ผู้วิจัย

สุวรรณา จันคนา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสกัดสาร แยกสาร และทดสอบฤทธิ์ต้านมะเร็งเต้านมของใบย่านาง โดยนำใบย่านางแห้งมาสกัดร้อนด้วยเครื่องสกัดซอกเลต (Soxhlet extraction) ตัวทำละลายที่ใช้คือ เฮกเซน ไดคลอโรมีเทน เอทิลอะซิเตท และเอทานอล ได้สารสกัดหยาบเฮกเซน สารสกัดหยาบไดคลอโรมีเทน สารสกัดหยาบเอทิลอะซิเตท และสารสกัดหยาบเอทานอล โดยมีเปอร์เซ็นต์สารสกัดหยาบต่อน้ำหนักพืชแห้งคือ 3.12, 1.32, 3.71 และ 13.12 % ตามลำดับ นำสารสกัดหยาบทั้งหมดไปทดสอบฤทธิ์ต้านมะเร็งเต้านมด้วยวิธี Resazurin Microplate Assay (REMA) พบว่าสารสกัดหยาบไดคลอโรมีเทนออกฤทธิ์ต้านมะเร็งเต้านม โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 31.36 mg/ml การนำสารสกัดหยาบทั้งหมดไปแยกสารบริสุทธิ์ด้วยวิธีคอลัมน์โครมาโทกราฟี และการตกผลึก พบสารบริสุทธิ์จากการแยกสารสกัดหยาบเฮกเซน ไดคลอโรมีเทน และสารสกัดหยาบเอทิลอะซิเตท มาแยกโดยวิธี Column chromatography และทำให้บริสุทธิ์ด้วยวิธีการตกผลึกใหม่ได้สารบริสุทธิ์ ทำการวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชันของสารโดยวิธี IR Spectroscopy และทำการวัดจุดหลอมเหลวของสาร พบว่าเป็นสารประกอบแอลเคน (Alkane)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสกัดสาร แยกสาร และทดสอบฤทธิ์ต้านมะเร็งเต้านมของใบย่านาง โดยนำใบย่านางแห้งมาสกัดร้อนด้วยเครื่องสกัดซอกเลต (Soxhlet extraction)  ตัวทำละลายที่ใช้คือ เฮกเซน ไดคลอโรมีเทน เอทิลอะซิเตท และเอทานอล  ได้สารสกัดหยาบเฮกเซน สารสกัดหยาบไดคลอโรมีเทน สารสกัดหยาบเอทิลอะซิเตท และสารสกัดหยาบเอทานอล  โดยมีเปอร์เซ็นต์สารสกัดหยาบต่อน้ำหนักพืชแห้งคือ 3.12, 1.32, 3.71 และ  13.12 % ตามลำดับ  นำสารสกัดหยาบทั้งหมดไปทดสอบฤทธิ์ต้านมะเร็งเต้านมด้วยวิธี Resazurin Microplate Assay (REMA) พบว่าสารสกัดหยาบไดคลอโรมีเทนออกฤทธิ์ต้านมะเร็งเต้านม โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 31.36 mg/ml  การนำสารสกัดหยาบทั้งหมดไปแยกสารบริสุทธิ์ด้วยวิธีคอลัมน์โครมาโทกราฟี และการตกผลึก พบสารบริสุทธิ์จากการแยกสารสกัดหยาบเฮกเซน ไดคลอโรมีเทน  และสารสกัดหยาบเอทิลอะซิเตท  มาแยกโดยวิธี Column chromatography และทำให้บริสุทธิ์ด้วยวิธีการตกผลึกใหม่ได้สารบริสุทธิ์  ทำการวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชันของสารโดยวิธี IR Spectroscopy  และทำการวัดจุดหลอมเหลวของสาร  พบว่าเป็นสารประกอบแอลเคน (Alkane)

ความคิดเห็น