ผู้วิจัย

กิตติกร ฮวดศรี กิตติกวินต์ เอี่ยมวิริยาวัฒน์ รังสิมา สว่างทัพ รพีพรรณ พงษ์อินทร์วงศ์ และชนินาถ ทิพย์อักษร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยด้านทุนมนุษย์ที่มีผลต่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ การศึกษาครั้งนี้สามารถนำผลการศึกษามาใช้เป็นเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อประยุกต์ใช้ในการวางแผนการการพัฒนาทุนมนุษย์ที่มีผลต่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้นำกลุ่มหรือหัวหน้ากลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือทีใช้ในการเก็บแบบสอบถามได้แก่แบบสอบถาม สัมภาษณ์ และทำการวิเคราะห์ผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้นำหรือหัวหน้ากลุ่มวิสาหกิจชุมชนพบว่า ด้านเพศพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ด้านอายุพบว่าส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ด้านระดับการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า ด้านประสบการณ์ในการทำงาน/ในการประกอบอาชีพพบว่า ส่วนใหญ่มีประสบการ์ในการทำงาน/ประกอบอาชีพมากกว่า 10 ปี ด้านรายได้เฉลี่ยที่ได้รับในปัจจุบันพบว่าส่วนใหญีมีรายได้เฉลี่ยที่ได้รับในปัจจุบันต่ำกว่า 5,000 บาท ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทุนมนุษย์ของผู้นำหรือหัวหน้ากลุ่มวิสาหกิจชุมชน ด้านทุนทางปัญญาพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความสามารถในการเรียนรู้ และแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดจากการทำงานในอาชีพของตนได้ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในอาชีพ และมีโอกาสแสวงหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอๆ อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ สามารถนำความรู้จากการศึกษา เล่าเรียนมาหรือจากการได้อบรมพัฒนาจากหน่วยงานต่างๆที่จัดให้มาประยุกต์ใช้กับงานปัจจุบันของตนเองได้ สามารถถ่ายทอด หรือให้คำแนะนำเพื่อนร่วมงานหรือเพื่อนร่วมอาชีพหรือบุคคลที่มาขอคำแนะนำได้ อยู่ในระดับปานกลางมีทักษะการสื่อสารที่รวดเร็ว เข้าใจง่ายอยู่ในระดับปานกลาง มีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขที่แม่นยำไม่ผิดพลาดอยู่ในระดับปานกลาง และมีทักษะการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารเพื่อลดขั้นตอนในการทำงานได้อยู่ในระดับน้อย ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทุนมนุษย์ของผู้นำหรือหัวหน้ากลุ่มวิสาหกิจชุมชน ด้านทุนทางแรงงานพบว่า อยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า แรงงานที่ใช้หาได้ง่ายโดยทั่วไปในชุมชนอยู่ในระดับ มากที่สุด เพราะส่วนใหญ่ในชุมชนจะประกอบอาชีพที่คล้ายคลึงกันหรือเหมือนกันทำให้สามารถเลือกแรงงานได้ไม่ยาก รองลงมาแรงงานที่มีอยู่ปัจจุบันมีเพียงพอ และต้องการลดต้นทุนในการจ้างแรงงาน อยู่ในระดับมาก ลูกค้าสั่งสินค้าน้อยเลยให้ทำให้ลดจำนวนแรงงานอยู่ในระดับปานกลาง แรงงานมีความพึงพอใจต่อค่าตอบแทนที่ได้รับอยู่ในระดับปานกลางอันเนื่องมาจากแรงงานหาได้โดยทั่วไปในชุมชนแล้วอีกทั้งสมาชิกในกลุ่มมีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ชุมชนนั้นเป็นอย่างดีทำให้สามารถดำเนินการเองได้โดยที่ไมจำเป็นต้องจ้างแรงงานเพิ่ม แนวโน้มแรงงานในหน่วยงานของท่าน ท่านอยากได้แรงงานเพิ่มอยู่ในระดับ น้อย แรงงานไปอยู่กับกิจการอื่นที่เป็นประเภทเดียวกันอยู่ในระดับน้อย และผู้สมัครมีคุณสมบัติที่ไม่เหมาะสมกับงานอยู่ในระดับน้อย ตามลำดับ คำสำคัญ: ทุนมนุษย์, การพัฒนา ,วิสาหกิจชุมชน

บรรณานุกรม

บรรณานุกรม นิสดารก์ เวชยานนท์. (2552). มิติใหม่ในการบริหารทุนมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : เดอะ กราฟฟิโก ซิสเต็มส์. ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง. (2546). การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในต่างประเทศและในบริบทของไทย. คำบรรยายในการอบรมเชิงปฏิบัติการการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของวิสาหกิจชุมชน ภาคเหนือตอนบน ณ ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิผลทางการเกษตร เชียงใหม่ : คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สรสิชา ศรีนวล. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางสังคมกับความมั่นคงของมนุษย์ : กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี.วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (พัฒนาสังคม). กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. องค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก. (2560). แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2560-2562). บุรีรัมย์ : องค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก

หน่วยงานการอ้างอิง

องค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก,คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ไฟล์แนบ

doc บทความส่ง -1

ขนาดไฟล์ 62 KB | จำนวนดาวน์โหลด 241 ครั้ง

ความคิดเห็น