ผู้วิจัย
นฤมล จิตต์หาญ ชลาลัย วงศ์อารีย์ เสาวรัตน์ ทศศะ ภูวนัย กาฬวงศ์ นพรัตน์ บรรณาลัย
บรรณานุกรม
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. (2554). ประเพณีสงกรานต์. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. ปรานี วงษ์เทศ. (2525). พื้นบ้านพื้นเมือง. กรุงเทพมหานคร : เจ้าพระยา. ปิ่นเกศ วัชรปาณ. (2559). นาฏศิลป์พื้นเมือง. อุดรธาณี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธาณี. สำนักงานจังหวัดสุรินทร์. (2556). ประวัติจังเมืองสุรินทร์. สุรินทร์ : รุ่งธนเกียรติออฟเซ็ท. สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2558). โสวัฒนธรรมอีสาน. เชียงใหม่ : บลูมมิ่งครีเอชั่น. สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2559). สาดน้ำสงกรานต์วัฒนธรรมร่วมรากเอเชีย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. อัษฎางค์ ชมดี. (2558). ประวัติศาสตร์การปกครองจังหวัดสุรินทร์. สุรินทร์ : สำนักงาน จังหวัดสุรินทร์. อาหมัดอัลซารีย์ มูเก็ม. (2559). ประเพณีพิธีกรรมความเชื่อที่มีความสัมพันธ์ต่อวิถีชีวิตของชน กลุ่มชาติพันธุ์เขมรบนพื้นที่บ้านจารย์ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
แนวคิดในการสร้างสรรค์งาน
วัฒนธรรมไทยถือเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างช้านาน ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมของบุคคล วัฒนธรรมความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ การอุปโภคบริโภค การดำรงชีวิต ความเชื่อ ขนมธรรมเนียมและประเพณี ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดจากการวางกฎระเบียบของคนในสังคม ให้ถือปฏิบัติร่วมกันสืบต่อกันมา จนก่อให้เกิดเป็นสัญลักษณ์ประจำท้องถิ่น อาทิเช่น ประเพณีเซ่นผีปะกำ ประเพณีแห่บวชนาคแห่ช้าง ประเพณีแซนแซร เป็นต้น นอกจากนี้ยังปรากฏวัฒนธรรมทางด้าน การร้องรำทำเพลง การแสดงพื้นบ้านเพื่อสร้างความเป็นท้องถิ่นที่สมบูรณ์ สื่อให้เห็นถึงความเจริญงอกงามของคนในสังคมไทยด้านต่างๆ ในท้องถิ่นนั้น ทำให้เกิดเอกลักษณ์ความเป็นไทยและเป็นมรดกที่เป็นความภาคภูมิใจแสดงถึงเกียรติภูมิศักดิ์ศรี อีกทั้งยังเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตของคนไทยเป็นเครื่องวัดความเจริญและความเสื่อมของสังคม ซึ่งมีผลต่อความก้าวหน้าของประเทศไทยในอนาคต นอกจากนี้วัฒนธรรมยังรวมไปถึงวิถีชีวิต ความเชื่อ พิธีกรรม ซึ่งเป็นบ่อเกิดของประเพณีอีกด้วย
ประเพณีเป็นพฤติกรรมทางสังคมของคนไทย ซึ่งได้รับมรดกตกทอดมาแต่ดั้งเดิมสามารถเห็นได้ในทุกภาคของประเทศไทย มีลักษณะคล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกันตามแต่ภูมิภาค ประเพณีและวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่กลุ่มชนในสังคมร่วมกันสร้างขึ้น ซึ่งประเพณีเป็นวัฒนธรรมที่มีเงื่อนไขที่ค่อนข้างชัดเจน กล่าวคือ เป็นสิ่งที่สังคมในสมัยก่อนสร้างขึ้นเพื่อเป็นมรดกของคนรุ่นหลังที่จะต้องรับไว้ สืบสานและปรับปรุงแก้ไขพัฒนาให้เข้ากับยุคปัจจุบันให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป รวมทั้งมีการเผยแพร่แก่คน ในสังคมอื่นๆ ด้วย ประเทศไทยมีการแบ่งประเพณีและวัฒนธรรมตามสภาพทางภูมิศาสตร์ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ภาษา และวัฒนธรรม โดยแบ่งออกเป็น 4 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ประเพณีทางภาคเหนือที่ทุกคนรู้จักดี เช่น ประเพณียี่เป็ง ประเพณีโคมลอย ประเพณีปอยหลวง ประเพณีตานก๋วยสลาก เป็นต้น ภาคกลาง ประชาชนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเพาะปลูก ด้านวัฒนธรรมจึงเป็นการสืบเนื่องจากการทำเกษตรกรรมแทบทั้งสิ้น เช่น การลงแขกทำนา การบูชาแม่โพสพและการลงแขกเกี่ยวข้าว นอกจากนี้ยังมีการเล่นเพลงพื้นบ้าน ซึ่งนิยมแสดงหลังการเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตรเสร็จสิ้นแล้ว เช่น เต้นกำรำเคียว เพลงเกี่ยวข้าว รำชาวนา เพลงเรือ เพลงฉ่อยและเพลงอีแซว เป็นต้น ภาคใต้ มีวัฒนธรรมที่มีการผสมผสานระหว่างไทยกับมาลายู และวัฒนธรรมทีเกี่ยวกับน้ำ เช่น ประเพณีชักพระ ประเพณีอุ้มพระดำน้ำและประเพณีลอยเรือ เป็นต้น ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน เป็นภาคที่มีเนื้อที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ อีสานเหนือและอีสานใต้ซึ่งมีลักษณะวัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่มีความแตกต่างกัน อีสานเหนือ มีกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ได้แก่ ชาวไทยอีสาน ภูไท ไทข่า ไทกะโส้ ไทกะเลิง ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยลาว และภูไท ประเพณีของอีสานเหนือ ได้แก่ ไหลเรือไฟ ประเพณีบุญแห่ปราสาทผึ้ง ประเพณีผูกเสี่ยว ประเพณีบุญเบิกฟ้า เป็นต้น ส่วนอีสานใต้ พื้นที่เหล่านี้มีชุมชนโบราณที่หนาแน่นที่สุด เป็นพื้นที่ที่มีอิทธิพลของวัฒนธรรมขอมแทรกกระจายอยู่อย่างหนาแน่น ประเพณีของอีสานใต้ ได้แก่ ประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง ประเพณีเลี้ยงผี เป็นต้น
จังหวัดสุรินทร์ เป็นหนึ่งในจังหวัดชายแดนของภาคอีสานตอนล่าง หรืออีสานใต้ ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานจังหวัดหนึ่ง จังหวัดสุรินทร์แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ ชาวกวย ชาวเขมร และชาวลาว ที่อยู่ร่วมกันอย่างผสมกลมกลืนมานับหลายร้อยปี มีความเชื่อและพิธีกรรม เช่น ประเพณีโกนจุก ประเพณีแต่งงาน ประเพณีบุญวันสารท(แซนโดนตา) และประเพณีสงกรานต์ เป็นต้น (สำนักงานจังหวัดสุรินทร์. 2556)
ประเพณีสงกรานต์ของจังหวัดสุรินทร์ ที่ยังมีวิถีความเชื่อ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร คือ ประเพณีสงกรานต์ของชาวบ้านปรือ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ที่จัดขึ้นตามความเชื่อคตินิยมของตนเองที่ได้สืบต่อกันมาช้านาน เป็นพิธีกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ ถือว่าเป็นประเพณีหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาโดยตรง โดยเชื่อมโยงประเพณีนี้เข้ากับคติความเชื่อเรื่องเวรกรรมในพระพุทธศาสนา มีการก่อพระเจดีย์ทรายถวายวัด เพื่อนำเศษดินทรายที่ติดเท้าออกจากวัดไป กลับมาคืนวัดในรูปของพระเจดีย์ทราย ถวายเป็นพุทธบูชาให้เป็นกุศลอานิสงส์ ถือเป็นกุศโลบายของคนในอดีต ให้มีการรวมตัวกันของคนในชุมชน เพื่อร่วมกันจัดประเพณีขึ้น เกิดความสามัคคีของคนในชุมชน ตามแบบวัฒนธรรมของไทยเขมร จังหวัดสุรินทร์ จึงเกิดจุดเด่น ที่มีลักษณะเฉพาะพื้นที่ (สำรวม ดีสม. 2562 : สัมภาษณ์)
จากความสำคัญดังกล่าว ผู้สร้างสรรค์จึงมีความสนใจที่จะศึกษาพิธีขอดินในประเพณีสงกรานต์ของชาวบ้านปรือ ตำบลปรือ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เพื่อนำมาเป็นแนวคิดในการนำเสนอและคิดสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง ชุด แฮฮอมจูนกซัจ โดยประดิษฐ์ท่ารำเพื่อนำเสนอพิธีขอดินและกระบวนการแห่ดินทรายจากทั้ง 4 ทิศ จากนั้นทำพิธีขอขมาดิน และร่วมกันแห่ดินที่ได้เข้าวัดเพื่อนำไปก่อเจดีย์ทราย โดยมีความเชื่อที่มีต่อพระพุทธศาสนาในเรื่องของผลบุญ ที่ได้จากอานิสงส์จากการบวชพระ เพื่อสร้างบุญกุศลให้พระแม่ธรณี ตามความเชื่อของชาวบ้านปรือ ที่นับถือพระแม่ธรณี โดยถือว่าแผ่นดินเป็นสิ่งค้ำจุนสรรพสิ่งทั้งปวงในโลก เปรียบเสมือนมารดาผู้ให้กำเนิดและหล่อเลี้ยงชีวิตบนโลก จากนั้นนำมาสร้างสรรค์เป็นท่ารำโดยยึดถือตามแบบแผนของนาฏศิลป์ไทย ออกแบบเครื่องแต่งกาย องค์ประกอบของการแสดงให้มีความสอดคล้องกับลักษณะของการแสดง เหมาะสมกับพื้นที่ในการศึกษา เรียบเรียงทำนองเพลงตามความเหมาะสมกับรูปแบบการแสดง ซึ่งเป็นการอนุรักษ์สืบสานพิธีขอขมาดิน และเผยแพร่งานสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์พื้นเมือง เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่และอนุรักษ์ให้คงอยู่ต่อไป
วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของพิธีขอดิน บ้านปรือ ตำบลปรือ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
- เพื่อนำแนวทางจากการศึกษาจากพิธีขอดินมาสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง ชุด แฮฮอมจูนกซัจ
- เพื่อเผยแพร่และสืบสานผลงานทางด้านนาฏศิลป์พื้นเมือง ชุดแฮฮอมจูนกซัจ ให้คงอยู่ต่อไป
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
ศึกษาความเป็นมาของพิธีขอดิน ในประเพณีบุญเดือนห้า ของชาวบ้านปรือ ตำบลปรือ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
เกิดชุดการแสดงสร้างสรรค์นาฏศิลป์พื้นเมือง ชุด แฮฮอมจูนกซัจ โดยนำข้อมูลเกี่ยวกับพิธีการขอขมาดิน ขบวนแห่ดินทรายไปรวมกันที่วัด เพื่อทำพิธีการขอขมาพระแม่ธรณีของชาวบ้านปรือ ตำบลปรือ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ที่มีเอกลักษณ์ของการขอดินทั้ง 4 ทิศกำหนดรูปแบบการแสดง ออกแบบการแต่งกายและเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง นำมาผสมผสานเป็นรูปแบบการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง
นิยามศัพท์เฉพาะ
แฮฮอม อ่านว่า แฮ- ฮอม หมายถึง การร่วมกัน การมารวมกัน
จูน อ่านว่า จูน หมายถึง ขน แบกหามสิ่งต่างๆ
กซัจ อ่านว่า กะ-ซัด หมายถึง ทราย ดินทราย
รูปแบบหรือขั้นตอนในการแสดง โดยแบ่งการแสดงออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่
ช่วงที่ 1 การหาดิน หนุ่มสาวชาวไทยเขมรเดินทางไปขอดินที่กลางทุ่ง
ช่วงที่ 2 การขอขมาดิน แสดงออกถึงการทำพิธีขอดินจากเทวดาประจำทิศ
ช่วงที่ 3 ขบวนแห่ดิน แสดงออกถึงขบวนแห่ดินที่จะนำไปก่อเจดีย์ทราย
องค์ประกอบในการแสดง
ดนตรีและการวางเพลงในการประกอบการแสดง
ดนตรีประกอบการแสดง
ใช้วงดนตรีกันตรึมในการบรรเลง ประกอบด้วย ซอกันตรึม กลองกันตรึม ปี่อ้อ ฉิ่ง และกรับคู่ สร้างสรรค์ทำนองเพลงใหม่ให้คงความเป็นเอกลักษณ์ของรูปแบบดนตรีกันตรึม ส่วนเนื้อเพลงเป็นการแต่งเนื้อร้องขึ้นมาใหม่ โดยมีเนื้อหากล่าวถึง ประวัติความเป็นมาของพิธีขอดิน รวมถึงขั้นตอนต่างๆในการขอดินจนสิ้นสุดพิธี ด้วยภาษาเขมรผสมกับภาษาไทย
การวางทำนองเพลง
เนื้อเพลง แฮฮอมจูนกซัจ
แมอ็อวตาแย้ยบองปะโอนอย ประพณีอันจูนกชัจ มีมาแต่โบราณ
หนอแด แจ้ด โจลชนำวันสงกรานต์ เราลูกหลานอันเชิญพระแม่ธรณี เอ๋อ
หนอกันเลาะกระมมจะตุมแกมญ กมางแญคลูน เลียบมะเซาเปี๊ยเอาปกา
กันเปียนปตือลสตรตัญญูลออหนา ปรวมจ็ดชมชมา อัน เจืญแม่
ธรณีครบทุกทิศาหวือพนมกชัจ คอยศัทธากวือบ็อนโจลชนำแทม็ย เอ่อ
ทำนองเพลง ไมเน้อ
โม เนอ โม เน้อกันเลอะกระมม ตู้จกม เรียล คะ เนีย
เยือง เต็วบูเจียชมซมาอันจีนจูนกซัจ เปรียฮ แมธรณี กรบตึฮ
ละออซร็องซร้จติวอันจูนกชัจ หวือบ็อนแคแจ้ดสงกรานด์
เนียงสตรตัญญูบองชมกีญสตูร พ็องปะโอนซมเทอกรือ บูน
บองชมอาซรัยบังกะไงพองหนา เนียงซมอิญอีลหะไงคะเดาปปิล
จัง โมคล้อจปชปะโอนเมียนสะแน หายื่งรมซมซมาจูนกซัจรวม คะเนีย
*แคแจ้ดสงกรานต์ปีใหม่ เราร่วมใจกันทำบุญ ทำพิธีขอคมา
แล้วอัญเชิญพระแม่ธรณีอพระจคีย์ทราย สร้างกุศลผลบุญบารมีสืบสานประเพณี
มีมาแต่โบราณให้คงอยู่ตลอด ไป
ทำนองเพลงที่ใช้ในการแสดง เพลง แฮฮอมจูนกชัจ
จังหวะกลอง
– – – – | – – – – | – – – – | – – – ทัม | – – – ป๊ะ | – ทัม – ทัม | – ป๊ะ – | – ทัม – ทัม |
– – – ป๊ะ | – ทัม – ทัม | – ป๊ะ – | – ทัม – ทัม | – – – ป๊ะ | – ทัม – ทัม | – ป๊ะ – | – ทัม – ทัม |
– – – ป๊ะ | – ทัม – ทัม | – ป๊ะ – | – ทัม – ทัม | – – – ป๊ะ | – ทัม – ทัม | – ป๊ะ – | – ทัม – ทัม |
– – – ป๊ะ | – ทัม – ทัม | – ป๊ะ – | – ทัม – ทัม | – – – ป๊ะ | – ทัม – ทัม | – ป๊ะ – | – ทัม – ทัม |
ท่อนที่ 1
– – – – | – – – – | – ซ – ล | – ซ – ท | – – – – | – – – – | – ท – ดํ | – ท – ล |
– – – – | – – – – | – ร – ม | – ซ – ล | – – – – | – – – – | – ล – ซ | – ล – ท |
– – – – | – – – – | – ซ – ล | – ซ – ท | – – – – | – – – – | – ท – ดํ | – ท – ล |
– – – – | – – – – | – ร – ม | – ซ – ล | – – – – | – – – – | – ซ – ท | – ล – ซ |
ท่อนที่ 2
– – – – | – – – – | – – – ซ | – – – ม | – – – – | – ซ – ม | – ซ – ม | – ร – ด |
– – – – | – ด – ท | – – – ด | – – – ร | – – – – | – ด – ร | – ม – ร | – ด – ท |
– – – – | – – – – | – – – ซ | – – – ม | – – – – | – ซ – ม | – ซ – ม | – ซ – ล |
– – – – | – – – – | – ร – ม | – ซ – ล | – – – – | – – – – | – ซ – ท | – ล – ซ |
ท่อนที่ 3
– – – – | – รํ – ท | – – – ท | – – – ท | – ท รํ ท | – ล – ซ | – ล – ท | – รํ – ท |
– – – ม | – – – ท | – – ล ท | รํ ท ล ท | – รํ – มํ | – รํ – ซ | – – – ล | – – รํ ท |
– – รํ ท | ล ซ – ล | – – ซ ล | – – ซ ล | – ล ซ ม | ร ม ซ ล | – ท – ล | ซ ม ซ ล |
– – – – | – – ซ ล | – – ซ ล | – – ซ ล | – ซ – ม | – ซ – ล | – รํ – ท | – ล – ซ |
ผู้แสดง
ใช้ผู้แสดงทั้งสิ้นจำนวน 16 คน แบ่งออกเป็น ผู้ชาย 8 คน ผู้หญิง 8 คน
(หมายเหตุ**ตามความเหมาะสมของสถานที่แสดง)
กระบวนท่ารำ
การสร้างสรรค์การแสดง ชุด แฮฮอมจูนกซัจ คณะผู้ศึกษาได้ประดิษฐ์ท่ารำจากที่
พบเห็นการฟ้อนรำของชาวบ้านในท้องถิ่นต่างๆ ในเทศกาลงานบุญ งานประเพณีและพิธีกรรมด้วย ท่ารำที่อิสระ นอกจากนี้ยังนำเอาท่ารำจากวิถีชีวิตวัฒนธรรมความเป็นอยู่ ของชาวจังหวัดสุรินทร์ ในการประกอบอาชีพ และอริยบทในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การบังแดด การปาดเหงื่อ การนุ่งผ้า การเก็บดอกไม้ การขุดดิน การถือขัน การกางร่ม การกราบไหว้บูชา มาประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่สอดคล้องสัมพันธ์กัน
การแต่งกาย แต่งกายแบบชาวบ้านไทยเขมร ประกอบด้วย
ผู้ชาย – สวมเสื้อแขนกระบอกมีแดงเลือดหมู นุ่งผ้าโจงกระเบนลายลูกแก้วสีเขียว มีผ้าขาวม้าและผ้าลายลูกแก้วสีขาวคาดเอว สวมสร้อยเงิน
ผู้หญิง – สวมเสื้อลูกไม้สีขาว นุ่งผ้าถุงลายโฮลต่อเชิงปะโบล ทัดดอกไม้ ดอกลำดวน ใส่
เครื่องประดับเงิน ได้แก่ ต่างหู สร้อยคอ สังวาล กำไลข้อมือ
อุปกรณ์ประกอบการแสดง ได้แก่ ร่ม และขันใส่ทราย
ร่ม ในการแสดง จะใช้สำหรับกางเพื่อบังแดดในช่วงที่ 1 ตอนไปหาดิน
ขัน ในการแสดง จะใช้สำหรับใส่ดินทรายเพื่อนำไปวัด
สรุปและข้อเสนอแนะ
การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง ชุด แฮฮอมจูนกซัจ เป็นการสร้างสรรค์งานด้าน
นาฏศิลป์พื้นเมือง โดยได้แนวคิดจากพิธีขอดินของชาวบ้านปรือ ตำบลปรือ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นประเพณีที่มีความสำคัญอีกประเพณีหนึ่ง ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของชาวไทยเขมรจังหวัด-สุรินทร์ ที่มีเอกลักษณ์แห่งวิถีชีวิตของคนในชุมชน ความหลากหลายด้านเชื้อชาติศิลปวัฒนธรรม ภาษา ประเพณีและความเชื่อ ซึ่งสอดคล้องกับ วัชรา จามิกรณ์ (2562 : สัมภาษณ์) ที่กล่าวถึง ประเพณี วัฒนธรรม และความเชื่อของชาวบ้านปรือ ตำบลปรือ อำเภอ-ปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ในการนับถือพระแม่ธรณี ที่สถิต ณ ผืนแผ่นดิน ถือว่าแผ่นดินเป็นสิ่งค้ำจุนสรรพสิ่งทั้งปวงในโลก เสมือนมารดาผู้ให้กำเนิดหล่อเลี้ยงโลกและแผ่นดิน ในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี ชาวบ้านจะจัดประเพณีบุญเดือนห้าที่เรียกว่า แคแจ้ด เพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษแสดงออกถึงความเคารพ ต่อญาติผู้ใหญ่ บิดามารดา ขอขมาต่อเทพเทวาที่ได้ล่วงเกินไป และทำพิธีขอขมาพระแม่ธรณีตามประเพณีความเชื่อที่มีต่อพระพุทธศาสนา ในเรื่องของผลบุญที่ได้จากอานิสงส์ของการบวชประสาททราย เพื่อสร้างบุญกุศลให้กับพระแม่ธรณี
การสร้างสรรค์การแสดงชุด แฮฮอมจูนกซัจ เป็นการเผยแพร่ และอนุรักษ์วัฒนธรรมของท้องถิ่นให้คงอยู่ในรูปแบบของการแสดง เพื่อให้ชุมชนในท้องถิ่นได้จดจำรูปแบบของจารีตประเพณี และสานต่อวัฒนธรรม เกิดความรักในท้องถิ่นของตนเอง
ความคิดเห็น