ผู้วิจัย

สมหมาย ปะติตังโข และคณะ

บทคัดย่อ

การทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดสมุนไพรผักเม็ก โดยการสกัดสารจากใบแห้งหนัก 300 g ด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ได้แก่ hexane, dichloromethane, ethyl acetate, ethanol และ methanol ได้สารสกัดหยาบที่มีน้ำหนัก 22.21,60.01, 80.14,90.03 และ 42.36 g ตามลำดับ พบว่าสารสกัดหยาบมีปริมาณของ polyphenolic เรียงลำดับจากมากไปน้อยคือ crude ethanol, crude methanol และ crude ethyl acetate ตามลำดับ เมื่อนำสารสกัดแต่ละส่วนมาทดสอบความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระด้วยเทคนิค DPPH และ FRAP และความสามารถในการต้านเชื้อแบคทีเรียชนิด E.coli, Klebsiella spp., Enterobacter spp. และ Citrobacter spp. พบว่าสารสกัดหยาบจากใบผักเม็กโดยตัวทำละลาย ethanol และ methanol มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ DPPH. ด้วยค่า IC50 ที่ต่ำในระดับ 53.65 ppm เท่ากัน สำหรับความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี FRAP พบว่าสารสกัดหยาบที่มีความสามารถในการรีดีวซ์ Fe3+ ได้มากที่สุดคือ crude dichloromethane ส่วนความสามารถในการต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย พบว่า crude dichloromethane, crude ethyl acetate, crude methanol และ crude ethanol สามารถต้านการเจิญเติบโตของ E.coli, Klebsiella spp., Etherobacter spp. และ Citrobacter spp. ได้ดี สำหรับผลการย้อมสีของผ้าไหม พบว่าสารสกัดจาก ethanol ทั้งที่ย้อมแบบโดยตรงและแบบมอร์แดนท์ให้โซนสีเหลือง น้ำตาลที่ติดทนสีไม่ตกด้วยสนิมเหล็ก

บรรณานุกรม

เทียนศักดิ์ เมฆพรรณโอกาส และคณะ. 2543. การศึกษาการเป็นสีย้อมของพืชบางชนิดใน ท้องถิ่น. ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. นาถธิดา วีระปรียากูร. 2550. การทดสอบความสามารถในการจับอนุมูลอิสระ (DPPH). มหาวิทยาลัยขอนแก่น: คณะเภสัชศาสตร์. ปิยนุช ทองผาสุก. ผลของรังสีแกรมมาต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน. ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทศโนโลยีนิวเคลียร์ครั้งที่ 10: 16-17 สิงหาคม 2550. กรุงเทพฯ พรรณี เด่นรุ่งเรื่อง. 2550.กรุงเทพฯ: ฤทธิ์การการต้านอนุมูลอิสระของเปลือกต้นวงศ์อบเชย. ในรายงานผลงานวิจัย ประจำปี 2550. สำนักงานวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้ รัตนา อินทรานุปกรณ์. 2547. การตรวดสอบและการสกัดแยกสารสำคัญจากสมุนไพร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิไลลักษณ์ ศรีสุระ.(2551): Online. จุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร. ค้นจากhttp://www.halalthailand.com/healthy/subindex.php?page=content&category=&subcategory=&id=60 สรรพคุณและขนาดการใช้ใบว่านลิง (พญาวานร,ฮว่านง็อก). (2551) Online. ค้นจากhttp://blog.sanook.com/Default.aspx?alias=medplant. อัจฉราพร ไศละสูต. 2527. คู่มือการย้อมสี. พิมพ์ครั้งที่ 2. เทคนิค 19 การพิมพ์ : กรุงเทพฯ. อุไรลักษณ์ คุณสิงห์ การศึกษาการย้อมกระดาษรีไซเคิลด้วยสีธรรมชาติ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น:ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ ค้นจาก www.google.co.th.2552. โอภา วัชระคุปต์.2549. สารต้านอนุมูลอิสระ. กรุงเทพฯ : พี.เอส.พริ้นท์, 2549. Alexander V. Maksimenko. 2005. Experimental Antioxidant Biotherapy for Protection of the Vascular Wall by Modified Forms of Superoxide Dismutase and Catalase. Current Pharmaceutical Design, 11: 2007-2016. Connor, A.M., Luby, J.J., Tong, C.B.S., 2002. Variability in antioxidant activity in blueberry and correlations among different antioxidant activity assays. Journal of the American Society for HorticulturalScience. 127: 238–244. Kriengsak Thaipong, Unaroj Boonprakob.2006. Comparison of ABTS, DPPH, and ORAC assays for estimating antioxidant activity from guava fruit extracts. Journal of Food composition and analysis, 19: 669-675. Luximon-Ramma, A., Bahorun, T., Crozier, A., 2003. Antioxidant actions and phenolic and vitamin C contents of common Mauritian exotic fruits. Journal of the Science of Food and Agriculture, 83: 496–502. Miean, K.H., Mohamed, S., 2001. Flavonoid (myricetin, quercetin, kaempferol, luteolin, and apigenin) content of edible tropical plants. Journal of Agricultural and Food Chemistry 49: 3106–3112. Nilesh Kumar Sharma, Sreela Dey, Ramasare Prasad(2007).In vitro antioxidant potential evaluation of Euphorbia hirta L. Pharmacology online, 1:91-98. Om Prakash Tiwari, Yamine B. Tripathi .2007.Antioxidant properties of different fraction of Viten negundo Linn. Food Chemistry, 100: 1170-1176. Talcott, S.T., Howard, L.R., 1999. Phenolic autoxidation is responsible for color degradation in processed carrot puree. Journal of Agricultural and Food Chemistry, 47: 2109–2115. Temple, N.J., 2000. Antioxidants and disease: more questions than answers. Nutrition Research, 20:449–459. http://www.tkc.go.th/thesis/abstract.asp?item_id=9870 http://irrigation.rid.go.th/rid8/royal_coin/electrical/illumination/color.html http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B5

หน่วยงานการอ้างอิง

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ไฟล์แนบ

pdf รายงานฉบับสมบูรณ์ผักเม็ก

ขนาดไฟล์ 3 MB | จำนวนดาวน์โหลด 1878 ครั้ง

ความคิดเห็น