การใช้เทคนิคทาง SEO เนื้อหา เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้เข้าชมได้เข้าเว็บไซต์มากขึ้น เกิดจากการตะหนักถึงการผลิตเนื้อหาที่มีประโยชน์ ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการนำเสนอบนเว็บไซต์ นอกจากดึงดูดผู้เข้าชมแล้วยังสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์และยังช่วยดึงดูดลิงค์เชื่อมโยงจากเว็บไซต์ที่มีคุณภาพเข้ามาอีกด้วย แต่การมีเนื้อหาที่มีประโยชน์อย่างเดียวไม่เพียงพอสำหรับปัจจุบันนี้ เนื่องจากพฤติกรรมของผู้เข้าชมไม่ว่าต้องการทราบข้อมูลใด จะทำการค้นหาผ่าน serch engine (google) และเลือกเว็บไซต์ที่ใกล้เคียงกับความต้องการมากที่สุด การเขียนบทความจึงต้องทำความเข้าใจกับเกณฑ์ที่ google กำหนดไว้

ศูนย์คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชภัฏบุรีรัมย์ได้ดำเนินการขับเคลื่อนเกณฑ์การวัดผล เพื่อให้มีอันดับใน Webometrics Ranking of World University มาโดยตลอดและเล็งเห็นความสำคัญของการเผยแพร่เนื้อหาด้านวิชาการบนเว็บไซต์ที่มีประโยชน์ ที่อยู่ในรูปแบบของ Web Publications หรือ Digital Publications ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจหลักของเกณฑ์ทั้ง 2 ด้าน ประกอบด้วย

1.presence คือจำนวนเว็บเพจทั้งหมดที่อยู่ภายใต้โดเมนหลักของมหาวิทยาลัย 5% วัดโดย google search engine

2.visibility (impact) คือจำนวนการเชื่อมโยงจากลิงค์ภายนอก (subnet) ที่เข้าสู่เว็บเพจมหาวิทยาลัย 50%

จากเกณฑ์ที่กล่าวข้างต้นหากมีการเขียนเนื้อหาที่มีประโยชน์และปรากฎในการค้นหาบนหน้า google ก็สามารถเพิ่มจำนวนหน้าเว็บเพจ เข้าเกณฑ์ในข้อ 1  คะแนน 5% และหากผู้เข้าชมเห็นว่าเนื้อหามีประโยชน์ก็นำเนื้อหาแชร์ต่อไป เข้าเกณฑ์ข้อ 2 ซึ่งมีคำแนนถึง 50 %

ศูนย์คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงได้จัด โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการติดตามการพัฒนาและดูแลเว็บไซต์ของหน่วยงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ห้องหงส์พันธ์ อาคารนวัตปัญญา ได้รับเกียรติจากรองธิการบดีฝ่ายบริหารงานบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศ ผศ.ดร.ศิราณี จุโฑปะมา ประธาน ผศ.ดร.สมศักดิ์ จีวัฒนา ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ กล่าวเปิดการอบรม และมอบเกียติบัตรการอบรมโดย รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจารย์ ดร.ณัฐพล แสนคำ

วิทยากรผู้ให้ความรู้จากศูนย์คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต นางสาววีราพัชร์ ปุญญพัฒนศิริ และนายฐานปกรณ์ เสียงวังเวง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ webmaster และผู้จัดทำเว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มีผู้เข้าร่วมการอบรมทั้งสิ้นจำนวน 60 คน ซึ่งเป็นเครือข่ายผู้ดูแล website ประกอบด้วย อาจารย์ บุคลากร โดยเนื้อหาในครั้งนี้เน้น แนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพเนื้อหาบนเว็บไซต์ เพื่อให้เข้ากับเกณฑ์ google ให้กับ เครือข่ายผู้ดูแลเว็บไซต์ ที่ทำหน้าที่ผลิตเนื้อหาให้กับ คณะ/สาขา/หน่วยงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ทราบถึงข้อดี หลักเกณฑ์ ขั้นตอนในการเขียนเนื้อหาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ ตลอดจนการติดตามผลลัพธ์ ของการทำ SEO

โดยเชื่อว่าหลังจากจบการอบรมครั้งนี้ จะช่วยสนับสนุนให้อาจารย์และบุคลากรสามารถเขียนบทความที่มีคุณภาพ รองรับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยเผยแพรในเว็บไซต์ของหน่วยงานตนเอง ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ความคิดเห็น