ผู้วิจัย

กิ่งแก้ว ปะติตังโข

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการนำเปลือกเมล็ดมะขามมาทำการสกัดสารพอลิฟีนอลด้วยเเอลกอฮอล์ ทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพและนำไปเป็นส่วนผสมของอาหารไก่เนื้อ โดยเปลือกเมล็ดมะขาม 1 กิโลกรัมด้วยเอทธิลเเอลกอฮอล์ 95% เป็นตัวละลายได้สารพอลิฟีนอลที่มีโมเลกุลขนาดเล็กและไม่เป็นพิษจำนวน 200 กรัม เมื่อหาปริมาณพอลิฟีนอลรวมจะได้ค่าเฉลี่ย 18.085 ppm ที่ความเข้มข้นของสารตัวอย่าง 100 ppm การศึกษาสมบัติการต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH พบว่า สารสกัดจากเปลือกเมล็ดมะขามมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่ค่า 〖IC〗_5019.59 ppm การต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี FRAP พบว่า สารสกัดมีความสามารถในการรีดิวส์ 〖Fe〗^(3+) ไปเป็น 〖Fe〗^(2+) ซึ่งได้ปริมาณ 〖Fe〗^(2+) 0.864 ppm ส่วนการศึกษาสมบัติการต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี 〖ABTS〗^+ พบว่า ทุกความเข้มข้นของสารสกัดจากเปลือกเมล็ดมะขามมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระด้วยเทคนิค ABTS ได้ค่าเปอร์เซ็นต์ Radical Scavenging activity เป็น 51.389 ppm การเสริมสารสกัดเปลือกเมล็ดมะขามในการเลี้ยงไก่เนื้อทำให้ไก่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น การเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวันและประสิทธิภาพการใช้อาหารสูงขึ้น รวมถึงทำให้ปริมาณไขมันในช่องท้องของไก่เนื้อลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สำหรับระดับที่เหมาะสมในการเสริมสารสกัดเปลือกเมล็ดมะขามในการเลี้ยงไก่เนื้อคือ ที่ระดับ 300 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมอาหาร มีผลทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตไก่เนื้อดีที่สุด โดยให้ผลผลิตสูงสุดเท่ากับ 52.5 กิโลกรัม มีจุดคุ้มทุนของราคาขายเท่ากับ 22.64 บาท/กิโลกรัม มีกำไรเท่ากับ 648.5 บาท/โรงเรือน คำสำคัญ : พอลิฟีนอล สมุนไพร เปลือกเมล็ดมะขาม

หน่วยงานการอ้างอิง

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ไฟล์แนบ

pdf 153263-ไฟล์บทความ-579846-1-10-20190611

ขนาดไฟล์ 987 KB | จำนวนดาวน์โหลด 761 ครั้ง

ความคิดเห็น