การวัดประสิทธิภาพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสิ่งทอในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ปิติพัฒน์ นิตยกมลพันธุ์
ปัญจมาพร ผลเกิด

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวัดประสิทธิภาพและแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสิ่งทอในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 29 กลุ่ม ประกอบไปด้วยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสิ่งทอในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 11 กลุ่ม และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสิ่งทอในอำเภอนาโพธิ์ จำนวน 18 กลุ่ม ทำการวิเคราะห์ประสิทธิภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์การล้อมกรอบข้อมูล (Data Envelopment Analysis: DEA) โดยวิเคราะห์ด้านปัจจัยการผลิต (Input-Oriented) ภายใต้ข้อสมมติผลตอบแทนต่อขนาดผันแปร (Variable Return to Scale: VRS) ซึ่งปัจจัยการผลิตประกอบไปด้วย มูลค่าของเครื่องจักร จำนวนสมาชิก มูลค่าของวัตถุดิบหลัก และค่าใช้จ่ายในการผลิต ส่วนผลผลิตคือรายได้ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มวิสาหกิจชุมชนสิ่งทอในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีประสิทธิภาพมีจำนวน 2 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 6.90 และมีค่าประสิทธิภาพต่อขนาดเฉลี่ยเท่ากับ 0.714 เมื่อพิจารณาแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพทั้ง 2 อำเภอ ควรปรับปรุงมูลค่าของเครื่องจักรเป็นอันดับแรก เนื่องจากมีร้อยละของการปรับปรุงปัจจัยการผลิตมากที่สุด และควรพัฒนาวิธีการผลิตหรือนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการผลิตเพื่อให้สินค้ามีคุณภาพและสามารถแข่งขันได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นณริฏ พิศลยบุตร และภาณุทัต สัชฌะไชย. (2555). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมไทยรายสาขากับ
การแข่งขันในระดับโลก. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ประสพชัย พสุนนท์. (2548). การประเมินประสิทธิภาพองค์กร โดย Data Envelopment Analysis. วารสาร
บริหารธุรกิจ, 28(108), 32-42.
ปิติพัฒน์ นิตยกมลพันธุ์. (2556). การวัดประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมกลุ่มธุรกิจสิ่งทอ
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ.
ปิติพัฒน์ นิตยกมลพันธุ์ และ นงค์นิตย์ จันทร์จรัส. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพทางเทคนิคอุตสาหกรรม
ขนาดกลางและขนาดย่อม กลุ่มธุรกิจสิ่งทอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 1(2), 63-75.
วลัยลักษณ์ อัตธีรวงศ์ และ กนกกรรณ์ ลี้โรจนาประภา. (2559). การวัดประสิทธิภาพและการปรับปรุง
ประสิทธิภาพโรงงานอุตสาหกรรมการเตรียมเส้นใยสิ่งทอด้วยวิธีโอบล้อมข้อมูล. วารสารไทยการวิจัย
ดำเนินงาน, 4(1), 38-48.
วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. (2556). หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาค. (พิมพ์ครั้งที่ 20 ฉบับแก้ไขปรับปรุง). กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ. (2561). โครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทออีสานด้วยนวัตกรรม. กรุงเทพฯ:
ผู้แต่ง.
สมชาย หาญหิรัญ. (2548). แนวคิดและการวัดประสิทธิภาพการผลิตทางเศรษฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม.
สำนักคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัด แบบปริมาณลูกโซ่ ฉบับ พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์. (2561). ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช. 2ค). สืบค้น 2 กรกฎาคม
2561, จาก http://buriram.cdd.go.th/
อัครพงศ์ อั้นทอง. (2547). คู่มือการใช้โปรแกรม DEAP 2.1 สำหรับการวิเคราะห์ประสิทธิภาพด้วยวิธีการ Data
Envelopment Analysis. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อัครพงศ์ อั้นทอง และ มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด. (2552). การเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพในการจัดการของโรงแรมใน
จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, 27(3), 1-26.
อรรถพล สืบพงศกร. (2554). การวัดประสิทธิภาพทางด้านเทคนิค (Technical Efficiency) และประสิทธิภาพ
ขนาด (Scale Efficiency) สำหรับธุรกิจประกันชีวิตในประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์ มช, 15(2),
84-114.
อิทธิชัย ยศศรี. (2551). ประสิทธิภาพทางเทคนิคอุตสาหกรรมสิ่งทอ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม.
Aigner, D.J., Lovell, C.A.K. and Schmidt, P. (1977). Formulation and estimation of Stochastic
frontier production function model. Journal of Econometrics, 6, 21-37.
Alexander, W.R.J. and Jaforullah, M. (2004). Explaining efficiency differences of New Zealand
secondary schools. Economics Discussion Papers No. 408 School of Business, University of
Otago, (February), 1-35.
Banker, R.D., Charnes, A. and Cooper W.W. (1984). Some Models for Estimating of Technical and
Scale Inefficiencies in Data Envelopment Analysis. Management Science, 30(9), 1078-1092.
Bayarsaihan T. Battese G.E. and Coelli T.J. (1998). Productivity of Mongolian Grain Farming: 1976-
1989. CEPA Working Papers No. 2/98 Department of Econometrics, University of New
England, 2, 1-26.
Charnes, A.,Cooper, W.W. and Rhodes, E. (1978). Measuring the Efficiency of Decision Making Units.
European Journal of Operational Research, 2(6), 429-444.
Coelli, T.J., Rao, D.S. and Battese, G.E. (1998). An Introduction to Efficiency and Productivity
Analysis. Massachusetts: Kluwer Academic Publishers.

Coelli, T.J., Rao, D.S., O’Donnell, C.J. and Battese, G.E. (2005). An Introduction to Efficiency and
Productivity Analysis. (2nd ed.). New York: Springer.
Cooper, W.W., Seiford L.M. and Zhu, J. (2004). Handbook on Data Envelopment Analysis. Boston:
Kluwer Acadamic Publishers.
Farrell, M.J. (1957). The Measurement of the Productive Efficiency. Journal of the Royal
Statistical Society, 120(9), 253-281.
Kapelko, M. (2011). Application of DEA Model with Bootstrap to Evaluation of SMEs Efficiency in
the Spanish Textile Industry. Multiple Criteria Decision Making, 6, 133-148.
Koopmans, T.C. (1951). Analysis of production as an efficient combination of activities. New York:
Wiley.
Nauly, Y.D. (2012). The Impact of Import Competition on Efficiency of Textile Industry and Apparel
Industry in Indonesia. Journal of Asia Pacific Studies, 2(3), 347-373.