การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่บริหารโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 1-7 THE TRANSFORMATIONAL LEADERSHIP DEVELOPMENT FOR SCHOOL BASED MANAGEMENT ADMINISTRATORS UNDER THE OFFICE OF NAKHON R

Main Article Content

ภัทรนิษฐ์ วงศ์บุญญฤทธิ์
เศาวนิต เศาณานนท์
สมทรง อัศวกุล
นฤมล ศักดิ์ปกรณ์กานต์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา

ที่บริหารโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1-7  โดยการทดลองใช้ รูปแบบการพัฒนา ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กับกลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 27 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 5 องค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่นำมาพัฒนา มี 3 องค์ประกอบ คือ ด้านการมีอิทธิพลเชิงอุดมการณ์ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ และด้านการกระตุ้นทางปัญญา  วิธีการพัฒนาใช้การฝึกอบรม

        ผลการวิจัย พบว่า ผู้เข้ารับการพัฒนามีความรู้หลังการพัฒนาสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีความพึงพอใจ ต่อกระบวนการพัฒนา อยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ ภายหลังการพัฒนา 1 เดือน พบว่า ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และระดับการบริหารโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐานทุกด้าน สูงขึ้นกว่าช่วงก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

This research has the objective to study the effect of transformational leadership development for school  based management administrators under the office of Nakhon Ratchasima primary educational

service area 1-7. As a result, transformational leadership that needs to be developed includes  three aspects : idealized Influence , intellectual  stimulation and inspirational  motivation. The  design and development  of a model for transformational leadership and  experiments with 27 administrators for school  based management under the Office of Nakhon Ratchasima  primary  educational  service  area  5  attended  the training  process.

            The result  of  the  study showed as follows. Shows that the knowledge about transformational leadership has significantly increased at the 0.05 significant level. The level of satisfaction toward the development  process  revealed that most of the participants were  overall  satisfied with the development process at the highest level in all of the perspectives.  After the training  process  transformational leadership development 1 month, it is found that the transformational leadership skills  and  school  based  management  have significant  increased  at  0.05  significant  level. 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

ภัทรนิษฐ์ วงศ์บุญญฤทธิ์, ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

เศาวนิต เศาณานนท์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

สมทรง อัศวกุล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

นฤมล ศักดิ์ปกรณ์กานต์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา