ผู้วิจัย

ธงรบ ขุนสงคราม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดนตรีในการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา ระดับมัธยมศึกษา อาเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดาเนินงานการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดนตรีในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในประเด็นด้านคุณลักษณะ ด้านการปฏิบัติการสอน และความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านดนตรีในการจัดการเรียนรู้ และ 2) รูปแบบกระบวนการนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดนตรีให้สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย นาไปปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้มาโยวิธีการแบบเจาะจง เป็นผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และนักเรียน จากสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จานวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.74 และประเด็นการสนทนากลุ่มแบบมีส่วนร่วม สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนาเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ในด้านคุณลักษณะ อยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง ( X = 2.78, S.D. = 0.40) และในด้านการปฏิบัติการสอน อยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง ( X = 2.80, S.D. = 0.39) ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน มีความเห็นสอดคล้องกันว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคความรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้พื้นฐานดนตรีที่ใช้บุคลากรภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่ในระดับที่ยังไม่น่าพอใจ สาเหตุมาจากบุคลากรภูมิปัญญาท้องถิ่นทางดนตรีใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ภาคปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่ เพราะมีความสามารถในทางปฏิบัติ และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นามาถ่ายทอดได้รับมาจากการเรียนรู้นอกระบบ นอกจากนี้แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้ของบุคลากรภูมิปัญญาท้องถิ่นทางดนตรีในสถานศึกษายังไม่เป็นระบบที่สอดคล้องกับการเรียนการสอนในห้องเรียน 2. ความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดนตรีในการจัดการเรียนรู้อยู่ในเกณฑ์ระดับมาก ( X = 3.89, S.D. = 0.12) เมื่อพิจารณาความคิดเห็นเป็นรายข้อพบว่า ความคิดเห็นที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ บุคลากรภูมิปัญญาท้องถิ่นวางตัวได้เหมาะสมและเป็นตัวอย่างที่ดี รองลงมาคือ บุคลากรภูมิปัญญาท้องถิ่นมีเทคนิคการสอนให้เข้าใจได้ดี และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ นักเรียนมีความสนใจและตั้งใจเรียนกับบุคลากรภูมิปัญญาท้องถิ่นมาก 3. รูปแบบกระบวนการนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดนตรีให้สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษานำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยได้ร่างขึ้นโดยผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการกับผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วยกระบวนการ 5 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์ชุมชน การจัดทาชุดความรู้ การสร้างกิจกรรม การขยายผลสู่ชุมชน และการประเมินผล ซึ่งรูปแบบจาลองที่ได้น่าจะช่วยให้การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดนตรีในสถานศึกษามีระบบและมีรูปแบบที่ชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ น่าจะสอดคล้องกับสภาพของชุมชน ซึ่งจะมีส่วนช่วยพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดนตรีในชุมชนให้คงอยู่ พัฒนาดีขึ้นและแพร่หลาย เพื่อประโยชน์ของชุมชนได้ คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้, ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดนตรี, การใช้

หน่วยงานการอ้างอิง

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ไฟล์แนบ

pdf 00 ปกหน้า

ขนาดไฟล์ 91 KB | จำนวนดาวน์โหลด 205 ครั้ง

pdf 01 ปกใน

ขนาดไฟล์ 72 KB | จำนวนดาวน์โหลด 184 ครั้ง

pdf 02 กิตติกรรมประกาศ

ขนาดไฟล์ 72 KB | จำนวนดาวน์โหลด 185 ครั้ง

pdf 03 บทคัดย่อ Abstract

ขนาดไฟล์ 89 KB | จำนวนดาวน์โหลด 188 ครั้ง

pdf 04 สารบัญ

ขนาดไฟล์ 86 KB | จำนวนดาวน์โหลด 194 ครั้ง

pdf 05 สารบัญตาราง

ขนาดไฟล์ 54 KB | จำนวนดาวน์โหลด 184 ครั้ง

pdf 06 สารบัญแผนภูมิ

ขนาดไฟล์ 45 KB | จำนวนดาวน์โหลด 193 ครั้ง

pdf 07 บทที่ 1

ขนาดไฟล์ 127 KB | จำนวนดาวน์โหลด 348 ครั้ง

pdf 08 บทที่ 2

ขนาดไฟล์ 456 KB | จำนวนดาวน์โหลด 1723 ครั้ง

pdf 09 บทที่ 3

ขนาดไฟล์ 179 KB | จำนวนดาวน์โหลด 251 ครั้ง

pdf 10 บทที่ 4

ขนาดไฟล์ 360 KB | จำนวนดาวน์โหลด 936 ครั้ง

pdf 11 บทที่ 5

ขนาดไฟล์ 166 KB | จำนวนดาวน์โหลด 177 ครั้ง

pdf 12 บรรณานุกรม

ขนาดไฟล์ 108 KB | จำนวนดาวน์โหลด 286 ครั้ง

pdf 13 ภาคผนวก

ขนาดไฟล์ 212 KB | จำนวนดาวน์โหลด 183 ครั้ง

pdf 14 ประวัติผู้วิจัย

ขนาดไฟล์ 93 KB | จำนวนดาวน์โหลด 179 ครั้ง

About the author

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8 หัวหน้าสาขาวิชาดนตรี ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ละสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ความคิดเห็น