ผู้วิจัย

ไพรัชช์ จันทร์งาม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องเส้นโค้งและพื้นผิว โดยใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่มีประสิทธิภาพ 65/65 การศึกษาได้เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องเส้นโค้งและพื้นผิว โดยใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาและศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องเส้นโค้งและพื้นผิว โดยใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ชั้นปีที่ 4 ชั้นปีที่ 5 และชั้นปีที่ 6 ที่เคยมีผลการเรียนไม่ผ่านในรายวิชาแคลคูลัสและเรขาคณิตวิเคราะห์ 3 จำนวน 19 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 3 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 30 ข้อและแบบวัดความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องเส้นโค้งและพื้นผิว โดยใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาจำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้สถิติทดสอบที่กรณีประชากรสองกลุ่มไม่เป็นอิสระกัน วิเคราะห์ความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1. ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องเส้นโค้งและพื้นผิว โดยใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ได้ค่า เท่ากับ 72.98/70.88 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 65/65 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องเส้นโค้งและพื้นผิว โดยใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผู้เรียนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องเส้นโค้งและพื้นผิว โดยใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาอยู่ในระดับมาก

บรรณานุกรม

กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อรุณการพิมพ์, 2548. กิตติพร อาจวิชัย. “การพัฒนาบทเรียนปฎิบัติการโดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) เรื่องพาราโบลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.” วิทยานิพนธ์ครุ ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2554. ชมเดือน กองจันทร์. “การใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่สร้างเสริมมโนทัศน์ทางเรขาคณิต เรื่องรูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2553. บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก, 2545. ปรีชา เนาว์เย็นผล. การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ การพัฒนาทักษะการคิดคำนวณของนักเรียนระดับประถมศึกษา สมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537. __________. “กิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยการแก้ปัญหาปลายเปิด.” วิทยานิพนธ์ปริญญา ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2544. ปิลันธนา วงศ์กองแก้ว. “การสร้างชุดกิจกรรมฝึกทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ทฤษฎีการแก้ปัญหาของโพลยาและทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง.” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 2554. รัศมี ธัญน้อม. “การพัฒนาชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่อง การวัดค่ากลางของข้อมูลโดยใช้ กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพิชัย.” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 2554. วัชรสันต์ อินธิสาร. “ผลการพัฒนามโนทัศน์ทางเรขาคณิตและเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้ The Geometer’s Sketchpad.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. คู่มือแนะนำการใช้งาน The Geometer’s Sketchpad ซอฟต์แวร์สำรวจเชิงคณิตศาสตร์ เรขาคณิตพลวัติ. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2548. __________. เรียนรู้การใช้งานเบื้องต้น THE GEOMETER’S SKETCHPAD ซอฟต์แวร์สำรวจเชิงคณิตศาสตร์ เรขาคณิตพลวัติ. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2549ก. สมจิตร บุญเทียม. “การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้ เรื่องภาคตัดกรวย โดยใช้โปรแกรมจีเอสพี (The Geometer’s Sketchpad Program : GSP).” วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาวิทยาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2553. สุนิตย์ สัจจา. “การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหาการบวกและการลบตามแนวคิดของโพลยาโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโนนเกษตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคามเขต 1.” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2554. อรทัย ทองน้อย. “การพัฒนากิจกรรมการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ตามขั้นตอนของโพลยา โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่องบทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2553. อัมพร ม้าคะนอง. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553. Galindo, Enrique. “Assessing Justification and Proof in Geometry Classes Taught Using Dynamic Software.” The Mathematics Teacher, 2002. NCTM. Curriculum and Evaluation Standard for School Mathematics. New York: National Council of Teachers of Mathematics, 1988. Polya George. Mathematics Discovery : On Understanding, Learning and Teaching Problem Solving. New York: Wiley, 1957 ________. How to solve it : a new aspect of mathematical method. 2nd ed. Princeton, N.J.: Princeton Univ.Pr, 1973.

หน่วยงานการอ้างอิง

มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

ไฟล์แนบ

pdf บทความวิจัยไพรัชช์

ขนาดไฟล์ 528 KB | จำนวนดาวน์โหลด 880 ครั้ง

ความคิดเห็น