ผู้วิจัย

กิ่งแก้ว ปะติตังโข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทชุมชน กระบวนการเรียนรู้ การถ่ายทอดความรู้การปลูกข้าวพื้นเมือง และเพื่อศึกษาแนวทางการจัดการความรู้และรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การปลูกข้าวพื้นเมืองของชุมชนบ้านลิ่มทอง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีดำเนินการวิจัยโดยการเข้าไปศึกษาในชุมชน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยการรวบรวมและจัดกลุ่มข้อมูลตามประเด็นสำคัญ เพื่อหาภาพองค์รวมของข้อมูล แล้วใช้การพรรณนาเชิงเนื้อหาและเปรียบเทียบเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า 1. บริบทชุมชน กลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านลิ่มทองมีการรวมกลุ่มกันปลูกข้าวอินทรีย์จำนวน 19 ครัวเรือน ปลูกข้าวพันธุ์ดีและข้าวพันธุ์พื้นเมือง ได้แก่ ข้าวหอมมะลิขาว ข้าวมะลิแดง ข้าวหอมนิล ข้าวจิ๊บ ซึ่งมีผู้ปลูกข้าวจิ๊บ 5 ครัวเรือน รวมจำนวน 57 ไร่ เพื่อบริโภคในครัวเรือนและจำหน่ายในราคาสูงกว่าข้าวหอมมะลิขาว จึงทำให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวจิ๊บมีรายได้เพิ่มมากขึ้น 2. กระบวนการเรียนรู้การปลูกข้าวพื้นเมือง กระบวนการเรียนรู้การปลูกข้าวพื้นเมือง เริ่มจากเกิดมาก็เห็นพ่อแม่ปลูกข้าว พื้นเมือง ต่อมามีการจัดการอบรมการปลูกข้าวพื้นเมืองหลักสูตร 4 วัน เริ่มจาก การเตรียมเมล็ด การเตรียมดิน การปลูกข้าวพื้นเมือง การปลูกข้าวพื้นเมืองโดยวิธีการดำต้นกล้า การวางรวงและปลูกข้าวต้นเดียว การกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ยอินทรีย์บำรุงดินและต้นข้าว การบริหารน้ำเข้านาการป้องกันกำจัดสัตว์ศัตรูข้าว การตัดข้าวปน การเก็บเกี่ยวพันธุ์ข้าว และการแปรรูปข้าวพื้นเมือง 3. การถ่ายทอดความรู้การปลูกข้าวพื้นเมืองชุมชนบ้านลิ่มทอง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 3.1 การถ่ายทอดความรู้การปลูกข้าวพื้นเมือง มีการถ่ายทอดจากปู่ย่า ตายาย และมีการถ่ายทอดให้กลุ่มชาวบ้านและกลุ่มเยาวชนเป็นหลักสูตรอบรม 4 วัน ทฤษฎี 2 วัน ลงแปลงปฏิบัติ 2 วัน 3.2 รูปแบบการถ่ายทอดความรู้การปลูกข้าวพื้นเมืองให้กับบุคคลทั่วไป คือ การไปร่วมจัดนิทรรศการการการปลูกข้าวพื้นเมืองในสถานที่ต่างๆ การจัดอบรมให้กับผู้ที่มาขอความร่วมมือ เช่น นักศึกษา เกษตรกรอื่นๆ เป็นต้น การบอกเล่าสู่การปฏิบัติ และการจัดทำเอกสารแนะนำกลุ่ม มีแผ่นพับแนะนำกลุ่ม และแนะนำผลิตภัณฑ์การปลูกข้าวจิ๊บ 3.3 แนวทางการพัฒนาการถ่ายทอดความรู้การปลูกข้าวพื้นเมือง กลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านลิ่มทอง นำโดยนางสนิท ทิพย์นางรอง มีความต้องการพัฒนาวิธีการถ่ายทอดการปลูกข้าวพื้นเมืองโดยการจัดทำเป็น PowerPoint จัดทำเป็นการ์ตูนสำหรับเด็ก จัดทำเป็นวีดิโอ สำหรับผู้ใหญ่ และเป็นแปลงสาธิตถาวร 4. แนวทางการจัดการความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นการปลูกข้าวพื้นเมืองของชุมชนบ้านลิ่มทอง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวที่มีคุณค่าและมีคุณประโยชน์อย่างมหาศาล ชุมชนบ้านลิ่มทองต้องการ (1) จัดทำพิพิธภัณฑ์ข้าวพื้นเมืองไว้ที่ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาชุมชนบ้านลิ่มทอง เพื่อให้คนในท้องถิ่น และบุคคลทั่วไปได้ศึกษา และ (2) จัดทำ Website ของศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาชุมชนบ้านลิ่มทอง เพื่อต้องการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับข้าวพื้นเมืองต่อไป

บรรณานุกรม

กรมวิชาการ. กองวิจัยทางการศึกษา. (2539). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการเรียนการสอนระดับ ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา. กัลยารัตน์ จำปา. (2553). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสมุนไพรของชมรมสมุนไพรในเขต คำชะอี จังหวัดมุกดาหาร. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น. กิ่งแก้ว ปะติตังโข (2558). การสำรวจความหลากหลายพันธุ์ข้าวพื้นเมือง เพื่อการอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของจังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏ บุรีรัมย์. กิตติชาติ ชาติยานนท์. (2550). การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรให้ได้มาตรฐานตาม โครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในอำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (ยุทธศาสตร์การพัฒนา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ราชภัฎจันทรเกษม. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. ฉวีวรรณ ปานชี และคณะ. (2548). “การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาอาชีพการทำ ขนมโบราณ ชุมชนกุฎีจีน แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร.” วารสารวิชาการ “ลานปัญญา” โครงการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. หน้า 6 – 7. ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย. (2558). ศึกษาความหลากหลายของคุณภาพทาง ด้านโภชนาการในข้าวสีพันธุ์พื้นเมืองของไทย. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ชวน เพชรแก้ว. (2547). “การยกระดับและการปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในสถานการณ์ ปัจจุบัน”, สารภาษาไทย. 3,3 (มกราคม-มีนาคม , 2547) :14-23. ณัฏฐ์ชญาภา กลีบพุดซา. (2554). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเส้นหมี่น้ำฉ่า บ้านน้ำฉ่า ตำบลโป่งแดง อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา. รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต (การปกครองท้องถิ่น). ขอนแก่น : วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น. นฤมล พฤกษศิลป์ และพัชรา หาญเจริญกิจ. (2543). “การจัดการความรู้ (Knowledge Management),” รังสิตสารสนเทศ. 6,1 (มกราคม-มิถุนายน , 2543): 60-71. นันทสาร สีสลับ. (2542). ภูมิปัญญาไทย. ในสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ เล่ม 23. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์. นัทธี พงษ์ดนตรี. (2544). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษา ในโรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา. ทรายแก้ว มีสิน. (2547). โครงสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรมของเชื้อพันธุ์ข้าว พื้นเมืองไทย. บุญดี บุญญากิจ และคนอื่น ๆ. (2547). การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น. ประภา เหล่าสมบูรณ์. (2552). การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของ เกษตรกรรายย่อย อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี. ราชบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏ หมู่บ้านจอมบึง. ประภากร แก้ววรรณา และคณะ. (2548). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นปลาร้าข้ามปี บ้านหนองบัวน้อยตำบลหนองสระปลา อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. ประวีณา ผลเลไลย์. (2560, 11 กันยายน). กรรมการกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านลิ่มทอง. สัมภาษณ์. ประเวศ วะสี. (2548). การจัดการความรู้: กระบวนการปลดปล่อยมนุษย์สู่ศักยภาพ เสรีภาพและ ความสุข. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม. ประเวศ วะสี. (2533). การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยเพื่อการพัฒนา. ในเอกสารการ ประกอบการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง ภูมิปัญญาชาวบ้าน. กรุงเทพฯ : สำนักงาน คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. --------. (2536). ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาชนบท เล่มที่ 2. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์. ปรีชา อุยตระกูล. (2539). ภูมิปัญญาชาวบ้าน. ในเอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง ภูมิปัญญา ชาวบ้าน. ขอนแก่น : ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐาน. ผ่องศรี เสาเกลียว. (2552). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มหัตถกรรมเครื่องเงินบ้านโชค ตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. รายงานการศึกษาอิสระ รป.ม. (การปกครองท้องถิ่น). ขอนแก่น : วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น. พรธิดา วิเชียรปัญญา. (2547). การจัดการความรู้ : พื้นฐานและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ : เอ๊กซเปอร์เน็ท. พรทิพย์ กาญจนนิตย์, พัด นิลพันธุ์ และนพรัตน์ ประสาทเขตการณ์. (2546). การจัดการความรู้ : สู่วงจรคุณภาพที่เพิ่มพูน. กรุงเทพฯ : สำนักงานมาตรฐานอุดมศึกษา สำนักงาน ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย. ดวงฤทัย อรรคแสง และวิภาวี กฤษณะภูติ. (2552,ตุลาคม-ธันวาคม). “กระบวนการจัดการความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าไหมมัดหมี่ย้อมสีธรรมชาติ,” วารสารวิจัย มข. (บศ.). 9(4): 135-147. ยุทธนา แซ่เตียว. (2547). การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ : สร้างองค์กร อัจฉริยะ. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท. ร่วมจิตร นกเขา และคนอื่นๆ. (2550). การรวบรวมพันธุ์ การคัดเลือกพันธุ์ และการอนุรักษ์พันธุ์ ข้าวไร่ของจังหวัดชุมพร. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.). วราวุธ ผลานันต์ และคณะ. (2551, มกราคม – มิถุนายน). “การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องการทอผ้าไหมกาบ,” สารมนุษยศาสตร์. 4(1) : 1-13. วิจารณ์ พานิช. (2546). การจัดการความรู้ในยุคสังคมและเศรษฐกิจบนฐานความรู้. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) วิชิต นันทสุวรรณ. (2538). “ภูมิปัญญาชาวบ้านในงานพัฒนา,” สังคมพัฒนา. 4,5 (มีนาคม- พฤษภาคม, 2538) : 6-11. ศิริสุภา เอมหยวก และคณะ (2556). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอผ้าบ้านคลองเตย ตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยราชภัพิบูลสงคราม. ศักดิ์ชาย พวงจันทร์. (2548 : บทคัดย่อ). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นไม้แกะสลัก บ้านหลุก. ลำปาง : มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. (2538). โครงการวิจัยเรื่องการพึ่งตนเอง ทางเศรษฐกิจในชนบท. กรุงเทพฯ : สารคดี. สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2547). การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น. สนิท ทิพย์นางรอง. (2560, 7 มิถุนายน). ประธานกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านลิ่มทอง. สัมภาษณ์. ---------. (2560, 11 กันยายน). ประธานกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านลิ่มทอง. สัมภาษณ์. สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2534). การพัฒนาชนชน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. สามารถ จันทร์สูรย์. (2534). ภูมิปัญญาชาวบ้าน. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท. สำเนียง สร้อยนาคพงษ์. (2535). “การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนใน โรงเรียน,” สารพัฒนาหลักสูตร. 109 (กุมภาพันธ์-มีนาคม, 2535) : 23-32. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2547). ครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 3 ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2540). “ภูมิปัญญาชาวบ้านภาคใต้,” ทักษิณคดี. 4,3 (กรกฏาคม-กันยายน, 2540) :34 เสรี พงศ์พิศ. (2533). ภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. เสถียร ฉันทะ. (2554). ความหลากหลายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองและการอนุรักษ์ของชุมชนใน ภาพตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ ปรด. (ความหลากหลายทาง ชีวภาพ). มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. อดุลย์ บุญคง. (2553 : บทคัดย่อ). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการเลี้ยงกุ้งในน้ำจืดบ้าน รุ่งโรจน์ ตำบลบางยาง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น. อนันท์ กาญจนพันธุ์. (2544). มิติชุมชน วิธีคิดท้องถิ่นว่าด้วยสิทธิ อำนาจและการจัดการ ทรัพยากร. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

หน่วยงานการอ้างอิง

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ไฟล์แนบ

pdf รวม

ขนาดไฟล์ 9 MB | จำนวนดาวน์โหลด 444 ครั้ง

ความคิดเห็น