ผู้วิจัย

เฉลิมวุฒิ คำเมือง, ไพรัชช์ จันทร์งาม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ในสาระจำนวนและการดำเนินการของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2) สร้างนวัตกรรมที่ใช้แก้ไขมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ในสาระจำนวนและ การดำเนินการของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และ 3) เปรียบเทียบผลการวินิจฉัยมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ที่คลาดเคลื่อนในสาระจำนวนและการดำเนินการของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ก่อน-หลัง การใช้นวัตกรรมที่สร้างขึ้น ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ปีการศึกษา 2558 จำนวน 2,362 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ นักศึกษาครูคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2558 จำนวน 333 คน ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และเลือกกลุ่มเป้าหมายโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ นักศึกษาครูคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2558 จำนวน 44 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ จำนวน 30 ข้อ ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ (Lovett Reliability) 0.731 และ นวัตกรรมที่ใช้ในการแก้ไขมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง จิปาถะระบบจำนวน ได้ระดับคุณภาพของนวัตกรรมเฉลี่ย 4.48 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ในสาระที่ 1 จำนวนและ การดำเนินการจากมากไปหาน้อย 5 ลำดับแรก ได้แก่ เศษส่วน (ร้อยละ 100) จำนวนตรรกยะ (ร้อยละ 100) การเปรียบเทียบจำนวน (ร้อยละ 96.67) การดำเนินการ (ร้อยละ 93.33) และ เลขยกกำลัง (ร้อยละ 93.33) 2. คณะวิจัยได้สร้าง บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง จิปาถะระบบจำนวน เป็นนวัตกรรมที่ใช้แก้ไขมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์สาระจำนวนและการดำเนินการ ซึ่งประกอบด้วยคำนำ สารบัญ แนวปฏิบัติ กรอบที่ 1 ระบบตัวเลขฮินดู-อารบิก กรอบที่ 2 จำนวนและตัวเลข กรอบที่ 3 ข้อสังเกตเกี่ยวกับจำนวนและตัวเลข กรอบที่ 4 จำนวนตรรกยะในรูปจำนวนคละ กรอบที่ 5 ความสัมพันธ์ของจำนวนอตรรกยะกับจำนวนตรรกยะ กรอบที่ 6 การเขียนตัวเลขบอกเวลากับจำนวนเวลา กรอบที่ 7 การยกกำลังด้วย 0 และกรอบที่ 8 จำนวนที่ยกกำลังสอง 3. ผลการวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างในสาระจำนวนและการดำเนินหลังการใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง จิปาถะระบบจำนวน มีค่าเฉลี่ยแตกต่างจากก่อนการใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้มีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ลดน้อยลงกว่าก่อนการใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง จิปาถะระบบจำนวน

หน่วยงานการอ้างอิง

เอกสารอ้างอิง เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2549). การคิดเชิงมโนทัศน์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : ซัคเซส มีเดีย. ดวงใจ ลิ้มอาไพ. (2544). เอกสารประกอบการสอนวิชา 1023603 พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฏบุรีรัมย์. ธีระชัย บูรณโชติ. (2539). การสร้างบทเรียนสาเร็จรูป เส้นทางสู่อาจารย์ 3. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2537). “ความคิดรวบยอดกับการเรียนการสอน.” สารพัฒนาหลักสูตร. 119 (ตุลาคม – ธันวาคม 2537) : 57. บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2542). นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : เอสอาร์พริ้นติ้ง. ประเวศ วะสี. (2547). การพัฒนาต้องเอาวัฒนธรรมเป็นตัวตั้ง. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงวัฒนธรรม ราชบัณฑิตยสถาน. . (2546). ยุทธศาสตร์ทางปัญญาเพื่ออนาคตของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสื่อสร้างสรรค์. วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพมหานคร : ธนพร. วิไลวรรณ ลิ้มจิตรกร. (2548). การพัฒนาบทเรียนสาเร็จรูป เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราช ภัฏอุบลราชธานี. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). ครูคณิตศาสตร์มืออาชีพเส้นทางสู่ ความสาเร็จ. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ. สมพร พลขันธ์ และคณะ. (2557). “การวิเคราะห์มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจานวนจริง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.” วารสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). ปีที่ 9 (ฉบับที่ 3) : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. สุรางค์ โค้วตระกูล. (2541). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุนทรี คาเลิศ. (2546). การพัฒนาบทเรียนสาเร็จรูป เรื่อง ทศนิยม วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราช ภัฏอุบลราชธานี. Brown,D.V. (1992). Using Examples And Analogies To Remediate Misconceptions In Physics : Factors Influencing Conceptual Change. Journal Of Research in Science And Teaching 29Z1992x : 17-34.

ไฟล์แนบ

pdf Part 1 Proceeding page 1-593-หน้า-395-405

ขนาดไฟล์ 330 KB | จำนวนดาวน์โหลด 1415 ครั้ง

ความคิดเห็น