ผู้วิจัย

ไพรัชช์ จันทร์งาม, อนล สวนประดิษฐ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) โดยใช้โปรแกรม Geogebra รายวิชาการวิเคราะห์เชิงตัวเลข สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) โดยใช้โปรแกรม Geogebra กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ชั้นปีที่ 3 หมู่ 2 จำนวน 27 คน ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการวิเคราะห์เชิงตัวเลข ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) โดยใช้โปรแกรม Geogebra และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่า ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่าประสิทธิภาพของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) โดยใช้โปรแกรม Geogebra ได้ค่า E1/E2 เท่ากับ 83.54/87.84 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 70/70 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) โดยใช้โปรแกรม Geogebra สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The purposes of this research were 1) to develop E-books using Geogebra program on “Numerical Analysis” for mathematics students as the standard criterion 70/70. 2) To compare the academic achievements of students using electronic media (E-books) using Geogebra with 70 percent criterion. The samples of research consisted of Year 3, Moo 2, 27 persons students in Mathematics Department, Faculty of Education, Buriram Rajabhat University at Registered for numerical analysis subject, Semester 2, academic year 2020 selected by using Simple random sampling. The instruments used in gathering data were, E-books using Geogebra program and 5 questions of learning achievement measurement test. The statistical data analysis involved means, standard deviations and t-test for dependent samples were used to analyze the data. The results of the study revealed as follows The efficiency of E-books using Geogebra was 83.54/87.84, which met prescribed criterion at 70/70 and the academic achievements of students using electronic media (E-book) using Geogebra was statistically higher than 70 percent criterion at .05 level.

บรรณานุกรม

กรมวิชาการ. (2544). คู่มือพัฒนาสื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสอนค้าและพัสดุภัณฑ์. กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรกรแห่งประเทศไทย ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2543. เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น. วุฒิชัย ภูดี. (2561). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตโดยใช้การสอนแบบเปิดด้วยโปรแกรม GeoGebra. Conference 2016 (APAM 2016) Chulalongkorn University. 261-268 _________. (2562). GeoGebra in 20 Lessons. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). คู่มือการวัดและประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) _________. (2548). คู่มืออ้างอิง The Geometer’s Sketchpad ซอฟแวร์สำรวจเชิงคณิตศาสตร์เรขาคณิตพลวัต. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. _________. (2549). เรียนรู้การใช้งานเบื้องต้น The Geometer’s Sketchpad ซอฟแวร์สำรวจเชิคณิตศาสตร์เรขาคณิตพลวัต. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. _________. (2550). ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. สมพล พวงสั้น. (2559). พัฒนาแบบฝึกทักษะร่วมกับโปรแกรมจีโอจีบร้าสำหรับการหาปริพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกทักษะร่วมกับชุดคำสั่งสำเร็จรูปของโปรแกรมจีโอจีบร้า เรื่องการหาปริพันธ์. E-Journal, Science and Technology Silpakorn University. Volume 3 Number 2 March – April 2016 (ISSN 2408 – 1248) Yılmaz Zengina. (2012). The effect of dynamic mathematics software geogebra on student achievement in teaching of trigonometry. Procedia - Social and Behavioral Sciences 31, 183 – 187 Mehmet Bulut. ( 2015). The Effects of GeoGebra on Third Grade Primary Students’ Academic Achievement in Fractions. Mathematics Education, 11(2), 347-355

หน่วยงานการอ้างอิง

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ความคิดเห็น