บทคัดย่อ

การศึกษาความหลากหลายชนิดของพันธุ์ไม้พื้นที่วัดป่าเขาน้อย อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ดำเนินการศึกษาโดยวางแปลงตัวอย่างแบบแบ่งเป็นชั้น ขนาด 40×40, 10×10, 4×4 และ 1×1 เมตร บริเวณพื้นที่ป่าสมบูรณ์ ป่าสมบูรณ์ปานกลาง และป่าไม่สมบูรณ์ ผลการศึกษาพบว่า วัดป่าเขาน้อยพบพันธุ์ไม้ทั้งหมด 38 วงศ์ 58 ชนิด โดยจำแนกเป็นไม้ยืนต้น 17 วงศ์ 20 ชนิด ไม้หนุ่ม 22 วงศ์ 29 ชนิด และกล้าไม้ 34 วงศ์ 43 ชนิด พันธุ์ไม้ที่มียางที่สามารถเคลือบเครื่องจักสานได้ 6 ชนิด ได้แก่ เต็ง มีค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ร้อยละ 20 ความถี่สัมพัทธ์ร้อยละ 19.35 ความเด่นสัมพัทธ์ร้อยละ 23.15 และดัชนีความสำคัญร้อยละ 62.93  รังมีค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ร้อยละ 15.48 ความถี่สัมพัทธ์ร้อยละ 9.67 ความเด่นสัมพัทธ์ร้อยละ 20.46 และดัชนีความสำคัญร้อยละ 45.99 ประดู่มีค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ร้อยละ 5.80 ความถี่สัมพัทธ์ร้อยละ 2.41 ความเด่นสัมพัทธ์ร้อยละ 3.89 และดัชนีความสำคัญร้อยละ 12.20 ซ่านมีค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ร้อยละ 0.39 ความถี่สัมพัทธ์ร้อยละ 0.78 ความเด่นสัมพัทธ์ร้อยละ 0.20 และดัชนีความสำคัญร้อยละ 1.38 มะกอกเกลื้อน มีค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ร้อยละ 1.93 ความถี่สัมพัทธ์ร้อยละ 0.80 ความเด่นสัมพัทธ์ร้อยละ 0.20 และดัชนีความสำคัญร้อยละ 2.96 มะม่วงหัวแมลงวันมีค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ร้อยละ 6.45 ความถี่สัมพัทธ์ร้อยละ 9.67 ความเด่นสัมพัทธ์ร้อยละ 3.86 และดัชนีความสำคัญร้อยละ 20.08 ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทำข้อมูลเบื้องต้นในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ในวัดป่าเขาน้อยอย่างยั่งยืนต่อไป

อ่านฉบับเต็ม ความหลากชนิดของพันธุ์ไม้วัดป่าเขาน้อย อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ความคิดเห็น