ผู้วิจัย
ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคต่อสถานประกอบการอาหารปลอดภัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 2)ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคต่อสถานประกอบการอาหารปลอดภัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ และ3)เปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจต่อสถานประกอบการอาหารปลอดภัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มผู้ที่ใช้ในการศึกษา คือผู้ที่มารับประทานอาหารใน กลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารที่ได้รับการตรวจเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย หรือโครงการ อาหารสะอาด รสชาติอร่อยในกลุ่มสมาชิกชมรมร้านอาหารจังหวัดบุรีรัมย์ ใช้วิธีการเลือกแบบบังเอิญ (Accidental sampling) จำนวน 200 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามทางสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เปรียบเทียบ t-test และ f - test ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคต่อสถานประกอบการอาหารปลอดภัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า ผู้บริโภคร้านอาหารเป็นเพศชาย อายุ 21-30 ปี มีสถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,000 – 10,000 บาท อาศัย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ใช้บริการร้านอาหารมักมาร้านอาหารกับเพื่อน ผู้ที่ตัดสินใจเลือกร้านอาหารจะเป็นตัวเอง เหตุผลหลักในการมาร้านอาหารเพื่อรับประทานอาหาร อาหารที่รับประทานเป็นอาหารอีสาน การใช้บริการร้านอาหารแล้วแต่สะดวก ช่วงเวลาที่มาใช้บริการร้านอาหาร 19.30 เวลาในร้านอาหาร 1 - 2 ชั่วโมง ความถี่ในการรับประทานอาหาร ไม่แน่นอน การจ่ายเงินต่อครั้งในการรับประทานอาหาร 500 – 1,000 บาท การสั่งอาหารต่อครั้งจะสั่ง 3 – 5 อย่าง แหล่งข้อมูลที่มีอิทธิพลในการเลือกร้านอาหารจะมา จากประสบการณ์เดิม ที่เคยทาน ต่อมาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคต่อสถานประกอบการอาหารปลอดภัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหาร อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านบุคลากร พนักงาน รองลงมา คือ ด้านลักษณะกายภาพทางร้าน ด้านผลิตภัณฑ์อาหาร ด้านราคา ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและ ด้านส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ การเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจต่อสถานประกอบการอาหารปลอดภัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า ผลการเปรียบเทียบ (t-test) ความแตกต่างระหว่างเพศ กับ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานประกอบการร้านอาหารปลอดภัยของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ พบว่า เพศชายอยู่ในระดับมากกว่าเพศหญิง ได้แก่ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย, ด้านบุคลากร พนักงาน, ด้านกระบวนการให้บริการ และเพศหญิงมากกว่าระดับของเพศชาย ได้แก่ ด้านลักษณะกายภาพทางร้าน ด้านผลิตภัณฑ์อาหาร ด้านราคาและด้านส่งเสริมการตลาด ผลการเปรียบเทียบ (f-test) ความแตกต่างระหว่าง ช่วงอายุ กับ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานประกอบการร้านอาหารปลอดภัยของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ พบว่า ค่าเฉลี่ยของช่วงอายุ 21 – 30 ปี อยู่ในระดับมากที่สุด และรายด้านพบว่า ด้านบุคลากร พนักงาน อายุ 21 – 30 ปี อยู่ในระดับมากที่สุด
บรรณานุกรม
กรกนก เพ็ชรตระกูล. (2549). ปัจจัยส่วนประสมตลาดบริการที่มีต่อผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกร้านอาหารในจังหวัดสมุทรสาคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กิตติภพ สงเคราะห์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเข้าใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี ชมรมเกษตรปลดสารพิษ. นโยบายอาหารปลอดภัย ภารกิจเพื่อคนไทย ดันครัวไทยสู่ครัวโลก. (online). http://thaigreenagro.com/นโยบายอาหารปลอดภัย/, 2 ตุลาคม 2559 ชวลิต รัตกูล. (2533). ตำราโภชนาการเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาภานิช. ชุดา จิตพิทักษ์. (2535). พฤติกรรมศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ:สารมวลชน ดนุรัตน์ ใจดี (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกใช้บริการร้านอาหารในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี ธีรวรรธน์ เทียมทิพร. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการร้านอาหารเย็นนอกบ้านของประชาชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตาก ปณิศา ลัญชานนท์. (2548). หลักการตลาด. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ธรรมสาร, 2548. ประภาเพ็ญ สุวรรณ .(2536). การวัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมอนามัย.กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิชมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ พรพิศ พูนสวัสดิ์ (2554). พฤติกรรมการบริโภคของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ส่งผลต่อการประกอบการของร้านอหารในถนนข้าวสาร.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร เยาวรัตน์ ศุภสาร. (2552). การตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฏร์ธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี ยุทธ ไกยวรรณ์. (2551). วิธีวิจัยทางธุรกิจ.กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ. วนิดา สิทธิรณฤทธิ์ (2537:55).โภชนาการศึกษาเพื่อชุมชน.นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย ศิลปากร. วลัยทิพย์ สาชนวิจารณ์. (2542). การประเมินภาวะโภชนาการทางมนุษย์วิทยาและสังคมวิทยา. เอกสารการสอนชุดวิชาโภชนาการสาธรณสุข หน่วยที่ 5-6. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต (2550: 45 ). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สำนักงานประชาสัมพันธ์ การท่องเที่ยวบุรีรัมย์ (2557). ข่าวประชาสัมพันธ์การท่อเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ (online).http://www.oic.go.th/infocenter10/1055/,2 ตุลาคม 2559 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข (2553).การประเมินผลโครงการอาหารปลอดภัยของพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคปี 2553. กรุงเทพฯ สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย.2553.ข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหารสำหรับร้านอาหาร.กรุงเทพฯ.กระทรวงสาธารณสุข สุจิตรภรณ์ วงษ์ศรีแก้ว. (2549). ความพึงพอใจและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อร้านอาหารในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น สุชา จันทร์เอม. 2536. จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร :โอเดียนสโตร์. สุดาวรรณ ขันธมิตร. (2538). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติในภาคใต้. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สาขาสังคมวิทยาและมนุษยศาสตร์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. โสภา ชูพิกุลชัย (2531).จิตวิทยาทั่วไป.กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช
Abstract
There are three objectives of this study. The first objective is studying the behavior and demand of the consumers with safe food establishments. Second, it is studying the factors that affect the decision of the consumers with safe food establishments. The third is comparing the factors that affect the decision of the consumers with safe food establishments in Muang district, Burriram province. The specific representative of this study is 200 people who are the consumers in food shops that they were checked safety food standard or clean food by member group of food shops in Burriram province. The frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and f-test were used in this study.
The result of this study found that most of the food shop consumers in Muang district, Burriram province are the men who has 21-30 years old, single, graduated with bachelor, average salary is 5,000 – 10,000 Baht and live in Muang district, Burriram province. They always go to food shop with their friends and choose the shop by themselves. The main reason why they go to food shop is having food. Most of food that they choose is eastern food, they always buy food at 7.30 p.m and they use 1 – 2 hours in food shops. The frequency of having food is not stable. They use 500-1,000 Baht for food and order 3-5 types of food. The influence of ordering food is from old experience. The factors that affect the decision of the consumers that the highest level of statistic to the least are the food shop staff, food shop physical, product, price, service, the sale channel and marketing promotion. The result of comparison (t-test) between gender and the factor that effects the decision of the consumer with safe food establishment in Muang district, Burriram province found that the factor effects the decision of the male consumer that higher than female are sale channel, the food shop staff, service. On the other hand, the factors affect the decision of the female consumer that higher than male are shop physical, product, price and marketing promotion. The result of comparison (f-test) between age and the factor that effects the decision of the consumer with safe food establishment in Muang district, Burriram province found that the people who are 21-30 years old have highest satisfaction and the people who are 21-30 years old have highest satisfaction with food shop staff.
Keywords: Behavior and demand, Consumer, Safe food Establishment
ความคิดเห็น