ผู้วิจัย

สมหมาย ปะติตังโข และคณะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการนำเปลือกเมล็ดมะขามมาทำการสกัดสารโพลีฟีนอลด้วยแอลกอฮอลล์ ทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ และนำไปเป็นส่วนผสมของอาหารไก่เนื้อ โดยเปลือกเมล็ดมะขาม 1 kg สกัดได้สารโพลีฟีนอลที่มีโมเลกุลขนาดเล็กและไม่เป็นพิษจำนวน 200 g เมื่อหาปริมาณโพลีฟีนอลรวมจะได้ค่าเฉลี่ย 18.085 ppm ที่ความเข้มข้นของสารตัวอย่าง 100 ppm การศึกษาสมบัติการต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH พบว่า สารสกัดจากเปลือกเมล็ดมะขามมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่ค่า IC50 19.59 ppm การต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี FRAP พบว่า สารสกัดมีความสามารถในการรีดิวส์ Fe3+ ไปเป็น Fe2+ ซึ่งได้ปริมาณ Fe2+ 0.864 ppm ส่วนการศึกษาสมบัติการต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี ABTS+ พบว่า ทุกความเข้มข้นของสารสกัดจากเปลือกเมล็ดมะขามมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระด้วยเทคนิค ABTS ได้ค่าเปอร์เซ็นต์ Radical Scavenging activity เป็น 51.389 ppm การเสริมสารสกัดเปลือกเมล็ดมะขามในการเลี้ยงไก่เนื้อทำให้ไก่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น การเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวันและประสิทธิภาพการใช้อาหารสูงขึ้น รวมถึงทำให้ปริมาณไขมันในช่องท้องของไก่เนื้อลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สำหรับระดับที่เหมาะสมในการเสริมสารสกัดเปลือกเมล็ดมะขามในการเลี้ยงไก่เนื้อ คือ ที่ระดับ 300 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมอาหาร มีผลทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตไก่เนื้อดีที่สุด ผลจากการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการเลี้ยงไก่เนื้อในระดับครัวเรือนและทั้งยังสามารถขยายไปในระดับอุตสาหกรรมได้อีกด้วย

บรรณานุกรม

จินดาวัลย์ วิบูลย์อุทัย. (2549). ผลการยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์ต่อการอักเสบ และ อะพอพโตซีสในแมคโครฟาจ RAW 264.7 โดยสารสกัดจากเปลือกหุ้มเมล็ด มะขาม. ดุษฎีนิพนธ์ วท.ด. (ชีววิทยาสิ่งแวดล้อม). นครราชสีมา : มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี. ณัฐฐาพร ดาลัย. (2549). ผลของสารสกัดเปลือกหุ้มเมล็ดมะขามต่อระบบต้านอนุมูล อิสระในตับหนูขาว. รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ วท.ม. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. นฤมล น้อยหวอย และศศิธร จันทนวรางกูร. (2550). ผลกระทบของการแปรรูปต่อ คุณสมบัติการ ต้านออกซิเดชันในบัวบก. กรุงเทพฯ : ภาควิชาวิทยาศาสตร์- การอาหาร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ปวีณา ชาลีรินทร์ และคณะ. (2552). การศึกษาระดับของสารต้านอนุมูลอิสระทีเหมาะสม จากเปลือกเมล็ดมะขามในการเลี้ยงไก่เนื้อ. รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ วท.บ. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. พงศธร ล้อสุวรรณ และคณะ. (2551). สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด สมบัติการต้าน อนุมูลอิสระและการต้านจุลินทรีย์ของเปลือกผลไม้. กรุงเทพฯ : ภาควิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. เยาวดี รุ่งเรือง และ สุพิชญา จันทะชุม. (2552). กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของ สารสกัดคลอโรฟิลล์ด้วยเอทานอลจากผักเหมียง. กรุงเทพฯ : ภาควิชาเทคโนโลยี- อาหาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. รวีวรรณ โสธะโร. (2531). คุณค่าทางอาหารและอิทธิพลการใช้สีของสาหร่ายเส้นด้าย และ แกลบกุ้งในอาหารไก่กระทงและไก่ไข่. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (สัตวบาล). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. รินฤดี โซ่มงคล ดวงทิพย์ มูลมั่งมี และ สมพร มูลมั่งมี. (2549). การศึกษาฤทธิ์การเป็น แอนติออกซิแดนท์และการกำจัดอนุมูลอิสระของโพลีแซคคาไรด์จาก เห็ดกินได้. กรุงเทพฯ : ภาควิชาจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี. วรพล เองวานิช. (2550). “กลไกลกาสร้างและการทำลายอนุมูลอิสระกลุ่มออกซิเจน.” ว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 26(3): 294-301. วริพัสย์ อารีกุล และ นราพร พรหมไกรวร. (2550). การเปลี่ยนแปลงปริมาณสารประกอบ คาทิชินและความสามารถในการต้านออกซิเดชันของชาเบ็ญจขันธ์ในระหว่าง กระบวนการผลิต. กรุงเทพฯ : โครงการคณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วันเช็ง สิทธิกิจโยธิน และ ดวงฤดี เชิดวงศ์เจริญสุข. (2554). “ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของ สารสกัดจากเปลือกหุ้มเมล็ดมะขามหวานและมะขามเปรี้ยว.” วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 16(1) : 47-55. วิรัชญา จันพายเพ็ชร และ อรสา สุริยาพันธ์. (2551). การประเมินสมบัติการเป็นสารต้าน อนุมูลอิสระของสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดทานตะวัน. ชลบุรี : ภาควิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร มหาวิทยาลัยบูรพา. วีณาพร จันทะสินธุ์. (2543). ผลของสารสกัดเปลือกเมล็ดมะขามต่อระดับ มาลอนไดอัลดีไฮด์ใน พลาสมาหนูขาวใหญ่ที่ถูกป้อนด้วยเอธิลแอลกอฮอล์. รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ วท.ม. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สินีนาฏ อักโขสุวรรณ และศศิธร จันทนวรางกูร. (2550). ผลของการทำแห้งต่อ C-Phycocyanin และสมบัติการต้านออกซิเดชันของสารสกัดจากสาหร่าย เกลียวทอง (Spirulina platensis). ในการประชุมทางวิชาการของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 45. กรุงเทพฯ : ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สุภานันต์ จึงนิจนิรันดร์ พงศกร รามบุตร และสาครินทร์ ไขศรี. (2547). การสกัดสารเอ พิคาทิชินจากเปลือกเมล็ดมะขามโดยเทคนิค ฟลูอิดไดเซชัน. วิทยานิพนธ์ วศ.บ. (วิศวกรรมเคมี). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. เสาวนีย์ เหลืองธนะผล และคณะ. (2545). การสกัดสารแอนติออกซิแดนท์จาก เปลือกเมล็ดมะขาม. วิทยานิพนธ์ วศ.ม. (วิศวกรรมเคมี). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. เสาวลักษณ์ รุ่งแจ้ง และ Hiroshi Shinmoto. (2548). การสกัดสารต้านอนุมูลอิสระจาก เปลือกหุ้มเมล็ดมะขามด้วยตัวทำละลาย. ในการประชุมทางวิชาการของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 43. กรุงเทพฯ : สถาบันค้นคว้าและ พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. อนุมูลอิสระของสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดทานตะวัน. ชลบุรี : ภาควิชาวิทยาศาสตร์ การอาหาร มหาวิทยาลัยบูรพา. เอื้องพลอย ใจลังกา และ สุทัศน์ สุระวัง. (2552). ผลของกระบวนการหมักที่มีต่อปริมาณ สารต้านอนุมูลอิสระในน้ำส้มสายชูหมักจากผลหม่อน. ในการประชุมทางวิชาการ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 47. เชียงใหม่ : ภาควิชาเทคโนโลยีการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. Ahmet, Ozdemir et al. (2010). “Synthesis of some novel hydrazone derivatives and evaluation of their antituberculosis activity.” Marmara Pharmaceutical Journal. 14 : 79-83. Al-Haiza, Mostafa, M.A. and El-kady, M.Y. (2003). “Synthesis and Biological Evaluation of Some New Coumarin Derivatives.” Molecules. 8 : 275-286. Almahy, Hassan A. and Alagimi, Awatif A. ( 2012. April). “Coumarins from the roots of Cleme Viscosa (L.) antimicrobial and cytotoxic studies.” Arabian Journal of chemistry. 5(2) : 241-244. Azmi, A.S., Bhat, S.H. and Hadi, S.M. (2005). “Resveratrol-Cu(II) induced DNA breakage in human peripheral lymphocytes: Implications for anticancer properties.” FEBS Letters. 579: 3131-3135. Chowdhury, S.R. and M.A. Wahid. “Effect of Dietary Tamarind on Cholesterol Metabolism in Laying Hens,” Poult. Sci. 84(4) : 56-60, 2005 DiSilvestro, Robert A., et al. (2005). “Soy isoflavone supplementation elevates erythrocyte superoxide dismutase, but not plasma ceruloplasmin in postmenopausal breast cancer survivors.” Breast Cancer Research and Treatment. 89 : 251-255. Kostova, Irena et al. (2005). “Cytotoxic activity of new lanthanum (III) complexes of bis-coumarins.” European Journal of Medicinal Chemistry. 40 : 542-551. Lewis, Anne. et al. (2004). “Treatment of Pancreatic Cancer Cells with Dicumarol Induces Cytotoxivity and Oxidative Stress.” Clinical Cancer Research. 10(1) : 4550-4558. Lin, Hai, Eddy Decuypere and Johan Buyse. (2006). “A cute heat stress induces oxidative stress in broiler chickens.” Comparative Biochemistry and physiology-Part A: Molecular & Integrative physiology, 144(1): 11-17. Pumthong, G. (1999). Antioxidant Activity of Polyphenolic Compounds Extracted from Seed Coat of Tamarindus indica Linn. Chiang Mai : Chiang Mai University, Thailand. Sahin, K. et al. (2002). “Effects of vitamin E and A supplementation on lipid peroxidation and concentration of some mineral in broilers Reared under heat stress (32๐c).” Nutrition Research. 22 : 723-731. Tsuda, T., et al. (1995). “Supacritical carbon dioxide extraction of antioxidative componenets from Tamarind (Tamarindus indica L.) seed coat.” Journal of Agricultural and food chemistry. 43 : 2803-2806.

หน่วยงานการอ้างอิง

โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ไฟล์แนบ

pdf รายงานฉบับสมบูรณ์ส่งเสริมการเลี้ยงไก่

ขนาดไฟล์ 5 MB | จำนวนดาวน์โหลด 525 ครั้ง

ความคิดเห็น