ผู้วิจัย
กิ่งแก้ว ปะติตังโข และคณะ
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติสารสกัดหนอนตายหยาก (Stemona collinsae Craibr.; Stemofoline) และเงินนาโนสตีโมโฟลินในการกำจัดเพลี้ยแป้งของมันสำปะหลัง โดยการสกัดสมุนไพรหนอนตายหยากด้วยตัวทำละลายเอทานอล แล้วทำให้บริสุทธิ์ด้วยเทคนิคทางคอลัมน์โครมาโทกราฟี (column chromatography) จะได้สารบริสุทธิ์สตีโมโฟลิน (Stemofoline) ซึ่งจะทำหน่าที่เป็นลิแกนด์ (ligand) ไปรีดิวซ์ (reduce) ไอออนของเงิน (silver ion; Ag+) จะได้อนุภาคของเงินนาโน (silver nanoparticles) จากนั้นนำทั้งลิแกนด์และอนุภาคของเงินนาโนไปทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ (Biological activities) ในการต้านอนุมูลอิสระ รวมทั้งการต้านเพลี้ยแป้ง (Pseudococcus sp.) ในระดับห้องปฏิบัติการ และแปลงทดลองของเกษตรกร ผลการทดลองพบว่า สารสตีโมโฟลินและเงินนาโนสตีโมโฟลินต้านอนุมูลอิสระได้ดี นอกจากนี้ยังสามารถต้านเพลี้ยแป้งได้อีกด้วย โดยเฉพาะเงินนาโนสตีโมโฟลินออกฤทธิ์ต้านเพลี้ยแป้งได้ดีที่สูดทั้งแปรตามความเข้มข้น (dose dependent) และแปรตามเวลา (time dependent) อีกด้วย คำสำคัญ : หนอนตายหยาก ซิลเวอร์นาโนพาร์ติเคิล เพลี้ยแป้ง มันสำปะหลัง
บรรณานุกรม
กฤษณธร สินตะละ วิวัฒน์ ศรีวิชา และขนิษฐา ทุมา. (2552). แนวทางการใช้ว่านหนอน ตายหยากกำจัดหนอนแมลงวันในฟาร์มโคนม. สกลนคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลอีสาน. ชุลีพร วณิชกุลชัยพร และคณะ. (2551, เมษายน). “การใช้น้ำสกัดชีวภาพหนอนตายหยาก ควบคุมลูกน้ำยุงลาย,” วารสารสิ่งแวดล้อม. 4(1) : 107-121. ณัฐกานต์ ธิคำ และคณะ. (2551). “การแยกสารสกัดบางส่วนจากหนอนตายหยากและ ผลของสารสกัดต่อหนอนกระทู้หอม,” ใน การประชุมทางวิชาการของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 46. หน้า 253-261. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณัฐวดี สมบัติเทพสุทธิ์. (2551). ฤทธิ์ของสารสกัดหยาบจากรากหนอนตายหยาก (Stemona curtisii Hook.) โล่ติ๊น (Derris elliptica Benth) และน้ำมันเมล็ด สะเดาช้าง (Azadirachat excels (Jack) Jacobs) เพื่อควบคุมผีเสื้อหนอนใยผัก ในการปลูกผักกวางตุ้งแบบไฮโดรโพนิกส์. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (กีฏวิทยา). สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. นาตยา มาตรี ชนนิกานต์ ขวัญช่วย และพรประพา คงตระกูล. (2557). “ผลการสกัดหยาบ จากหนอนตายหยากต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อราโรคพืชบางชนิด,” แก่นเกษตร. 42(ฉบับพิเศษ 3) : 649-653. จตุรงค์ เหลาแหลม และคณะ. (2552). “กิจกรรมต้านจุลินทร์ของหนอนตายหยากบางชนิด,” ใน การประชุมวิชาการเรื่อง สภาวะโลกร้อน: ความหลากหลายทางชีวภาพและ การใช้ประโยชน์อย่างยั้งยืน. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางแสน. ธวัชชัย ศุภดิษฐ์ และ พนมกร ขุนอ่อน. (2551). “การใช้น้ำสกัดชีวภาพจาก หนอนตายหยากและสับปะรดควบคุมหนอนแมลงวันบ้านม,” ใน การประชุมสัมมนา วิชาการระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 4. หน้า 247-252. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. นงค์นภา เกลี้ยงเกลา. (2551). การใช้น้ำสกัดชีวภาพหนอนตายหยากเป็นปุ๋ยสำหรับ การผลิตถั่วเหลือง. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม). กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. พนมกร ขุนอ่อน (2550 : 114-115). การใช้น้ำสกัดชีวภาพสมุนไพรหนอนตายหยาก ควบคุมหนอนแมลงวันบ้าน. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม). กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. เพื่อนเกษตร. (2555). ปลูกมะนาวนอกฤดูเพื่อรายได้ให้เกษตรกร. กรุงเทพฯ : รายการโทรทัศน์ก้าวไกลกับกรมวิชาการเกษตร อ.ส.ม.ท. ไพบูลย์ ปะเนเส. (2550). จุลกายภาคของเหงือกและไตปลานิล (Oreochromis niloticus L.) ที่ได้รับสารกำจัดแมลงชีวภาพจากหนอนตายหยาก (Stemona curtisii Hook.F.) และ สารภี (Mammea siamensis Miq. T.) เปรียบเทียบกับแลนเนท. การค้นคว้าแบบอิสระ วท.ม. (ชีววิทยา). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. มนตรี บุญจรัส. (2557). โรคแคงเกอร์. ค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2557 ค้นจาก ชมรมเกษตร ปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com รายการเกษตรทำเงิน. (2555). มะนาวในบ่อซีเมนต์. กรุงเทพฯ : สถานีโทรทัศน์ผ่าน ดาวเทียม K-Station : 7 กันยายน 2555. วาสนา ไชยคำ. (2545). ฤทธิ์ฆ่าแมลงของสารสกัดจากหนอนตายหยาก (Stemona spp.) และเถาวัลย์เปรียง (Derrisscandens Benth). วิทยานิพนธ์ วท.ม. (เกษตรศาสตร์). ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สัมภาษณ์ ศรีสมัย. (ม.ป.ป.). เรื่องน่ารู้หนอนตายหยาก. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการเกษตร. สุภาณี พิมพ์สนาม รัตนาภรณ์ พรหมศรัทธา และวังวาล สมบูรณ์. (2546). สารสกัดจาก หนอนตายหยาก (Stemona spp.) เพื่อการควบคุมแมลงศัตรูพืช. [บบออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 20สิงหาคม 2557 ทีมา http://plantpro.doae.go.th./insectpest-research /A-14.pdf. อโนทัย วิงสระน้อย. (2549). การควบคุมแมลงวันด้วยสารสกัดจากหนอนตายหยาก (Stemonasp.). สกลนคร : สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรสกลนคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดสกลนคร. อรภัทร ภูรีเสถียร. (2550). การสกัดและพัฒนาสูตรตำรับหนอนตายหยากเพื่อควบคุม ศัตรูพืช. วิทยานิพนธ์ ภ.ม. (เภสัชศาสตร์). สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. อาทิตย์ บัวระภา. (2545). ความเป็นพิษของสารสกัดรากหนอนตายหยากและ Bacillus thuringiensis var. israelensis ต่อหนอนแมลงวันบ้าน. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (สาธารณสุข). ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น. Al-Haiza, Mostafa, M.A. and El-kady, M.Y. (2003). “Synthesis and Biological Evaluation of Some New Coumarin Derivatives.” Molecules. 8 : 275-286. Das, Manash R., et al. (2011). “Synthesis of silver nanoparticles in an aqueous suspension of grapheme oxide sheets and its antimicrobial activity,” Colloids and Surfaces B : Biointerfaces. 83 : 16-22. He, Lili, et al. (2011). “Antifungal activity of zinc oxide nanoparticles against Botrytis cinerea and Penicillium expansum,” Microbiological Research. 166 : 207-215. Leonard, Kwati, et al. (2011). “Insitu green synthesis of biocompatible ginseng capped gold nanoparticles with remarkable stability,” Colloids and Surfaces B : Biointerfaces. 82 : 391-396. Lewis, Anne. et al. (2004). “Treatment of Pancreatic Cancer Cells with Dicumarol Induces Cytotoxivity and Oxidative Stress.” Clinical Cancer Research. 10(1) : 4550-4558. Smid, Eddy J., et al. (1995). “Secondary Plant metabolities as control agents of postharvest Penicillium rot on tulip bulbs.” Postharvest Biology and Technology. 6 : 303-312.
หน่วยงานการอ้างอิง
โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ความคิดเห็น