ผู้วิจัย

สมหมาย ปะติตังโข และคณะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ทำการสังเคราะห์อนุภาคนาโนทางเคมีด้วยสภาวะที่ไม่รุนแรง ศึกษาสมบัติทางเคมีเชิงฟิสิกส์และฤทธิ์ทางชีวภาพในการต้านอนุมูลอิสระและการต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในมนุษย์ พบว่า สามารถสังเคราะห์อนุภาคนาโนทองแดง (C1) เหล็ก (C2) และนิเกิล (C3) ในตัวทำละลายเอทานอลที่ร้อนได้ผลผลิตในเปอร์เซ็นต์ที่สูงถึง 78.82,81.11 และ 55.01 % ผลการศึกษาด้วยเครื่อง SEM พบว่า ลักษณะของอนุภาคทองแดงนาโนเป็นทรงกลม ส่วนเหล็กและนิเกิลนาโนมีลักษณะเป็นรูปเข็มกระจายตัวสม่ำเสมอ ส่วนฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ DPPH พบว่า อนุภาคทองแดงนาโนมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระ DPPH สูงสุด รองลงมาคือ อนุภาคเล็กและนิเกิลนาโน สำหรับ การต้านอนุมูลอิสระเทคนิค FRAP พบว่า ลิแกนด์ Dimethyl glyoxime (DMG หรือ L1) ออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด ส่วนทองแดงมีฤทธิ์ต่ำที่สุด สำหรับฤทธิ์การต้านแบคทีเรียก่อโรคในมนุษย์ พบว่า C1 และ C2 มีประสิทธิภาพในการต้านแบคทีเรียทั้ง 4 ชนิด คือ B. cereus, Staphylococcus aureus, Salmonella และ E. coli ได้ดีที่สุดโดยมีค่า Clear zone เฉลี่ยระหว่าง 25-30 mm ดังนั้นผลจากการวิจัยในครั้งนี้จึงมีประโยชน์ต่อวงการแพทย์และเภสัชเป็นอย่างยิ่ง

บรรณานุกรม

โครงการสร้างความเข้าใจวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแก่สาธารณชน. (2549). ประโยชน์จากนาโนเทคโนโลยี. ปทุมธานี : สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์แลเทคโนโลยี แห่งชาติ. ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2551). เอกสารประกอบการเรียนรู้ หลักสูตรวัสดุนาโน. กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งชาติ. โอภา วัชระคุปต์. (2550). สารต้านอนุมูลอิสระ Radical scavenging agents. 2nd edition. กรุงเทพฯ : นิวไทยมิตรการพิมพ์. Al-Haiza, Mostafa, M.A. and El-kady, M.Y. (2003). “Synthesis and Biological Evaluation of Some New Coumarin Derivatives.” Molecules. 8 : 275-286. Das, Manash R., et al. (2011). “Synthesis of silver nanoparticles in an aqueous suspension of grapheme oxide sheets and its antimicrobial activity.” Colloids and Surfaces B : Biointerfaces. 83 : 16-22. DiSilvestro, Robert A., et al. (2005). “Soy isoflavone supplementation elevates erythrocyte superoxide dismutase, but not plasma ceruloplasmin in postmenopausal breast cancer survivors.” Breast Cancer Research and Treatment. 89 : 251-255. He, Lili, Liu, Yang, Mustapha, Azlin, and Lin, Mengshi. (2011). “Antifungal activity of zinc Oxide nanoparticles against Botrytis cinerea and Penicillium expansum.” Microbiological Research. 166 : 207-215. Hospital Based Cancer Registry. Cancer Report. (2012). ค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม จาก 2555 www.ncrpindia.org/HBCR_website/index.aspx Kostova, Irena et al. (2005). “Cytotoxic activity of new lanthanum (III) complexes of bis-coumarins.” European Journal of Medicinal Chemistry. 40 : 542-551. Smid, Eddy J., et al. (1995). “Secondary Plant metabolities as control agents of postharvest Penicillium rot on tulip bulbs.” Postharvest Biology and Technology. 6 : 303-312.

หน่วยงานการอ้างอิง

โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ไฟล์แนบ

pdf วิจัยฉบับสมบูรณ์ การสังเคราะห์ฯ ไดเมทิลไกลออกซาม

ขนาดไฟล์ 7 MB | จำนวนดาวน์โหลด 646 ครั้ง

ความคิดเห็น