ผู้วิจัย

กฤษณ์ ปิตาทะสังข์, วิสาข์ แฝงเวียง, สมบัติ ประจญศานต์, ปิยชนม์ สังข์ศักดา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทและวิเคราะห์ชุมชน ศึกษาทรัพยากรท่องเที่ยวในชุมชนโดยอาศัยสิมวัดหนองบัวเจ้าป่าเป็นฐาน และเสนอแนวทางการออกแบบรายการการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยทำการศึกษาในพื้นที่ 3 แห่ง คือ ชุมชนหนองบัวเจ้าป่า หนองบัวเงิน และหนองบัวเหนือ อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน และมีการวิเคราะห์เชิงปริมาณโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนทั้งสามแห่งเป็นชุมชนชาวไทยกูยที่มีบรรพบุรุษกลุ่มเดียวกัน มีทรัพยากรท่องเที่ยวที่เป็นสิ่งดึงดูดใจในการท่องเที่ยว 3 ประเภท ได้แก่ 1) ทรัพยากรท่องเที่ยวประเภทประวัติศาสตร์โบราณสถานและโบราณคดี คือ สิมวัดหนองบัวเจ้าป่า 2) ทรัพยากรท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติ ได้แก่ สระหนองบัวและแม่น้ำมูล และ 3) ทรัพยากรท่องเที่ยวประเภทวัฒนธรรม กิจกรรมและประเพณีที่เกี่ยวข้องกับชาติพันธุ์กูย ส่วนแนวทางการออกแบบรายการท่องเที่ยวโดยชุมชนประกอบด้วย การออกแบบสัญลักษณ์และแผนที่ท่องเที่ยวชุมชน การออกแบบรายการท่องเที่ยวโดยชุมชน และการสร้างคู่มือการท่องเที่ยวชุมชน“เยือนสิม ยลศิลป์” ซึ่งผลการประเมินความพึงพอใจต่อคู่มือการท่องเที่ยวชุมชนดังกล่าวอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ซึ่งชุมชนสามารถนำคู่มือการท่องเที่ยวใช้เป็นสื่อการศึกษา สื่อเรียนรู้ภายในชุมชน และยังใช้เป็นสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวชุมชนได้ คำสำคัญ: สิ่งดึงดูดใจในแหล่งท่องเที่ยวชุมชน, สิมวัดหนองบัวเจ้าป่า, การท่องเที่ยวโดยชุมชน, การออกแบบรายการท่องเที่ยว Abstract The purposes of this study were: to study the context of the community and analyze the community, to study tourism resources in the community based on Nong Bua Chaopa Temple, and to propose guidelines for the design of community-based tourism programs. This study was conducted in 3 communities: Nong Bua Chaopa, Nong Bua Nguen and Nong Bua Nua in Satuek district, Buriram province by using qualitative method. A community-based participatory analysis was employed in qualitative data analysis and quantitative analysis using mean and standard deviation. The results showed that 3 communities were Thai Kui people with the same ancestors. There are 3 types of tourism attractions resources: 1) Historical and archaeological tourism resource, the sim of Nong Bua Chaopa Temple. 2) Natural tourism resources, Nong Bua pond and the Mun River. And 3) cultural, traditional tourism resources and activities related Thai Kui. Guidelines for community-based tourism design consisted of: designing symbols and travel maps, designing travel program, and creating a travel handbook “Visit Sims, Appreciate Arts”. The result of satisfaction survey revealed that the satisfaction towards the handbook was at a high level. Moreover, the community can use the “Visit Sims, Appreciate Arts” handbook as educational media in schools as well as community-based learning media. It can also be used as a public relation media for community tourism. Keywords: community’s tourist attractions, Nong Bua Chaopa Temple’s sim, community based tourism, the design of travel programs

บรรณานุกรม

กาญจนา แก้วเทพ. (2538ก). การพัฒนาแนววัฒนธรรมชุมชน. กรุงเทพฯ : สภาคาทอลิกแห่ง ประเทศไทยเพื่อการพัฒนา.เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. เสนอต่อ สำนักงานสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) รุ่งรัตน์ หัตถกรรม. (2545). แนวทางการพัฒนาหมู่บ้านทอผ้าไหม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม. รายงานการค้นคว้าอิสระบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. พจนา สวนศรีและสมภพ ยี่จอหอ. (2556). คู่มือมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน. เชียงใหม่: หจก.วนิดาการพิมพ์. วิวัฒน์ชัย บุญยภักดิ์ (2545) ทรัพยากรการท่องเที่ยวงานเทศกาลประเพณี. ใน วัฒนธรรมกับการท่องเที่ยว. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. บุคลานุกรม ทองอุ่น ศาลางาม สมาชิกสภาเทศบาลศรีสตึก หมู่ 5 สัมภาษณ์ ข้อมูลเอกสารประวัติชุมชน สมพร มารมณ์ ผู้ใหญ่บ้านหนองบัวเงิน หมู่ 5 สัมภาษณ์ เอกลักษณ์การแต่งกาย ชิด ศาลางาม สัมภาษณ์ เรื่องหมอช้าง ความเชื่อ

ไฟล์แนบ

pdf บทความเยือนสิม-ยลศิลป์

ขนาดไฟล์ 1 MB | จำนวนดาวน์โหลด 224 ครั้ง

ความคิดเห็น