ผู้วิจัย

สมหมาย ปะติตังโข และคณะ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำการศึกษาการสกัด และวิธีการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากสมุนไพรฮว่านง็อกโดยการนำพืชสมุนไพรแห้งหนัก 588.39 g แช่ในตัวทำละลายอินทรีย์ได้แก่ Hexane, Dichloromethane, Ethyl acetate, Ethanol และ Methanol ปริมาตร 600 ml ต่อครั้งซึ่งแช่จำนวน 3 ครั้ง (ระยะเวลา 3, 2 และ 2 วัน) แล้วทำการลดปริมาตรด้วยเครื่อง Rotary evaporator จะได้สารสกัดที่มีน้ำหนัก 29.12, 60.01, 90.14, 100.03 และ 42.36 g ตามลำดับ นำสารสกัดแต่ละตัวมาทำการทดสอบความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH method, FRAP method และทดสอบความสามารถในการต้านเชื้อแบคทีเรียชนิด E.Coli, Klebsiella spp., Enterobacter spp.และ Citrobacter พบว่าสารสกัดหยาบจากใบฮว่านง็อกโดยตัวทำละลาย Hexane, Dichloromethane, Ethyl acetate, Ethanol และMethanol มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ DPPH ซึ่งมีค่า IC50 เท่ากับ 12520.00, 1468.46, 768.66, 656.27 และ 917.07 ppm ตามลำดับ ในขณะเดียวกัน การทดสอบความสามารถการต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี FRAP method พบว่าสารสกัดหยาบที่มีความสามารถในการรีดีวซ์มากที่สุดคือ Crud Dichloromethane สามารถรีดิวซ์ได้ Fe2+ ปริมาณ0.228±0.007, 0.471±0.005, 0.947±0.007 mM และรองลงมาเป็น Ethyl acetate ซึ่งมีปริมาณ Fe2+ เท่ากับ 0.158±0.007, 0.509±0.005, 0.936±0.005 และ Methanol ซึ่งมีปริมาณ Fe2+ เท่ากับ 0.061±0.012, 0.419±0.007, 0.776±0.007 รองลงมาอีกจะเป็นสารสกัดหยาบ Crude Ethanol ซึ่งมีปริมาณ Fe2+ เท่ากับ 0.064±0.005, 0.109±0.002, 0.250±0.007 และสุดท้ายจะเป็น Crude Hexane มีปริมาณ Fe2+ เท่ากับ 0.130±0.007, 0.185±0.005, 0.248±0.007 ที่ความเข้มข้น ที่ความเข้มข้น 250, 500, 1000 ppm ตามลำดับ ส่วนผลของการทดสอบความสามารถในการต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรียพบว่า E.Coli ไม่มีสารสกัดใดที่สามารถต้านได้ และสารสกัดหยาบ Dichloromethane และ Methanol สามารถต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย Klebsiella spp, Etherobacter spp. และCitrobacter ได้ดี แต่สารสกัดหยาบจาก Ethanol สามารถต้านการเจริญเติบของแบคทีเรียได้ดีเฉพาะ Klebsiella spp., Citrobacter เท่านั้น ในขณะที่สารสกัดหยาบ Hexane, Ethyl acetate ไม่มีความสามารถในการต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรียชนิดใดเลย

บรรณานุกรม

ปิยนุช ทองผาสุก. ผลของรังสีแกรมมาต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน. ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทศโนโลยีนิวเคลียร์ครั้งที่ 10: 16-17 สิงหาคม 2550. กรุงเทพฯ นาถธิดา วีระปรียากูร. 2550. การทดสอบความสามารถในการจับอนุมูลอิสระ (DPPH). มหาวิทยาลัยขอนแก่น: คณะเภสัชศาสตร์. พรรณี เด่นรุ่งเรื่อง. 2550.กรุงเทพฯ: ฤทธิ์การการต้านอนุมูลอิสระของเปลือกต้นวงศ์อบเชย. ในรายงานผลงานวิจัย ประจำปี 2550. สำนักงานวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้ รัตนา อินทรานุปกรณ์. 2547. การตรวดสอบและการสกัดแยกสารสำคัญจากสมุนไพร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิไลลักษณ์ ศรีสุระ.(2551): Online. จุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร. ค้นจากhttp://www.halalthailand.com/healthy/subindex.php?page=content&category=&subcategory=&id=60 สรรพคุณและขนาดการใช้ใบว่านลิง (พญาวานร, ฮว่านง็อก). (2551) Online. ค้นจากhttp://blog.sanook.com/Default.aspx?alias=medplant. โอภา วัชระคุปต์.2549. สารต้านอนุมูลอิสระ. กรุงเทพฯ : พี.เอส.พริ้นท์, 2549. Alexander V. Maksimenko. 2005. Experimental Antioxidant Biotherapy for Protection of the Vascular Wall by Modified Forms of Superoxide Dismutase and Catalase. Current Pharmaceutical Design, 11: 2007-2016. Connor, A.M., Luby, J.J., Tong, C.B.S., 2002. Variability in antioxidant activity in blueberry and correlations among different antioxidant activity assays. Journal of the American Society for HorticulturalScience. 127: 238–244. Kriengsak Thaipong, Unaroj Boonprakob.2006. Comparison of ABTS, DPPH, and ORAC assays for estimating antioxidant activity from guava fruit extracts. Journal of Food composition and analysis, 19: 669-675. Luximon-Ramma, A., Bahorun, T., Crozier, A., 2003. Antioxidant actions and phenolic and vitamin C contents of common Mauritian exotic fruits. Journal of the Science of Food and Agriculture, 83: 496–502. Miean, K.H., Mohamed, S., 2001. Flavonoid (myricetin, quercetin, kaempferol, luteolin, and apigenin) content of edible tropical plants. Journal of Agricultural and Food Chemistry 49: 3106–3112. Nilesh Kumar Sharma, Sreela Dey, Ramasare Prasad(2007).In vitro antioxidant potential evaluation of Euphorbia hirta L. Pharmacology online, 1:91-98. Om Prakash Tiwari, Yamine B. Tripathi .2007.Antioxidant properties of different fraction of Viten negundo Linn. Food Chemistry, 100: 1170-1176. Talcott, S.T., Howard, L.R., 1999. Phenolic autoxidation is responsible for color degradation in processed carrot puree. Journal of Agricultural and Food Chemistry, 47: 2109–2115. Temple, N.J., 2000. Antioxidants and disease: more questions than answers. Nutrition Research, 20:449–459.

หน่วยงานการอ้างอิง

โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ไฟล์แนบ

pdf วิจัย สมุนไพรฮว่านง็อก

ขนาดไฟล์ 4 MB | จำนวนดาวน์โหลด 1510 ครั้ง

ความคิดเห็น