บทคัดย่อ
ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชนส่วนใหญ่มักจะเจ็บป่วยด้วยโรคหลัก ๆ ที่สำคัญไม่กี่โรค โรคดังกล่าวอาจเรียกได้ว่า “โรควิถีชีวิต” ซึ่งมีอยู่ 5 โรคด้วยกัน ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ หลอดเลือดสมอง และมะเร็ง โรคเหล่านี้เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญระดับประเทศและระดับโลกที่นับวันจะมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ การเจ็บป่วยเรื้อรังส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยและครอบครัวหลายประการ เช่น เกิดภาวะแทรกซ้อน ความพิการ การสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา รวมทั้งการเสียชีวิตตามมา ซึ่งทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวเกิดความเครียดจากปัญหาดังกล่าวได้ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนและผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิตชุมชน มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพจิตของประชาชนให้ถูกต้อง เหมาะสม โดยการจัดโปรแกรมการสร้างเสริมพลังอำนาจร่วมกับการให้คำปรึกษาสำหรับประชาชนที่เจ็บป่วยเรื้อรังในชุมชน ข้อมูลที่นำเสนอในบทความนี้ประกอบไปด้วย โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญ แนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจ การให้คำปรึกษาที่บ้าน และการจัดการกับความเครียด เพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจในการพิจารณานำไปประยุกต์ใช้ในการเพิ่มพูนความรู้สำหรับพยาบาลจิตเวชชุมชนและส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบให้จัดการกับความเครียดของตนเองได้อย่างเหมาะสม อันจะช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตของบุคคลในชุมชนให้ดียิ่งขึ้นตามไปด้วย
บรรณานุกรม
จีระศักดิ์ เจริญพันธ์. (2550). การจัดการสาธารณสุขในชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 6. มหาสารคาม: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. ดารุณี จามจุรี. รูปแบบการพยาบาลเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์, 2546. ทวีศักดิ์ นพเกษร. (2548). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เล่ม 1. นครราชสีมา: โรงพิมพ์โชคเจริญมาร์เกตติ้ง. บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จามจุรี โปรดักท์. ภัศราพร เจริญศักดิ์ขจร. ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจในครอบครัวต่อระดับ HbA1C การเข้ารักษาซ้ำของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 การสูญเสียพลังอำนาจ และพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแล. รายงานการศึกษาอิสระ พย.ม. ขอนแกน: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2550. ภาวนา กีรติยุตวงศ์. การส่งเสริมการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานในระดับโรงพยาบาลจังหวัด. วิทยานิพนธ์ พย.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล, 2537. รณชิต สมรรถนะกุล และคณะ. (2556), ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมพลังอำนาจในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเรื้อรังในชุมชนเกาะราชสามัคคี ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ฃวลิตกุล. รินดา เจวประเสริฐพันธุ์ และคณะ. (2556). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจและการให้คำปรึกษาต่อพฤติกรรมกาสูบบุหรี่ และระดับ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจของผู้สูบบุหรี่. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. ปีที่ 7 ฉบับที่ 3. วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย และคณะ. (2553). การสร้างเสริมสุขภาพ : แนวคิด หลักการและการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. สมุทรปราการ : โครงการสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. สกุณา บุญนรากร. (2552). การสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมทุกช่วงวัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา : เทมการพิมพ์. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. (2555). แผนงานป้องกัน ควบคุม NCD. 8 แผนงานหลัก PP กลุ่มวัยปี 2556. สืบค้นจาก http://wm.spo.go.th/spo/images/DROM/kaew/7-8jan56/6_NCD_ 171255.doc เมื่อ 5 มีนาคม 2556. สิริอร ข้อยุ่น. ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และครอบครัว ต่อการรับรู้ความมีพลังอำนาจในการควบคุม สถานการณ์จัดการกับความเจ็บป่วย. รายงานการศึกษาอิสระ พย.ม. ขอนแกน: มหาวิทยาลัยขอนแกน, 2550. สุภัสสร วัฒนกิจ. (2548). กลยุทธ์การสร้างเสริมสุขภาพดี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง จำกัด. อาภาพร เผ่าวัฒนา. (2554). การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน : การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น : หจก. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา. อุรา สุวรรณรักษ์. การเพิ่มพลังอำนาจต่อการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลสทิงพระ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ วท.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล, 2542. อุษณีย์ เพชรรัชตะชาติ. (2549). การสร้างเสริมสุขภาพครอบครัวไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. สงขลา : บริษัทลิมบราเดอร์การพิมพ์. ................................ (2556). ข้อมูลตำบลบ้านเกาะ. ไทยตำบลดอทคอม. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2556. จาก http://www.thaitambon.com/ tambon/ttambon.asp?ID=300112 Gibson, G.H. “A Concept Analysis of Empowerment,” Journal of Advanced Nursing. 16(3) 1991 : 354-361. Gibson, G.H. (1995) The process of empowerment in mothers of chronically ill children. Journal of Advanced Nursing, 21(2), 1201-1210 Rappaport, J. “The Power of Empowerment Language,” Journal of Social Policy. 15(Fall) 1985: 15-21.
ความคิดเห็น