ผู้วิจัย

สุธีรา สุนทรารักษ์1* ภัทรวิทย์ ปรุงเรณู2 Suteera Suntararak1*, Pattarawit Prungreenoo2

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์สมุนไพรมาส์กหน้าในการเพิ่มความชุ่มชื้นและความขาวแก่ผิวหน้าโดยให้อาสาสมัครรับการพอกหน้า 3 ครั้ง/สัปดาห์ นานครั้งละ 30 นาที ต่อเนื่องเป็นเวลา 12 สัปดาห์ผลการวิจัยภายหลังการพอกหน้าเพื่อทดสอบความชุ่มชื้นของผิวหน้าด้วยหัวเครื่อง Comeometer พบว่าในบริเวณตำแหน่งหน้าผาก แก้ม และคาง มีความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้นโดยตำแหน่งหน้าผากและแก้มมีความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่ 6 (65.82 ± 14.20* และ 62.22 ± 10.36*ตามลำดับ) แต่ในตำแหน่งคางมีความชุ่มชื้นตั้งแต่สัปดาห์ที่ 4 (52.20 ± 13.40*) ส่วนผลของการทดสอบความขาวของผิวหน้าด้วยหัวเครื่อง Mexameter พบว่าในบริเวณตำแหน่งหน้าผากและคางมีความขาวเพิ่มขึ้นโดยจะขาวขึ้นตั้งแต่ในสัปดาห์ที่ 8 (329.20 ± 27.25* และ 338.80 ± 30.79*ตามลำดับ) ส่วนในตำแหน่งแก้มจะขาวขึ้นในสัปดาห์ที่ 12 (332.50 ± 32.20*) และสำหรับการประเมินความพึงพอใจของอาสาสมัครต่อผลิตภัณฑ์ จะเห็นได้ว่าคะแนนเฉลี่ยด้านความพึงพอใจโดยภาพรวมต่อผลิตภัณฑ์มีค่าเฉลี่ยมากกว่า 7.00 คะแนน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่แสดงให้เห็นว่าอาสาสมัครให้การยอมรับต่อผลิตภัณฑ์ กล่าวโดยสรุปได้ว่า ผลิตภัณฑ์สมุนไพรมาส์กหน้าส่งผลต่อความขาวของผิวหน้าได้ในทุกตำแหน่งเช่นเดียวกับความชุ่มชื้นแต่ระยะเวลาของการเกิดประสิทธิผลจะต้องใช้ระยะเวลาที่นานกว่าอีกทั้งผู้ใช้มีความชอบต่อผลิตภัณฑ์ในภาพรวมระดับปานกลาง

บรรณานุกรม

[1] Beringhs, A. R.; and J. Rosa, et al. (2013). Green Clay and Aloe Vera Peel-Off Facial Masks: Response Surface Methodology Applied to the Formulation Design. AAPS PharmSciTech. 14(1): 445-455. [2] Zague, V.; D. De Almeida Silva.; et al. (2007). Clay facial masks: physicochemical stability at different storage temperatures. International Journal of Cosmetic Science. 29(6): 488-489. [3] Singthong, J.; S. Ningsanond.; S.W. Cui.; and H. D. Goff. (2005). Extraction and physicochemical characterization of Krueo Ma Noy pectin. Journal of Food Hydrocolloids. 19: 719-801. [4] Singthong, J.; S.W.Cui S. Ningsanond; and H.D. Goff. (2004). Stuctural characterization, degree of estertification and some gelling properties of Krueo Ma Noy pectin (Cissampelospareira) pectin. Journal of Cabohydrate Polymers. 58: 391–400. [5] กรมศุลกากร. (2552). สถิติการนำเข้า-ส่งออก. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2554, จาก http://www.customs.go.th/Statistic/StatisticIndex.jsp [6] Nussinovitch, A. (1997). Hydrocolloid Applications: gum technology in the food and other industries. Blackie Academic and Professional publishing. United Kingdom. [7] Pushpa, A.; Vishnu, B.V. G.; and K. S., T. R. (2013). Preparation of nano silk sericin based Hydrogels from silk industry waste. Journal of Environmental Research and Development. 8: 243-253. [8] Dash, B. C.; Mandal, B. B.; and Kundu, S. C. (2009). Silk gland sericin protein membranes: Fabrication and characterization for potential biotechnological applications. Journal of Biotechnology. 144: 321–329. [9] Capar, G.; Aygun, S. S.; and Gecit, M. R. (2009). Separation of sericin from fatty acids towards its recovery from silk degumming wastewaters. Journal of Membrane Science. 342: 179–189. [10] สุธีรา สุนทรารักษ์. (2561). รายงานการวิจัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์แผ่นเจลสมุนไพรมาส์กหน้าด้วยเพคตินจากใบเครือหมาน้อย (Cissampelos pareira L.) ร่วมด้วยโปรตีนสกัดเซริซิน (Sericin) จากเศษรังไหม. หน้า 69. บุรีรัมย์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. [11] Dash, R.; Mandal, M.; Ghosh, S.; and Kundu, S. (2008). Silk sericin protein of tropical tasar silkworm inhibits UVB-induced apoptosis in human skin keratinocytes. Molecular and Cellular Biochemistry. 311(1): 111- 119. [12] Kostalova, Z.; Hromadkova, Z.; and Ebringerova, A. (2010). Isolation and characterization of pectic polysaccharides from the seeded fruit of oil pumpkin (Curcubitapepo L. varStyriaca). Ind. Crop. Prod. 31: 370-377. [13] Koriem, K.M.M.; Arbid, M.S.; and Eman, K.R. (2014). Therapeutic effect of pectin on octylphenol induced kidney dysfunction, oxidative stress and apoptosis in rats. Environ. Toxicol.Pharmacol. 38: 14-23.

หน่วยงานการอ้างอิง

การประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายวิจัยสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ครั้งที่ 14

การเผยแพร่ผลงานวิจัย    เรื่อง “การศึกษาประสิทธิผลของสมุนไพรมาส์กหน้าด้วย ใบเครือหมาน้อยและโปรตีนสกัดเซริซิน (Sericin) จากเศษรังไหม”    ในงานวิจัยระดับชาติเครือข่ายวิจัยสถาบันอุดมศึกษา ระหว่างวันที่ 5 – 6 สิงหาคม 2564 แบบออนไลน์ โดยเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคกลางตอนบน และสำนักงานสำนักปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)

ไฟล์แนบ

pdf RANC14-085 paper

ขนาดไฟล์ 457 KB | จำนวนดาวน์โหลด 264 ครั้ง

ความคิดเห็น