การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์      ทักษะการออกแบบเชิงวิศวกรรม ความพึงพอใจและทัศนคติต่อการจัดการเรียนรู้ของของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ (The Effect of Learning Management according to the STEM Educational Approach on Scientific Creativity, Engineering Design Skills, Satisfaction with Learning Management, and Attitude towards Learning Activities for Pre-service Science Teachers)

ฐิติชญา ศรีไกรรัตน์, รุ่งจิตต์ จันเต, วราภรณ์ ผลไม้ และเทพพร โลมารักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ความรู้ความเข้าใจและทักษะการออกแบบเชิงวิศวกรรมและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์จำนวน 30 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ระยะเวลาในการวิจัย 12 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง Smart farm แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจของวิทยาการคำนวณ แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์  แบบสำรวจทัศนคติต่อการจัดการเรียนรู้ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้  แบบวัดและประเมินผลการประกวด Smart farm และแบบบันทึกภาคสนามของผู้วิจัย สำหรับแบบแผนในการทดลองครั้งนี้ได้ใช้การทดลองแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest-Posttest Design) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test Dependent Group)

ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษามีความรู้ความเข้าใจและทักษะการออกแบบเชิงวิศวกรรม ความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 มีทัศนคติต่อการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาอยู่ในระดับมาก และมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ: กิจกรรมสะเต็มศึกษา ทักษะการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ทักษะการออกแบบเชิงวิศวกรรม

Abstract

The purpose of this research is to study the effect of learning management according to the STEM educational approach that affects scientific creativity, knowledge and engineering design skills, and satisfaction with the learning management of the 3rd year students. The participants in this research consisted of thirty 3rd year students who in general science program, Faculty of Education Buriram Rajabhat University, which were obtained by simple random sampling. The research instruments consisted of the learning management plans based on the STEM Smart Farm concept, knowledge and understanding of computational science, creativity test, survey of attitude towards learning management, questionnaire for satisfaction with learning management, the test and evaluation form for the Smart farm contest, and the observational form. One group Pretest-Posttest Design was used to analyze the data by analyzing the mean value. Standard deviation and t-test dependent sample was used to test hypothesis. The result shows that students who participated in STEM activity have knowledge and understanding of engineering design skills at high level. The creative thinking after studying was significantly higher than before at level of 0.05, with the attitude towards learning according to the STEM activity at high level, and with the satisfaction toward learning STEM at a highest level.

Keywords: STEM Educational, Scientific Creativity, STEM Activities, Smart Farm

ไฟล์แนบ

doc 11บทความวิจัย The Effect of Learning Management according to the STEM

ขนาดไฟล์ 122 KB | จำนวนดาวน์โหลด 112 ครั้ง

ความคิดเห็น