บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ – สสส. (2560). EF ทักษะสมองเพื่อจัดการชีวิต ให้สำเร็จ. กรุงเทพมหานคร : บริษัท โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ (1987) จำกัด.

หน่วยงานการอ้างอิง

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

 

กิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยกับEF

โดย ผศ.ดร.วราลี  โกศัย

ความหมายของคำว่า “กิจกรรมสร้างสรรค์” เป็นกิจกรรมที่ช่วยเด็กให้แสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ โดยใช้ศิลปะ เช่นการเขียนภาพ การปั้น    การฉีก – ปะ การตัด – ปะ การพิมพ์ภาพ การร้อย การประดิษฐ์ หรือวิธีการอื่นที่เด็กได้คิดสร้างสรรค์และเหมาะกับพัฒนาการ เช่น การสร้างรูปจากกระดานปักหมุด และในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (2560 : 28 – 33) มีการเพิ่มเติมรายละเอียดที่มีความสอดคล้องกับกิจกรรมสร้างสรรค์ ยกตัวอย่าง เช่น มาตรฐานที่ 2 กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว และประสานสัมพันธ์กัน ตัวบงชี้ที่ 2.2 ใช้มือ – ตา ประสานสัมพันธ์กัน สภาพที่พึงประสงค์ ยกตัวอย่าง เช่น เด็กปฐมวัยอายุ 4 – 5 ปี  2.2.1 ใช้กรรไกรตัดกระดาษตามแนวเส้นตรงได้  2.2.2 เขียนรูปสี่เหลี่ยมตามแบบได้อย่างมีมุมชัดเจน 2.2.3 ร้อยวัสดุที่มีรู ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตรได้ มาตรฐานที่ 4  ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว ตัวบงชี้  4.1 สนใจ มีความสุขและแสดงออก ผ่านงานศิลปะ ดนตรี และ การเคลื่อนไหว สภาพที่พึงประสงค์ ยกตัวอย่าง เช่น เด็กปฐมวัยอายุ 4 – 5 ปี  4.1.1 สนใจ มีความสุข และแสดงออกผ่านงานศิลปะ มาตรฐานที่ 11 มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์  ตัวบ่งชี้  11.1   ทำงานศิลปะตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ สภาพที่พึงประสงค์ ยกตัวอย่าง เช่น เด็กปฐมวัยอายุ 4 – 5 ปี  11.1.1 สร้างผลงานศิลปะเพื่อสื่อสารความคิด ความรู้สึกของตนเอง โดยมีการดัดแปลงและแปลกใหม่จากเดิมหรือมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น  สำหรับเด็กปฐมวัยแล้วกิจกรรมสร้างสรรค์สามารถพัฒนาทักษะ EF หรือการพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ  คือ   คิดเป็น  ทำเป็น  เรียนรู้เป็น  แก้ปัญหาเป็น  อยู่กับคนอื่นเป็น  และมีความสุขเป็น ได้

ดังนั้นความหมายของคำว่า “EF” คือชุดกระบวนการทางความคิดที่ช่วยให้เราวางแผน มุ่งใจจดจ่อ จำคำสั่ง และจัดการกับงานหลายๆ อย่างให้ลุล่วง จัดลำดับความสำคัญของงานวางเป้าหมายและทำเป็นขั้นตอนจนสำเร็จ รวมทั้งควบคุมแรงอยาก แรงกระตุ้นทั้งหลาย ไม่ออกนอกลู่นอกทาง กระบวนการของกิจกรรมสร้างสรรค์ที่จะทำให้เด็กปฐมวัยมีโอกาสได้พัฒนาทักษะ EF มีดังนี้ ข้อที่ 1คิด คือ เปิดโอกาสให้เด็กปฐมวัยได้คิดอิสระ ได้ตั้งคำถาม – หาคำตอบ  ได้จินตนาการ ได้ตัดสินใจ  ได้ฝึกวิเคราะห์  ได้ฝึกคาดการณ์  ข้อที่ 2 ทำ คือ ให้เด็กปฐมวัยได้ลงมือทำ  ได้พึ่งตัวเอง  ได้เล่นอิสระ  และได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง  ข้อที่ 3 วางแผน คือ ให้เด็กปฐมวัยได้ฝึกวางแผนงาน  ได้ฝึกจัดระบบ  ได้ฝึกจัดการเวลา  และได้ฝึกจัดลำดับความสำคัญ  ข้อที่ 4 ท้าทาย  คือ  ฝึกให้เด็กปฐมวัยมีความกล้าริเริ่ม  ได้ความท้าทาย  ได้ลองผิดลองถูก และฝึกแก้ปัญหา  ข้อที่ 5 ทบทวน  คือ ฝึกให้เด็กปฐมวัยรู้จักที่จะทบทวนประสบการณ์  และได้สรุปบทเรียน

สำหรับเด็กปฐมวัยแล้วกิจกรรมศิลปะสามารถพัฒนาทักษะ EF หรือการพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ  คือ   คิดเป็น  ทำเป็น  เรียนรู้เป็น  แก้ปัญหาเป็น  อยู่กับคนอื่นเป็น  และมีความสุขเป็นได้

 

 

ความคิดเห็น