ผู้วิจัย
นายอุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา, นายพิพัฒน์ ประจญศานต์, นายวิสิทธิ์ ลุมชะเนาว์
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบการบริหารจัดการน้ำใช้เพื่อการเกษตรระดับครัวเรือนในช่วงฤดูแล้ง และและหาแนวทางการปฏิบัติร่วมกันที่เหมาะสมในการบริหารจัดการน้ำใช้เพื่อการเกษตรระดับครัวเรือนในช่วงฤดูแล้ง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากชุมชนในเป้าหมาย คือ ชุมชนบ้านหนองโคลน หมู่ 11 ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 20 ครัวเรือน โดยเป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ผลการวิจัย พบว่า 1) บริบทพื้นที่รูปแบบการบริหารจัดการน้ำใช้เพื่อการเกษตรระดับครัวเรือนของชุมชนในตำบลบ้านสิงห์ จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลพบว่า ปัญหาการจัดการน้ำใช้เพื่อการเกษตรของชุมชนบ้านหนองโคลน หมู่ 11 ยังไม่มีรูปแบบการบริหารจัดการน้ำอย่างชัดเจน ยังไม่มีรูปแบบการนำแหล่งน้ำธรรมชาติไปให้ถึงคนที่ยังไม่ได้ประโยชน์ ต้องการนำน้ำมาปลูกพืชนอกฤดูกาลทำนา และโดยลดการใช้พลังงานไฟฟ้า พลังงานน้ำมันลง และ 2) รูปแบบของการบริหารจัดการน้ำของชุมชนมีการนำนวัตกรรมระบบสูบน้ำแบบจักรยานปั่นโดยไม่ใช้พลังงานมาใช้ ซึ่งผลการดำเนินงานของครัวเรือนในชุมชน พบว่า ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานร้อยละ 70 (14 คน จาก 20 คน) มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ มีรูปแบบการบริหารจัดการน้ำสำหรับครัวเรือนโดยใช้การออกแบบระบบสูบน้ำแบบจักรยานปั่นโดยไม่ใช้พลังงาน ช่วยให้คนในชุมชนได้ออกกำลังกาย สามารถควบคุมปริมาณน้ำที่ต้องการใช้ได้เมื่อหยุดปั่น ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนลงได้ร้อยละ 10 ดังนั้น การใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการบริหารจัดการน้ำเป็นการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าหรือน้ำมันลง ช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนลงได้
บรรณานุกรม
กรมชลประทาน. (2547). ภัยแล้งสาเหตุทั่วไปของการเกิดภัยแล้ง (ขาดแคลนน้ำ). (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : http://ridceo.rid.go.th/buriram/drought_problem.html. (สืบค้นเมื่อ วันที่ 20 มีนาคม 2560). กรมทรัพยากรน้ำ. (2556). ภัยแล้งภาคใต้ตอนบนกับการแก้ไขปัญหา. สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 10 กรมทรัพยากรน้ำ. _______. (2558). การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ. สำนักส่งเสริมและประสานมวลชน, กรม ทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. _______. (2558). แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการ พ.ศ. 2559 -2564. สำนัก นโยบายและแผนทรัพยากรน้ำ, กรมทรัพยากรน้ำ, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม เกษม จันทร์แก้ว. (2527). การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. โครงการสหวิทยาการ บัณฑิตศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ขนิษฐา นันทบุตร และคณะ. (2558). การพัฒนาทักษะกระบวนการวิจัยชุมชนเชิงชาติพันธุ์ วรรณนาแบบเร่งด่วน (RECAP). กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ. _______. (2559). การฟื้นฟูทักษะการวิเคราะห์และนำใช้ข้อมูลตำบล (TCNAP & RECAP Revitalization). เอกสารประกอบ การบรรยาย. กรุงเทพฯ : สำนักสนับสนุน สุขภาวะ ชุมชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. เดชวิทย์ นิลวรรณ. (2553). การจัดการความรู้ การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาธุรกิจ ชุมชน กลุ่มตัดเย็บบ้านดอกแดง ตำบลสง่าบ้าน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัย คณะวิทยาการจัดการ. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. ถวิลวดี บุรีกุล. (2551). การมีส่วนร่วม : แนวคิด ทฤษฏีและกระบวนการ. เอกสารประกอบ การศึกษาดูงานของคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. เทียน เลรามัญ. (2558). รูปแบบการจัดการกลุ่มผักอินทรีย์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบล หนองป่าครั่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 3(3) : 309-318. ธนาชัย สุขวณิช. (2555). การบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อ การผลิต เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ของเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย. RMUTT Global Business and Economics Review. 7(1) : 25-37. ธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์. (2558). เอกสารประกอบการสอน : วิชาการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน. คณะเศรษฐศาสตร์. เชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ปราโมทย์ ไม้กลัด. (2557). ทางออกการบริหารการจัดการน้ำของไทย. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://thaipublica.org/2014/03/water-management-solutions/. (สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2560). ปริญญา นุดาลัยและคณะ. (2536). การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ ไทย. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการการสัมมนาเพื่อการอนุรักษ์. ณัฐวรรธน์ สุนทรวริทธิโชติ. (2556). การศึกษาสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตตำบลสามบัณฑิต : กรณีศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของ ประชาชน. รายงานการวิจัย คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. มูลนิธิชัยพัฒนา. (2555). โครงการวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจาก พระราชดำริ บ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : www.haii.or.th /wiki84/index.php/. (สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มษายน 2560). วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ. (2553). “กระบวนการจัดการชุมชนเข้มแข็ง : รูปแบบปัจจัยและ ตัวชี้วัด.” วารสารรัฐประศาสนศาสตร์. 8(2) : 119-158. วิทยา จันทร์แดง. (2555). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งตามแนวปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงในเขตจังหวัดภาคกลางตอนบน. วิทยานิพนธ์ รป.ด. (รัฐประศาสน ศาสตร์). ปทุมธานี : วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. วีระพล แต้สมบัติ. (2544). การพัฒนาองค์กรการจัดการน้ำ-กรณีศึกษาลุ่มน้ำบางปะกง .คณะ วิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร สัญญา เคณาภูมิ. (2559). รูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจชุมชนกรณีกลุ่มเลี้ยงปลากระชังและกลุ่ม สหกรณ์เพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและ พัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. ประจำเดือนมกราคม - เมษายน 2559. 11(1) : 35-43. สาธิต สื่อประเสริฐสุขและคณะ. (2558). การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและภัยแล้ง. ศูนย์ป้องกัน วิกฤติน้ำกรมทรัพยากรน้ำ. สุรศักดิ์ นุ่มมีศรี และคณะ. (2557). การจัดการทรัพยากรนํ้าเพื่อการอุปโภคและบริโภคในพื้นที่ลุ่ม นํ้ายวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและสิ่งแวดล้อม คณะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่. สมเกียรติ สกุลสุรเอกพงศ์. (2558). ตัวแบบการจัดการกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. (การจัดการ). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม. อำนาจ เจริญศิลป์. (2543). การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. อุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา และคณะ. (2559). รูปแบบการหมุนเวียนน้ำใช้ในครัวเรือนแบบคลัสเตอร์ เพื่อการพัฒนาธุรกิจชุมชนฐานรากตำบลโคกกลาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ความคิดเห็น