ผู้วิจัย

วราลี โกศัย1/มัลลิกา เจริญพจน์2/นิตยา บรรณประสิทธิ์3/วิไลวรรณ ศิริเมฆา4/ ธนากร เทียมทัน5/วิภารัตน์ อิ่มรัมย์6

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้การจัดประสบการณ์แบบสะเต็มที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาครูโดยใช้การจัดประสบการณ์แบบสะเต็มที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21โดยใช้การจัดประสบการณ์แบบสะเต็มการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มี 3 ระยะ คือระยะที่ 1สร้างรูปแบบการพัฒนาครูปฐมวัยโดยใช้การจัดประสบการณ์แบบสะเต็มที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ คือครูผู้สอนในชั้นปฐมวัย จำนวน 23 คนซึ่งมีประสบการณ์ระดับชั้นปฐมวัยในโรงเรียนประจำอำเภอ ทั้ง 23 อำเภอ ของจังหวัดบุรีรัมย์ครูผู้สอนในชั้นปฐมวัย นักวิชาการด้านการศึกษาปฐมวัย และผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอนจำนวน 15 คน ระยะที่ 2การพัฒนาครูโดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสะเต็มที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนในชั้นปฐมวัย จำนวน 20 คนระยะที่ 3 การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 โดยใช้การจัดประสบการณ์แบบสะเต็มกลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนในชั้นปฐมวัย จำนวน 20 คน และนักเรียน ชาย–หญิงห้องเรียนปฐมวัยที่ครูรับผิดชอบ จำนวน 20 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการอบรมพัฒนาของครูแบบสังเกตพฤติกรรมการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยและแบบนิเทศ ติดตามและประเมินผลการพัฒนาครูระดับปฐมวัย ซึ่งข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูปฐมวัยโดยใช้การจัดประสบการณ์แบบสะเต็มที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ไดแก ความเป็นมาของรูปแบบ แนวคิดทฤษฎีพื้นฐาน หลักการของรูปแบบวัตถุประสงค์และการพัฒนาครูปฐมวัยโดยใช้การจัดประสบการณ์แบบสะเต็มที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่21ใน 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นสร้างความเข้าใจ ขั้นตอนที่ 2 ขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นตอนที่ 3 ขั้นการนำไปใช้ตามกระบวนการและขั้นตอนการจัดประสบการณ์แบบสะเต็ม ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ขั้น (ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ ขั้นที่ 2 ขั้นวางแผน ขั้นที่ 3 ขั้นการดำเนินกิจกรรม ขั้นที่ 4 ขั้นสรุปและประเมินผลกิจกรรม) และขั้นตอนที่ 4 ขั้นนิเทศติดตามและประเมินผล ซึ่งผลการประเมินความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.67-1.00 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสะเต็มที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 พบว่าจากการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของครูที่เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยรูปแบบพัฒนาการครูปฐมวัย พบว่าครูที่เข้าอบรมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ผลการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21พบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบสะเต็ม ด้านการแก้ปัญหาของตนเองที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่นสูงกว่าด้านการแก้ปัญหาของตนเองที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่นและแก้ปัญหาของผู้อื่น

หน่วยงานการอ้างอิง

กลุ่มติดตามและประเมินผล สำนักงานศึกษาธิการภาค 1. (2560). รายงานผลการติดตามและประเมินผล การดำเนินงานของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ในเขตตรวจราชการที่ 1 (STEM Education) ประจำปีงบประมาณ 2559. แหล่งที่มา : www.reo1.moe.go.th/2557/images/download2560-re01-policy stem.pdf3/02/2560 สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2560. คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. (2560). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี. ศึกษาธิการ, กระทรวง.(2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รับส่งสินค้าและพัสดภัณฑ์ (ร.พ.ส.) ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รับส่งสิ้นค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.พ.ส.). ชลาธิป สมาหิโต. (2560). “การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาในระดับการศึกษา ปฐมวัย STEM Learning Experience Provision in Early Childhood Education”, วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. ปีที่ 30 ฉบับที่ 2.แหล่งที่มา : www.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/viewFile/78579/62960 สืบค้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2560. ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นงเยาว์ ผาสุก. (2551). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญแบบโครงงาน โรงเรียนบ้านตรมไพร อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ (รายงานผลการวิจัย). สุรินทร์ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1. พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). “STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21”,วารสาร นักบริหาร. ปีที่ 33 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2556. พรพรรณ ไวทยางกูร. (2560). จับตา!!! สะเต็มศึกษาพัฒนาเด็กไทยตั้งแต่วัยอนุบาล. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2560 จากเว็บไซต์ : www.ipst.ac.th สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวาน กราฟฟิค.

ไฟล์แนบ

doc บทความวิจัย

ขนาดไฟล์ 77 KB | จำนวนดาวน์โหลด 598 ครั้ง

ความคิดเห็น