ผู้วิจัย

สมหมาย ปะติตังโข กิ่งแก้ว ปะติตังโข

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติทางเคมีเชิงฟิสิกส์และฤทธิ์ทางชีวภาพของอนุภาคนาโนคอปเปอร์โดยมีอนุพันธ์ของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติเป็นตัวรีดิวซ์ต้านเชื้อรา (Penicillium sp. และ Aspergillus sp.) ของกระบวนการผลิตยางแผ่น และต้านอนุมูลอิสระ ผลการศึกษาพบว่า อนุภาคนาโนมีรูปร่างแบบเข็ม และมีขนาดอนุภาคอยู่ระหว่าง 35-81 นาโนเมตร อนุภาคทั้ง 8 ชนิด สามารถต้านอนุมูลอิสระได้ดีด้วยค่า IC50 ที่ต่ำ ได้แก่ อนุภาค SRA-Sal และ KU-INH-Cu ส่วนอนุภาคที่ต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี FRAP ได้ดีที่สุดคือ KU-Sal ผลการต้านเชื้อราก่อโรคของยางแผ่น พบว่า อนุภาคทั้งหมดสามารถต้านเชื้อราก่อโรคของยางแผ่นทั้ง Penicillium sp. และ Aspergillus sp. บนจานเพาะเชื้อได้ และเมื่อนำอนุภาคทั้งหมดนี้ไปทดสอบกับเชื้อราทั้งสองนี้ที่เจริญเติบโตอยู่บนยางแผ่น พบว่า ประสิทธิภาพในการต้านเชื้อราเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ส่วนสมบัติเชิงกล พบว่า เมื่อเติมอนุภาคคอปเปอร์นาโนในยางแผ่น ยางแผ่นทนทานต่อแรงดึงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอนุภาคนาโนที่มีตัวรีดิวซ์เป็นไซลิงกอลดีไฮด์ซาลิไซลิกไฮดราโซน (SRA-Sal-Cu) มีค่าเฉลี่ยที่ 7.00 กิโลกรัม ดังนั้นการเติมอนุภาคนาโน คอปเปอร์ลงในกระบวนการผลิตยางแผ่นนอกจากจะป้องกันกำจัดเชื้อราแล้วยังเพิ่มสมบัติเชิงกลของยางให้สูงขึ้นด้วย คำสำคัญ: นาโนชิฟฟ์เบส ยางพารา การต้านเชื้อรา

บรรณานุกรม

ฉันท์ทิพ คำนวณทิพย์และคณะ. (2551). การพัฒนาสมบัติในการต้านทานการติดไฟของ ยางธรรมชาติโดยใช้ nano clay และ Zeolite. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว). ณัฐวุฒิ สุทธิพงษ์, วรากร ศรีสุระพล. (2010). ค้นเมื่อ 6 กันยายน 2555 ค้นจาก http://www.ie.eng.chula.ac.th/academics/course 2104328/assignments/01-industries, 21.pdf. ณัฐพันธุ์ ศุภกา และ วราภรณ์ ถิรสิริ. (2549). นาโนเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. เนื่องพณิช สินชัยศรี และสาทร สิริสิงห์. (2548). ข้อเท็จจริง การใช้สารเคมี กับ การพัฒนา เกษตร ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. เยาวพา สุวัตถิ. (2009). ค้นเมื่อ 6 กันยายน 2555 ค้นจาก http://www.gpo.or.th/rdi/html/microbe.html 2009. ปิยนุช ทองผาสุก. (2550). ผลของรังสีแกรมมาต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและ สารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน. ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นิวเคลียร์ครั้งที่ 10 วันที่ 16-17 สิงหาคม 2550. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. พรรณี เด่นรุ่งเรื่อง. (2550). ฤทธิ์การการต้านอนุมูลอิสระของเปลือกต้นวงศ์อบเชย. ในรายงาน ผลงานวิจัย ประจำปี 2550. กรุงเทพฯ : สำนักงานวิจัยการจัดการป่าไม้และ ผลิตผลป่าไม้. รัตนา อินทรานุปกรณ์. (2547). การตรวดสอบและการสกัดแยกสาระสำคัญจากสมุนไพร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ระพีพันธ์ แดงตันกี และคณะ. (2554). ยางธรรมชาติผสมอนุภาคซิลเวอร์และคอปเปอร์ นาโนต้านเชื้อราและแบคทีเรียเพื่อประยุกต์ใช้เป็นผลิตภัณฑ์ยางในห้องน้ำ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. วราภรณ์ ขจรไชยกูล. (2552). ผลิตภัณฑ์ยาง : กระบวนการผลิตและเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). วิมล อินทอง. (2554). นาโนคอมโพสิตของโครงข่ายพอลิเมอร์แบบแทรกสอดในสถานะ น้ำยางจากยางธรรมชาติ พอลิเมทิลเมทาครีเลทและเลเยอร์ซิลิเกต. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว). สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2553). ข้อมูลวิชาการ ยางพารา 2553. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. อรสา ภัทรไพบูลย์ชัย. (2554). การเตรียมและใช้งานซิงค์ออกไซด์นาโนในยางธรรมชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว). อิทธิพล พจนสัจ. (2551). การตรวจวัดความเข้มข้นโดยวิธีวัดค่าความหนืดและโดยวิธี ทางแสง. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว). โอภา วัชระคุปต์. (2549). สารต้านอนุมูลอิสระ. กรุงเทพฯ : พีเอสพริ้นท์. Al-Haiza, M.A., Mostafa, M.S., and El-Kady, M.Y. (2003). “Synthesis and biological evaluation of some new coumarin derivatives,” Molecules. 8 : 275-286. Das, Manash R., et al. (2011). “Synthesis of silver nanoparticles in an aqueous suspension of grapheme oxide sheets and its antimicrobial activity,” Colloids and Surfaces B : Biointerfaces. 83 : 16-22. DiSilvestra, R.A.et al. (2005). “Soy isoflavone supplementation elevates erythrocyte superoxide dismutase, but not plasma ceruloplasmin in postmenopausal breast cancer survivors,” Breast Cancer Research & Treatment. 89 : 251-255. He, Lili, Liu, Yang, Mustapha, Azlin, and Lin, Mengshi. (2011). “Antifungal activity of zinc oxide nanoparticles against Botrytis cinerea and Penicillium expansum,” Microbiological Research. 166 : 207-215. Kostova, Irena, et al. (2005). “Cytotoxic activity of new lanthanum (III) complexes of bis-coumarins,” EJ Med Chem. 40 : 542-551. Leonard, Kwati, et al. (2011). “Insitu green synthesis of biocompatible ginseng capped gold nanoparticles with remarkable stability,” Colloids and Surfaces B : Biointerfaces. 82 : 391-396. Lopez, Lidia M., et al. (2002). “Effect of the lipophilic o-naphthoquinone CG 10-248 on rat liver mitochondria structure and function,” Biocell. 26(2) : 237-245. Lewis, Anne., et al. (2004). “Treatment of pancreatic cancer cells with dicumarol induces cytotoxicity and oxidative stress,” Clinical Cancer Research. 10 : 4550-4558. Mu, Bin, Lu, Chunyin, and Liu, Peng. (2011). “Disintegration-controllable stimuli- responsive polyelectrolyte multilayer microcapsules via covalent layer-by-layer assembly,” Colloids and Surfaces B: Biointerfaces. 82 : 385-390. Smid, Eddy J., et al. (1995). “Secondary plant metabolites as control agents of postharvest Penicillium rot on tulip bulbs,” Postharvest Biological and Technology. 6 : 303-312.

หน่วยงานการอ้างอิง

โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ไฟล์แนบ

pdf ฤทธิ์ทางชีวภาพของนาโนชิฟฟ์เบสจากธรรมชาติ

ขนาดไฟล์ 5 MB | จำนวนดาวน์โหลด 523 ครั้ง

ความคิดเห็น