การศึกษาแรงจูงใจ ในการทำงานของคนงานก่อสร้างในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

การศึกษาแรงจูงใจ ในการทำงานของคนงานก่อสร้างในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
สยามรัฐ  วรรณโคตร1  ชาญวิทย์  โอภาสเพ็ญทรา2  อดิสรณ์  สระบัว3  และสุปรีชา  นามประเสริฐ4*
1,2,3,4* สาขาวิชาเทคโนโลยีก่อสร้าง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
*ผู้นิพนธ์ประสานงานบทความ  อีเมล: supreecha.namprasert@gmail.com

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของคนงานก่อสร้างในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุน 2) เพื่อเปรียบเทียบลักษณะส่วนบุคคลที่มีผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของคนงานก่อสร้างทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากคนงานก่อสร้าง จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้วยค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา ได้ค่าความเชื่อมั่น คือ 0.938 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ผลข้อมูลเกี่ยวกับแรงจูงใจ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างลักษณะส่วนบุคคลกับแรงจูงใจ ได้แก่ t-test และ F-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05ผลการวิจัย พบว่า 1) คนงานก่อสร้างก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นเพศชายอายุ 20-30 ปี สถานภาพสมรส ระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นประสบการณ์การทำงานก่อสร้าง 3-5 ปีตำแหน่ง/งานปฏิบัติ กรรมกรรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 8,000-10,000 บาทและประเภทแรงงานรายวัน 2) ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของคนงานก่อสร้างทั้งสองด้านในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยแรงจูงใจด้านปัจจัยค้ำจุน ( =3.65) มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าด้านปัจจัยจูงใจ ( =3.64) ทั้งนี้แรงจูงใจในการทำงานด้านปัจจัยจูงใจมากที่สุด คือ ความรับผิดชอบในหน้าที่ ( =3.75) รองลงมา คือ ความสำเร็จของงาน ( =3.67) และน้อยที่สุด คือ การยอมรับนับถือ ( = 3.58) ส่วนแรงจูงใจในการทำงานด้านปัจจัยค้ำจุนมากที่สุด คือ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ( =3.74) รองลงมาคือ ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ( =3.71) และน้อยที่สุดคือ สวัสดิการ ( =3.51) เมื่อเรียงลำดับแรงจูงใจทั้งสองด้านจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย พบว่าคนงานก่อสร้างมีแรงจูงใจในการทำงานมากที่สุด คือ ความรับผิดชอบในหน้าที่ รองลงมาได้แก่ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาสภาพแวดล้อมในการทำงานและความมั่นคงในการทำงานความสำเร็จของงานนโยบายและการบริหารขององค์กรลักษณะงานที่ปฏิบัติความก้าวหน้าในงานเงินเดือนและค่าตอบแทนการยอมรับนับถือ และแรงจูงใจน้อยที่สุด คือ สวัสดิการ 3) การเปรียบเทียบลักษณะส่วนบุคคลที่มีผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของคนงานก่อสร้างพบว่า เพศ อายุ สถานภาพสมรส และประเภทแรงงาน ของคนงานก่อสร้างที่แตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่ส่งผลให้เกิดแรงจูงใจในการทำงานที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนระดับการศึกษาสูงสุด และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน ส่งผลให้คนงานก่อสร้างเกิดแรงจูงใจในการทำงานที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

คำสำคัญการศึกษาแรงจูงใจ แรงจูงใจในการทำงาน คนงานก่อสร้าง

ความคิดเห็น