ผู้วิจัย
อุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา
บทคัดย่อ
โลกยุคปัจจุบันนี้ การทำงานไม่ว่าอยู่ในหน่วยงานใดหรือองค์กรใด เราก็จำเป็นจะต้องมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง พัฒนาตนเองและองค์กรของตนให้ทันต่อเหตุการณ์และเตรียมรับกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อให้องค์กรของตนอยู่รอดและสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ การนำหลักการของไคเซ็นเข้ามาประยุกต์ใช้ จะเน้นการค้นหาประเด็นปัญหาและหาแนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหา และในระหว่างการปฏิบัติกิจกรรมตามแผนนั้นก็มีการปรับปรุงวิธีการปฏิบัติหากว่าผลการปฏิบัตินั้นไม่ประสบความสำเร็จ เพื่อที่จะแก้ไขต่อไปและยังสามารถปฏิบัติต่อไปได้เรื่อยๆไม่สิ้นสุด พฤติกรรมของคนในบริษัทจะเปลี่ยนไป ขนบธรรมเนียมใหม่จะเกิดขึ้น และก็จะมีวิวัฒนาการที่ดีขึ้น และยังส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนรอบข้างและชีวิตของเราก็จะเปลี่ยนไป วิสัยทัศน์ก็เปลี่ยนไป แล้วก็จะเกิดไคเซ็นใหม่ๆขึ้นตามมา ถ้ามนุษย์เราสามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นได้และวางแผนเตรียมรับกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ทันเวลาโดยส่งผลกระทบให้กับเรา องค์กรและสังคมน้อยที่สุด แต่ถ้าไม่มีการพัฒนาตนเอง ไม่พัฒนาองค์กร ก็จะไม่สามารถดำรงอยู่ได้ในสังคมเพราะไม่มีการพัฒนานำสิ่งใหม่ๆเข้ามาใช้ จะกลายเป็นคนที่ล้าสมัย ไม่เกิดการพัฒนา ไม่ปรับตัวให้เข้ากับสังคมในยุคปัจจุบัน “ไคเซ็น” หรือ “Kaizen” เป็นศัพท์ภาษาญี่ปุ่น แปลว่า “การปรับปรุง (improvement)” ซึ่งหากแยกความหมายตามพยางค์แล้วจะแยกได้ 2 คำ คือ “Kai” แปลว่า การเปลี่ยนแปลง (change) และ “Zen” แปลว่า ดี (good) ซึ่งรวมกันเป็น การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี ก็คือ การปรับปรุงให้ดีขึ้น นั่นเอง
บรรณานุกรม
[1] สุรัส ตั้งไพฑูรย์. (2547). "เทคนิคการลดความสูญเสียในโรงงานอุตสาหกรรม, บริษัท ซัมซีสเต็ม จำกัด,กรุงเทพฯ. [2] ชำนาญ รัตนากร. (2533). “ไคเซน (KAIZEN) กลยุทธ์การบริหารงานแบบญี่ปุ่น” วารสารสสท. ฉบับคิวซี. [3] สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (บ.ป.ท., ม.ป.ป.) “Kaizen,” เอกสารแผ่นพับประชาสัมพันธ์ของสถาบัน. [4] สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น). (2552). Kaizen Best Practices. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เอเซียเพรส. [5] วิทยา สุหฤทดำรง และยุพา กลอนกลาง. (2550). Lean Logistics: ลอจิสติกส์แบบลีน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ อี.ไอ.สแควร์. [6] วิทยา สุหฤทดำรง, ยุพา กลอนกลาง และสุนทร ศรี ลังกา. (2550). ”มุ่งสู่ลีนด้วยการจัดการสายธารคุณค่า” (Value Stream Management). (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ อี.ไอ. สแควร์. [7] สุลภัส เครือกาญจนา. (2552). เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยไคเซ็น (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น. [8] อุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา. (2550). "Project KaiZen Rport IE. บริษัท รามาชูส์ อินดัสทรีส์ จำกัด. [9] Lee J. Krajewski , Larry P. Ritzman ,Operations Management : Strategy and Analysis, Addison-Wesley Publishing Company, Inc.,1999. [10] Imai Masaaki, Gemba Kaizen : a commonsense, low-cost approach to management, McGraw-Hill,1997. [11] บัญญัติ บุญญา และ สุรัส ตั้งไพฑูรย์. (2551). ไคเซ็น (Kaizen) การปรับปรุงทีละเล็กละน้อยที่ไม่มีที่สิ้นสุด. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2556, เข้าถึงได้จากอินเทอร์เน็ต: http://ballmdr.wordpress.com [12] อภิชัย ศรีเมือง. (2552). การปรับปรุงงานอย่าง ต่อเนื่องตามหลักการไคเซ็น (Kaizen) ในงานบริหาร ทรัพยากรบุคคล. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2556, เข้าถึงได้จากอินเทอร์เน็ต: http://gotoknow.org/blog/thipakorn1 [13] หลักการไคเซ็น. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2556, เข้าถึงได้จากอินเทอร์เน็ต: http://blog.msu.ac.th/?p=4566 [14] วิธีการทำไคเซ็น. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2556, เข้าถึงได้จากอินเทอร์เน็ต: http://incquity.com/ [15] การประยุกต์ใช้ไคเซ็น. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2556, [ออนไลน์] เข้าถึงได้จากอินเทอร์เน็ต: http://www.hcbi.org/2011/ [16] Toyota Kaizen. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2556, เข้าถึงได้จากอินเทอร์เน็ต: http://www.toyota.com/about/environmentreport2009/pdfs/2009report_Enviro_Mgmt.pdf [17] Seattle Children’s Hospital Kaizen. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2556, เข้าถึงได้จากอินเทอร์เน็ต: http://www.isixsigma.com/new-to-six-sigma/how-is-six-sigma-different/six-sigma-lean-or-kaizen-project/ [18] ไคเซ็น บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2556, เข้าถึงได้จากอินเทอร์เน็ต: http://www.toyota.co.th/th/about_path.htm [19] อนุศักดิ์. (2552). ไคเซ็นแนวคิดปั้นคนเพิ่มประสิทธิผลองค์การแถวหน้า. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2556, เข้าถึงได้จากอินเทอร์เน็ต: http://anusak-otof.blogspot.com
ความคิดเห็น