District, Mahasarakham Province. There were 14 members selected as the subjects of the study with purpose sampling because they are really mushroom farmers and explicitly intend to develop their own profession. The data were collected through the information collection about community context, occupation, the building up of participatory, and the cooperation of operation process between the researchers and community members.

The result revealed that, the study of the context of Bann Phoe Chai Mushroom Growing Group, Phoe Chai Sub-district, Wapee Pathum District, Mahasarakham Province, from the fundamental information survey, there are 14 members of the group. The housewife group grows Sarjor-caju mushroom by setting timetable for each member to take care of it. Also, the community faced the problems that the selling price of fresh mushroom was always quite cheap, or when they took a lot of mushroom to sell at the marketplace, they were forced from the middleman to sell at 40 baht a kilogram. The findings from the study of goods and its value, it showed the community needed to increase more value to their mushroom rather than selling it as fresh mushroom because it can help to decrease some problems caused from middleman. From the study of increasing value to the goods, it could be concluded that the goods needed to increase in value for sustainable economic development of Bann Phoe Chai was Sarjor-caju Mushroom. The community have worked together to find the way for increasing value of the goods through the discussion of housewife group; that is, the increasing value of Sarjor-caju mushroom processing which every member was majorly agreed that it could be done together. The resolution of housewife group for increasing the value of the mushroom was the processing for meatball, mushroom sausage, preserving mushroom because these processing food can be kept for a long time. Also, the food processed from mushroom can be taken to sell at any stores or on any festival held by the province. The products obtained from the experiment in increasing the value of goods were preserving mushroom and mushroom meatball packed in a clear plastic bag with 4 pieces for selling 20 baht a pack. However, the container used was not beautiful and attractive. Therefore, the researchers have approached Miss Chinanang Sawasram, a lecturer of Computer Arts Program, Buriram Rajabhat University, to design the stickers to attach on the container for more beautiful and attractive. As a result, the products look believable, are sold more easily, and serve the needs of the community like sub-district administrative organization and community store.

 

Keywords : Increasing Value, Sustainable Economic Development of Community, Community,  Bann Phoe Chai Mushroom Growing Group

 

ไฟล์แนบ

pdf research

ขนาดไฟล์ 942 KB | จำนวนดาวน์โหลด 990 ครั้ง

ความคิดเห็น