บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning เพื่อเสริมสร้างทักษะปฏิบัติการทางฟิสิกส์  สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต  เป็นลักษณะของการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Research) แบบแผนการวิจัย (The Pretest – Posttest  Nonequivalent – Groups Design) โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาและ หาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning  ด้วยรูปแบบการปฏิบัติการทางฟิสิกส์ ระดับมัธยมศึกษา ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์    2)  เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ภายหลังจากการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning ด้วยรูปแบบการปฏิบัติการทางฟิสิกส์   3)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน ต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning   ประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป  และ สาขาวิชาฟิสิกส์  ชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2   ปีการศึกษา 2566  จำนวน 103 คน    กลุ่มตัวอย่าง  (Sampling)กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น  นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์  ชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566  จำนวน 50 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการขยายผลวิจัย  (Sampling)   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น  นักศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ ชั้นปีที่ 5 ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 53 คน

เครื่องมือที่ผู้วิจัยได้ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning

ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 จำนวน  4 แผนการเรียนรู้ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  จำนวน  4  แผนการเรียนรู้  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6   จำนวน  2 แผนการเรียนรู้  โดยมีเนื้อหาสาระดังนี้   แผนที่ 1 เรื่อง  การสลายของนิวเคลียสกัมมันตรังสี   แผนที่ 2 เรื่อง  ควอนตัมของแสงและโฟตอน  และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ก่อนและหลังเรียน เป็นชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ   ในทุกแผนการจัดการเรียนรู้   การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย (X ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่า t-test แบบ Dependentและการทดสอบค่า t-test แบบ Independent สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

 

 

การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้  ด้วยกระบวนการ Active Learning ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมีค่าเฉลี่ยหลังเรียน 8.73  สูงกว่าก่อนเรียนซึ่งมีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน  4.53 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.05 และ 1.33  ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01  ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมีค่าเฉลี่ยหลังเรียน 8.55  สูงกว่าก่อนเรียนซึ่งมีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน  4.59 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.11 และ 1.08 ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมีค่าเฉลี่ยหลังเรียน 8.55  สูงกว่าก่อนเรียนซึ่งมีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน  4.59 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.11 และ 1.08 ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

การศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning   พบว่า ด้านสิ่งสนับสนุน  (สื่อการสอน / อุปกรณ์การทำปฏิบัติการ)   นักเรียนได้ความรู้ และทักษะในการทำปฏิบัติการ  และนักเรียนสามารถนำสิ่งที่ได้รับจากโครงการ/กิจกรรมนี้ไปใช้ในการเรียน/การปฏิบัติงาน  มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.41

ไฟล์แนบ

pdf บทความวิจัย อ.อุกฤษฎ์

ขนาดไฟล์ 287 KB | จำนวนดาวน์โหลด 42 ครั้ง

ความคิดเห็น