ผู้วิจัย

ทิตยาวดี อินทรางกูร* นิภา สุทธิพันธ์ ปิยะอร รุ่งธนเกียรติ กิติพงษ์ เรือนเพ็ชร ประภาพรรณ สาวีรัมย์

บทคัดย่อ

การวิจัยเพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพและปัจจัยพื้นฐาน ความเชื่อด้านสุขภาพ ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง 180คน โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเครื่องมือประกอบด้วยแบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพ ความสามารถในการดำนินชีวิตประจำวัน และพฤติกรรมสุขภาพ ระดับความเชื่อมั่น 0.77 วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าร้อยละ สถิติไคสแควร์การวิเคราะห์ความแปรปรวน และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง พฤติกรรมสุขภาพด้านอาหารและการปฏิบัติตน ในภาวะเจ็บป่วยอยู่ระดับสูง การออกกำลังกายอยู่ระดับต่ำ การป้องกันหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงอยู่ระดับปานกลาง ความสามารถ ในการดำเนินชีวิตประจำวันสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ปัจจัยพื้นฐานกับพฤติกรรมสุขภาพ ความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรม สุขภาพมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติความสามารถในการดำรงชีวิตประจำวันกับพฤติกรรมสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กัน ความเชื่อด้านพฤติกรรมสุขภาพอยู่ระดับสูง มีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพแตกต่างกัน ส่วนความสามารถในการดำเนินชีวิตในระดับ ต่างๆ มีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพทั้ง 4 ด้านไม่แตกต่างกัน

บรรณานุกรม

1. Naksong P. Data analysis by SPSS program. Bangkok: Simplify; 2019. (in Thai) 2. Praditpornsilp K. Textbook of medicine for theelderly. Bangkok: Rungsilp Printing; 2018.(in Thai) 3. World Health Organization. Chronic diseases.Geneva: World health organiza-tion; 2017. 4. Department of Elderly Affairs. Strategic Plan,Department of Elderly Affairs, 2017-2021.Bangkok: Thepphenwanis; 2016. (in Thai) 5. Noradechanunt C., Sirirat N., Kunalasiri P. Developmentof CurriculumforEnhancingthe Elderly Competencies in Health Promotion and Prevention of Complications from Non-communicable Diseases at Had Chao Samran Elderly School, Muang, Phetchaburi. Journalof The Royal Thai Army Nurses. 2021;22(1):390-401. (in Thai) 6. Office of the Department of Elderly Health. AnnualReport2020.Bangkok: AmarinPrinting and Publishing; 2020. (in Thai) 7. Thittayawadee Intarangkul. Health Promotion of the Elderly in Ban Kruat Didtric, Buriram Province. PEOPLE: International Journal of Social Sciences. 2017;2(3):163-72. 8. Phaowattana A. Health promotion and disease prevention in community : an application of conceptsand theories to practice.KhonKaen: Nana Wittaya Treasury. 2012. (in Thai) 9. Sirited P., Thammaseeha N. Self-efficacy theory and self-healthcare behavior of the elderly. Journalof The RoyalThai Army Nurses.2019; 20(2): 58-65. (in Thai) 10. Boonlaet P. Promoting self-esteem in elder people with depression through online game [Thesis].Songkla:PrinceofSongkla University; 2017. (in Thai) 11. Sirited P., Thammaseeha N. Self-efficacy theory and self-healthcare behavior of the elderly. JournalofTheRoyalThai Army Nurses.2019; 20(2): 58-65. (in Thai) 12. Office of the Department of Elderly Health. AnnualReport2020.Bangkok: AmarinPrinting and Publishing; 2020. (in Thai

หน่วยงานการอ้างอิง

วารสารพยาบาลทหารบก ปีที่ 23 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2565 Vol. 23 No.2 May - August 2022

ความคิดเห็น