ผู้วิจัย

กิ่งแก้ว ปะติตังโข และ จุฑามาศ พรหมทอง

บทคัดย่อ

การศึกษาการจัดการแหล่งสารสนเทศเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาบ้านพ่อผาย สร้อยสระกลาง ตำบลโคกล่าม อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงศูนย์การเรียนรู้อีโต้น้อย โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า พ่อผาย สร้อยสระกลาง บอกกับตนเองว่า "เราเป็นชาวนาจะไปเป็นนายอำเภอ ไปเป็นหมอ ย่อมฝืนธรรมชาติ น่าจะเป็นชาวนาที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และที่สำคัญมีความสุข” ท่านจึงทำการเกษตรแบบผสมผสาน แบบพึ่งพาตนเอง โดยจัดระบบของกิจกรรมการผลิตในไร่นา ได้แก่ พืช สัตว์ ให้มีการผสมผสานอย่างต่อเนื่องและเกื้อกูลในการผลิตซึ่งกันและกัน โดยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในไร่นา เช่น ดิน น้ำ แสงแดดอย่างเหมาะสมเกิดประโยชน์สูงสุด และมีการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อการเรียนรู้แก่คนอื่นๆ โดยจัดทำเป็น 5 ฐานการเรียนรู้ ได้แก่ 1) ฐานไผ่เลี้ยงคน 2) ฐานคนเล่นขี้ 3) ฐาน 1 ไร่ ประณีต 4) ฐานตารางเมตรเศรษฐี 5) ฐานปลาเลี้ยงคน คนเลี้ยงปลา และอนาคตจะมีฐานนวดสมุนไพร นอกจากนี้พ่อผาย สร้อยสระกลาง ใช้ภูมิปัญญาในการพัฒนาท้องถิ่น และใช้หลักธรรมและคำสอนในพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิตและเชื่อมโยงให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาสังคมในด้านประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ การใช้ประโยชน์จากสมุนไพร คำสำคัญ : การจัดการแหล่งสารสนเทศ เศรษฐกิจพอเพียง บ้านพ่อผาย สร้อยสระกลาง

บรรณานุกรม

กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). การพัฒนาและการใช้แหล่งเรียนรู้ใน โรงเรียนและท้องถิ่นเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ศาสนา. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2553). นายผาย สร้อยสระกลาง. ค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2555 จาก www.moac.go.th ก่อเกียรติ วิริยะกิจพัฒนา. (2550). เศรษฐกิจพอเพียง=Sufficiency Economy. กรุงเทพฯ : วังอักษร. คณะกรรมการบริหารสภาวัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์. (2555). บุรีรัมย์ ภูมิหลังประวัติศาสตร์และ วัฒนธรรม. บุรีรัมย์ : สภาวัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์. เจนจัด ภักดีไทย (2548 : บทคัดย่อ). การใช้ประโยชน์จากแหล่งความรู้ในชุมชนประกอบ การเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตการศึกษา 1. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. . กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ผาย สร้อยสระกลาง เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, กิ่งแก้ว ปะติตังโข เป็นผู้สัมภาษณ์. บ้านเลขที่ 158 หมู่ที่ 1 บ้านสระคูณ ตำบลโคกล่าม อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2557. -----------. เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, กิ่งแก้ว ปะติตังโข เป็นผู้สัมภาษณ์. บ้านเลขที่ 158 หมู่ที่ 1 บ้านสระคูณ ตำบลโคกล่าม อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2557. พรสวรรค์ วิษณุวงศ์. (2552). การจัดการแหล่งเรียนรู้เพื่อการเรียนการสอนของ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ในเขตภาคกลาง. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (การจัดการการศึกษา). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ลัดดา ศิลาน้อย. (2545). การรวบรวมแหล่งความรู้ไปสู่งานวิจัยวิชาสังคมศึกษา. วารสาร ศึกษาศาสตร์. 26(2) : 34-38. ลา สร้อยสระกลาง เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, กิ่งแก้ว ปะติตังโข เป็นผู้สัมภาษณ์. บ้านเลขที่ 158 หมู่ที่ 1 บ้านสระคูณ ตำบลโคกล่าม อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2557. -----------. เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, กิ่งแก้ว ปะติตังโข เป็นผู้สัมภาษณ์. บ้านเลขที่ 158 หมู่ที่ 1 บ้านสระคูณ ตำบลโคกล่าม อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2557. วีระ สิทธิสาร เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, กิ่งแก้ว ปะติตังโข เป็นผู้สัมภาษณ์. บ้านเลขที่ 158 หมู่ที่ 1 บ้านสระคูณ ตำบลโคกล่าม อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2557. -----------. เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, กิ่งแก้ว ปะติตังโข เป็นผู้สัมภาษณ์. บ้านเลขที่ 158 หมู่ที่ 1 บ้านสระคูณ ตำบลโคกล่าม อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2557. ศศิธร ภิรมย์นภา. (2550 : บทคัดย่อ). การศึกษาสภาพการดำเนินงานแหล่งเรียนรู้ เพื่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนในอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). สุราษฎร์ธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี. สุจารีย์ จรัสด้วง. (2552). การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สุมาลี สังข์ศรี และคนอื่นๆ. (2548). รายงานการวิจัยการจัดการเรียนรู้ของแหล่งการเรียนรู้ ตลอดชีวิต : พิพิธภัณฑ์. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. Good, C.V. (1993). Dictionary of Education. New York : Mc.Graw-Hill.

หน่วยงานการอ้างอิง

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ไฟล์แนบ

pdf รวม

ขนาดไฟล์ 6 MB | จำนวนดาวน์โหลด 234 ครั้ง

ความคิดเห็น