ผู้วิจัย
ผกามาศ มูลวันดี
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรมในการคำนวณต้นทุนการผลิตนักเรียน และเปรียบเทียบต้นทุนระหว่างระบบต้นทุนแบบดั้งเดิมและระบบต้นทุนฐานกิจกรรมของวิทยาลัยการอาชีพในเขตภาคเหนือ โดยคำนวณหาต้นทุนการผลิตนักเรียนต่อคน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนตั้งแต่ปีที่ 1 จนจบการศึกษาชั้นปีสุดท้าย ระดับ ปวช. จำนวน 751 คน และ ปวส. จำนวน 300 คน รวมทั้งสิ้น 1,051 คน โดยใช้ข้อมูลย้อนหลังระหว่างปีการศึกษา 2554 - 2556 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา เพื่อบรรยายลักษณะของข้อมูลต้นทุน ประกอบด้วย ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า 1) ต้นทุนการผลิตนักเรียนของวิทยาลัยการอาชีพในเขตภาคเหนือในระดับ ปวช. ซึ่งมีต้นทุนการผลิตนักเรียนต่อคนโดยเฉลี่ยตั้งแต่แรกเข้าจนสำเร็จการศึกษา ดังนี้ สาขางานอิเล็กทรอนิกส์มีต้นทุนการผลิตนักเรียนต่อคนเท่ากับ 46,810.48 บาท สาขางานการบัญชีมีต้นทุนการผลิตนักเรียนต่อคนเท่ากับ 30,487.85 บาท สาขางานไฟฟ้ากำลังมีต้นทุน การผลิตนักเรียนต่อคนเท่ากับ 26,743.80 บาท สาขางานยานยนต์มีต้นทุนการผลิตนักเรียนต่อคนเท่ากับ 21,481.97 บาท และสาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจมีต้นทุนการผลิตนักเรียนต่อคนเท่ากับ 19,402.50 บาท ตามลำดับ และต้นทุนการผลิตนักเรียนของวิทยาลัยการอาชีพในเขตภาคเหนือในระดับ ปวส. ซึ่งมีต้นทุนการผลิตนักเรียนต่อคนโดยเฉลี่ยตั้งแต่แรกเข้าจนสำเร็จการศึกษา ดังนี้ สาขางานติดตั้งไฟฟ้ามีต้นทุนการผลิตนักเรียนต่อคนเท่ากับ 142,861.00 บาท สาขางานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรมมีต้นทุนการผลิตนักเรียนต่อคนเท่ากับ 108,615.14 บาท สาขางานการบัญชีมีต้นทุนการผลิตนักเรียนต่อคนเท่ากับ 64,691.05 บาท สาขางานเทคนิคยานยนต์ มีต้นทุนการผลิตนักเรียน ต่อคนเท่ากับ 62,392.10 บาท และสาขางานพัฒนาเว็บเพจมีต้นทุนการผลิตนักเรียนต่อคนเท่ากับ 52,200.35 บาท ตามลำดับ และ 2) ต้นทุนการผลิตนักเรียนในระดับ ปวช. ของวิทยาลัยการอาชีพในเขตภาคเหนือระบบต้นทุนแบบดั้งเดิม สูงกว่า ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 9.65 และต้นทุนการผลิตนักเรียนในระดับ ปวส. ของวิทยาลัยการอาชีพในเขตภาคเหนือระบบต้นทุนแบบดั้งเดิมสูงกว่า ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 35.29
บรรณานุกรม
ชูศรี เที้ยศิริเพชร. (2546). แนวทางการจัดทำต้นทุนกิจกรรมของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. รายงานการวิจัย. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บงกช อนังคพันธ์. (2551). “การประยุกต์ใช้ต้นทุนฐานกิจกรรมในการคำนวณต้นทุนการผลิต นักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ”. Princess of Naradhiwas University Journal. 1(3) : 33-47. ปรานอม บัวบานศรี. (2546). การประยุกต์ใช้ต้นทุนกิจกรรมในสถาบันศึกษาเอกชน : กรณีศึกษา โรงเรียนเทคโนโลยีเอเชีย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ บช.ม. (การบัญชี). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. พระราชกฤษฎีกา. (2556). หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://library2.parliament.go.th/library/content_law/30.pdf. (สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2558). วรศักดิ์ ทุมานนท์. (2547). การประยุกต์ต้นทุนฐานกิจกรรมกับสถานบันการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อัจฉรา กลิ่นจันทร์. (2550). การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. รายงานการวิจัย. เพชรบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
ความคิดเห็น