ผู้วิจัย

อุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประเมินผลและตรวจสอบผลกระทบที่มีต่อการจัดการอุตสาหกรรมการผลิตน้ำดื่มในอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ในด้านต่างๆ หลังจากการนำเอาระบบจีเอ็มพีมาใช้ในปรับปรุงสภาพการผลิต รวมไปถึงศึกษาสภาพการณ์ทั่วไปของสถานประกอบการผลิตน้ำดื่ม ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการศึกษา สถานประกอบการที่ผลิตน้ำดื่มที่มีการจดทะเบียนทั้งหมดในอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ตามบัญชีรายชื่อของกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งหมด 6 แห่ง ศึกษาโดยใช้เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องมือวิธีการทางสถิติ มาใช้ในการวิเคราะห์ถึงผลกระทบของข้อกำหนดที่มีต่อผู้ประกอบการผลิตน้ำดื่มในด้านต่างๆ ซึ่งผลจากการวิจัยพบว่า ผลกระทบของข้อกำหนดมาตรฐานจีเอ็มพีที่มีต่อผู้ประกอบการผลิตน้ำดื่มทั้ง 11 ด้าน พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่า การนำเอาข้อกำหนดจีเอ็มพีมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำดื่ม ทำให้เกิดผลกระทบทางลบ เนื่องจากต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต ต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง มี 3 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 50 ได้แก่ น้ำดื่มวังทิพย์, น้ำดื่มแพรทิพย์ และ น้ำดื่มลัดละชา ส่วนรองลงมาเห็นว่าทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงด้านกระบวนการผลิตการควบคุมคุณภาพ มี 2 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 33.33 ได้แก่ ชุ่มน้ำดื่ม และ ปวริศน้ำดื่ม และลำดับสุดท้ายเห็นว่าทำให้ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุง ด้านการสุขาภิบาล มีอยู่ 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 16.67 ได้แก่ โรงกรองน้ำสหกรณ์อำเภอสตึก และผู้ประกอบการบางรายเห็นว่า จีเอ็มพีทำให้เกิดผลกระทบทางบวก โดยทำให้เกิดความเชื่อมั่นต่อผลิตภัณฑ์น้ำดื่มเพิ่มขึ้น มี 4 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 66.66 ส่วนรองลงมาเห็นว่า ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น และ ทำให้ระบบการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น, ระบบการทำงานของสถานที่ผลิตน้ำดื่มดีขึ้น มี 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 16.67

ไฟล์แนบ

pdf บทความวิจัยGMP 2557 New Rev.1 ล่าสุด

ขนาดไฟล์ 404 KB | จำนวนดาวน์โหลด 409 ครั้ง

ความคิดเห็น