ผู้วิจัย

ปัทมาวดี วงษ์เกิด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณที่ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณค่าตราสินค้าสโมสรบุรีรัมย์ยูไนเต็ดของผู้บริโภค ซึ่งได้แก่ (1) การตระหนักรู้ตราสินค้า (Brand awareness) ด้านการจดจำตราสินค้าได้ (Brand recognition) (2) ภาพลักษณ์ตราสินค้า (Brand image) ได้แก่ ความแข็งแกร่ง (Strength) ความน่าชื่นชอบ (Favorability) ความโดดเด่น (Uniqueness) และการรับรู้ถึงคุณภาพของการบริการ (Perception of Service Quality) โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพศชายและเพศหญิง อายุ 15-45 ปี จำนวน 400 คน ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดอื่นๆ ผลการวิจัยพบว่า เมื่อวัดคุณค่าตราสินค้าสโมสรบุรีรัมย์ยูไนเต็ดทั้ง 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การตระหนักรู้ตราสินค้า ภาพลักษณ์ตราสินค้า และการรับรู้ถึงคุณภาพของการบริการ พบว่า คุณค่าตราสินค้าสโมสรบุรีรัมย์ยูไนเต็ดของผู้บริโภคที่อาศัยในจังหวัดบุรีรัมย์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.69 และผู้ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอื่นๆ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.64 ซึ่งค่าเฉลี่ยของผู้บริโภคทั้งสองกลุ่มรับรู้คุณค่าตราสินค้า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยแสดงให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มถึงแม้จะอยู่คนละพื้นที่ระดับคุณค่าตราสโมสรบุรีรัมย์ยูไนเต็ดไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ผู้วิจัยได้ตั้งไว้ว่า ระดับคุณค่าตราระดับคุณค่าตราสินค้าสโมสรบุรีรัมย์ยูไนเต็ดของผู้บริโภคในจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดอื่นๆมีความแตกต่างกัน

บรรณานุกรม

กิตติคุณ บุญเกตุ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อผลิตภัฑ์สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ของผู้บริโภค ในจังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิต พัฒนาบริหารศาสตร์ กระทรวงอุตสาหกรรม. (2556). ศึกษาบทวิเคราะห์สภาวะทางเศรษฐกิจของ จ.บุรีรัมย์. วันเข้าถึง ข้อมูล 15 มกราคม 2561, แหล่งที่มา http://thaipublica.org ชุลีรัตน์ บรรณเกียรติกุล. (2544). การวัดคุณค่าตราสินค้าในธุรกิจบริการ. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการโฆษณา ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ชัยวัฒน์ ชลานันต์. (2557). อิทธิพลภาพลักษณ์สโมสรฟุตบอลและความนิยมในภาพลักษณ์นักกีฬา ฟุตบอลที่มีชื่อเสียง. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. ณิชชา โชคพิทักษ์กุล. (2557). การวัดคุณค่าตราสินค้าของผู้บริโภคในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อม. หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บุรีรัมย์ยูไนเต็ด. (2555). ประวัติความเป็นมาของสโมสรบุรีรัมย์ยูไนเต็ด. วันเข้าถึงข้อมูล 15 มกราคม 2561, แหล่งที่มา https://www.buriramunited.com/home ปัญญเดช พันธุวัฒน์, และคณะ. (2551). ทัศนคติของบุคลากรต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. ปุณยนุช รัตนสุดใส. (2557). คุณค่าตราสินค้าของรถยนต์ยี่ห้อฟอร์ดในมุมมองของผู้บริโภคในเขต กรุงเทพมหานคร. หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี. พอดี สุขพันธ์. (2558). กลยุทธ์การสร้างคุณค่าแบรนด์สโมสรฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเซีย. โพสต์ทูเดย์. (2557). "แฟนบอลตีกัน" ความรุนแรงนอกสนามสู่วาระแห่งชาติ. วันเข้าถึงข้อมูล 15 มกราคม 2561, แหล่งที่มา http://www.posttoday.com ภัทรภร เฉลยจรรยา. (2558). การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม ด้านสุขาภิบาลอาหารของ ผู้สัมผัสอาหารที่ได้รับการอบรมสุขาภิบาลอาหารของมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ. มหาวิทยาลัยศิลปากร. ภัสราพร รัตนชาติ. (2557). รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ การบริหารการพัฒนา สังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร ประจำปี 2559 คุณภาพชีวิตและความมั่นคงในอาชีพของ นักฟุตบอลไทย. นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. รัฐชาติ ทัศนัย. (2559). บทบาทของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ยูไนเต็ดในการพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์และธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยชินวัตร. ศศิน มะกูรดี. (2559). รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ การบริหารการพัฒนาสังคม และยุทธศาสตร์การบริหาร ประจำปี 2559 คุณภาพชีวิตและความมั่นคงในอาชีพของนัก ฟุตบอลไทย. นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม คณะพัฒนา สังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2559). ออกบทวิเคราะห์เรื่อง ความนิยมในกีฬาฟุตบอลของไทย:กับบทบาทใน กิจกรรมเศรษฐกิจของประเทศ. วันเข้าถึงข้อมูล 15 มกราคม 2561, แหล่งที่มา http://www.thansettakij.com สาวิณีย์ พลเยี่ยม. (2558). บทบาทของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ยูไนเต็ดกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว จังหวัด บุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวและ โรงแรมมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สรสิทธิ์ เภตรา. (2555). ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการขยายเขตพื้นที่ลงทะเลบริเวณ อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี. หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ การเมืองและการบริการจัดการ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. (ม.ป.ป.). พัฒนาการสื่อใหม่ (New Media): อิทธิพลภาษาดิจิตอลต่อรูปแบบ การสื่อสารของมนุษยชาติและผลกระทบต่อจริยธรรมสื่อ. วันเข้าถึงข้อมูล 12 ,มกราคม 2561, แหล่งที่มา http://utcc2.utcc.ac.th/localuser/amsar/PDF/ สิริวรรณ ปัญญากาศ. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงในสื่อเกมออนไลน์กับพฤติกรรม ก้าวร้าวของเด็กวัยรุ่นตอนปลายในจังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. Henry Mintzberg. (1989). Mintzberg on management. Mintzberg’s Management Role. Reprinted by permissionmof Free Press, a division of Simon & Schuster, Inc. Keller, K.L. (2009). Building strong brands in a modern marketing communications environment. journal of Marketing Communications Tuck school of Business Dartmouth college. Keller, K.L. (2013). Strategic Brand Management Building, Measuring, and Managing Brand Equity. Tuck School of Business Dartmouth College. Michael R. Solomon. (2015). Consumer Behavior. saint joseph University.

ความคิดเห็น