ผู้วิจัย

สมหมาย ปะติตังโข และคณะ

บทคัดย่อ

นาโนเทคโนโลยีเป็นเทคโนโลยีที่เป็นความหวังใหม่ของมวลมนุษย์ชาติ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้อย่างมากมายหลากหลายมากขึ้น การนำนาโนเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์เป็นการบูรณาการศาสตร์หลายแขนงเข้าด้วยกัน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มฤทธิ์สารสกัดผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติไซลิงกอลดีไฮด์ โดยการสังเคราะห์อนุพันธ์ ไซลิงกอลดีไฮด์ และควบคุมขนาดอนุภาคของสารให้อยู่ในระดับนาโนเมตร ได้สารที่เป็นนาโนอินทรีย์ และ นาโนโลหะอินทรีย์ 6 ชนิด คือ สาร L1, L2 C1, C2, C3 และ C4 แล้วนำสารทั้ง 6 ชนิด มาศึกษาสมบัติทางเคมีเชิงฟิสิกส์ ทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพโดยการต้านอนุมูลอิสระด้วยเทคนิค 2,2 Diphenyl-1-picrylhydrazyl radical (DPPH) และ Ferric reducing/antioxidant power (FRAP) ทดสอบความสามารถในการต้านเชื้อแบคทีเรีย E.coli., Salmonella และ Staphylococcus aureus และทดสอบฤทธิ์การต้านหนอนกอในนาข้าว พบว่า สาร L2 มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH ออกฤทธิ์ได้ดีด้วยค่า IC50 ที่ต่ำในระดับ 51.109 มิลลิกรัม/ลิตร ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี FRAP พบว่า สารที่มีความสามารถในการรีดิวซ์ Fe3+ ไปเป็น Fe2+ได้มากที่สุด คือ สาร L1 ความสามารถใน การต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย พบว่า สาร C1, C2, C3 และ C4 สามารถต้าน การเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ชนิด E.coli., Salmonella และ Staphylococcus aureus ได้ดี และความสามารถในการต้านหนอนกอในนาข้าว พบว่า สาร C1 C2 C3 และ C4 สามารถต้านหนอนกอได้ดีที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 20, 40, 60, 80 และ 100 ppm ตามลำดับ สาร C1 C2 C3 และ C4 จึงควรมีการพัฒนาเป็นสารชีวภาพในระดับอุตสาหกรรม เพื่อลดใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมและหันมาใช้สารชีวภาพที่เป็นมิตรต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมต่อไป

บรรณานุกรม

โครงการสร้างความเข้าใจวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแก่สาธารณชน. (2549). ประโยชน์จากนาโนเทคโนโลยี. ปทุมธานี : สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์แลเทคโนโลยี แห่งชาติ. จิระะเดช แจ่มสว่าง. (2550). การควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี บนเส้นทางของการเกษตร ยุคใหม่. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2554 จาก http://www.thaigreenagro.com/Article. เยาวพา สุวัตถิ. (ม.ป.ป.). ค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2553 จาก http://www.thairath.co.th วท.รุกเพิ่มมูลค่าภาคอาหาร-เกษตร. (2553). ค้นเมื่อ 21 มกราคม 2555 จาก http://www.thairath.co.th ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2551). เอกสารประกอบการเรียนรู้ หลักสูตรวัสดุนาโน. กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งชาติ. --------. (2554). โครงการอบรมครูวิทยาศาสตร์ (วิทยาศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา) ประจำปี 2554 “นาโนเทคโนโลยีเบื้องต้น”. กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนา-วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. อาหารต้านอนุมูลอิสระ. ค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2555 จาก www.wyethnutrition.co.th โอภา วัชระคุปต์. (2550). สารต้านอนุมูลอิสระ Radical scavenging agents. 2nd edition. กรุงเทพฯ : นิวไทยมิตรการพิมพ์. Azmi, A.S. Bhat, S.H. and Hadi, S.M. (2005). “Resveratrol-Cu(II) induced DNA breakage in human peripheral lymphocytes: Implications for anticancer properties.” FEBS Letters. 579 : 3131-3135. Al-Haiza, Mostafa, M.A. and El-kady, M.Y. (2003). “Synthesis and Biological Evaluation of Some New Coumarin Derivatives.” Molecules. 8 : 275-286. Das, Manash R., et al. (2011). “Synthesis of silver nanoparticles in an aqueous suspension of grapheme oxide sheets and its antimicrobial activity.” Colloids and Surfaces B : Biointerfaces. 83 : 16-22. DiSilvestro, Robert A., et al. (2005). “Soy isoflavone supplementation elevates erythrocyte superoxide dismutase, but not plasma ceruloplasmin in postmenopausal breast cancer survivors.” Breast Cancer Research and Treatment. 89 : 251-255. Hubbard, N.E. and Erikson.K.I. (1987). “Enhancement of metastasis from a transportable mouse mammary tumor by a dietary linoleic acid.” Cancer Research. 47 : 6171- 6175. Halliwell, Barry and Gutteridge, John M.C. (1984). “Oygentoxicity, oxygen radicals, transition metals and disease.” Biochemistry Journal. 219 : 1-14. He, Lili, Liu, Yang, Mustapha, Azlin, and Lin, Mengshi. (2011). “Antifungal activity of zinc oxide nanoparticles against Botrytis cinerea and Penicillium expansum.” Microbiological Research. 166 : 207-215. Lopez, Lidia M., et al. (2002). “Effect of lipophilic 0-Naphthoquinone CG 10-248 on rat liver mitochondria structure and function.” Biocell. 26(2) : 237-245. Kostova, Irena et al. (2005). “Cytotoxic activity of new lanthanum (III) complexes of bis-coumarins.” European Journal of Medicinal Chemistry. 40 : 542-551. Mu,Bin, Lu, Chunyin and Liu, Peng, (2011) . Disintegration-controllable stimuli-responsive polyelectrolyte multilayer microcapsules via covalent layer-by-layer assembly. Colloids and Surfaces B : Biointerfaces. 82 : 385-390. Kumari, Avnesh, et al. (2011). Nanoencapsulation and characterization of Albizia chinensis isolated antioxidant quercitrin on PLA nanoparticles. Colloids and Surfaces B : Biointerfaces. 82 : 224-232. Leonard, Kwati, et al. (2011). Insitu green synthesis of biocompatible ginseng capped gold nanoparticles with remarkable stability. Colloids and Surfaces B : Biointerfaces. 82 : 391-396. Lewis, Anne. et al. (2004). “Treatment of Pancreatic Cancer Cells with Dicumarol Induces Cytotoxivity and Oxidative Stress.” Clinical Cancer Research. 10(1) : 4550-4558.

หน่วยงานการอ้างอิง

โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ไฟล์แนบ

pdf รายงานฉบับสมบรูณ์ การทดสอบฤทธิ์ นาโนหนอนกอ

ขนาดไฟล์ 10 MB | จำนวนดาวน์โหลด 1300 ครั้ง

ความคิดเห็น