ผู้วิจัย

ณัฐพล วงษ์รัมย์, สมคิด สาลี

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบทชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า ศึกษาพฤติกรรมของช้างป่า วิเคราะห์ตำแหน่งที่พบช้างป่า และวิเคราะห์หาพื้นที่เสี่ยงอันตรายจากช้างป่าที่ออกนอกเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ จังหวัดบุรีรัมย์ ด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ โดยใช้ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน ปี พ.ศ. 2559 ร่วมกับ ตำแหน่งที่พบช้างป่าปี พ.ศ. 2555-2560 ซึ่งมีการบันทึกข้อมูลด้วยเครื่อง GPS ผลการศึกษาพบว่า ราษฎรที่อาศัยในชุมชนรอบๆ เขตป่าเข้าไปจับจองพื้นที่ทำการเกษตร และตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ป่า รวมทั้งมีบริษัทเอกชนทำสัมปทานป่าไม้เพื่อการค้า ทำให้ช้างป่าเข้ามาหากิน เหยียบย่ำผลผลิต และรื้อค้นทรัพย์สินของราษฎร เสียหาย โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2560 (มกราคม-พฤษภาคม) มีการบันทึกผู้เสียหายไว้ 37 ราย โดยช้างป่าเข้ามากินมันสำปะหลัง ข้าวเปลือกในนา กล้วย และมะม่วง เป็นต้น ซึ่งช้างป่าที่ออกนอกเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ มีตั้งแต่ 1 ตัว ไปจนถึง 40 ตัว พบทั้งหมด 351 ครั้ง แต่ช้างป่าที่ออกหากินเดี่ยวๆ หรือออกหากินกระจายในบริเวณเดียวกันไม่เกิน 5 ตัว พบได้ทุกช่วงเวลาของกลางคืน เมื่อราษฎรพบช้างป่าจะแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทราบ และช้างป่าจะถูกผลักดันให้กลับเข้าป่า ด้วยวิธีการตะโกนไล่ จุดปะทัด และยิงปืนให้เกิดเสียง จากการสำรวจตำแหน่งที่พบช้างป่า พบว่า ปี พ.ศ. 2555 พบ 54 ครั้ง ปี พ.ศ. 2556 พบ 102 ครั้ง ปี พ.ศ. 2557 พบ 51 ครั้ง ปี พ.ศ. 2558 พบ 44 ครั้ง ปี พ.ศ. 2559 พบ 62 ครั้ง และปี พ.ศ. 2560 พบ 38 ครั้ง และตำแหน่งที่พบช้างป่ามากที่สุด คือ พื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง นาข้าว สวนเสาวรส และสวนยางพารา ตามลำดับ โดยพื้นที่เสี่ยงอันตรายจากช้างป่าที่ออกนอกเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า ชุมชนคลองหินลาด คลองหิน คลองโป่ง และโคกเพชร อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นพื้นที่เสี่ยงมากอันตรายมากที่สุด เพราะพบช้างป่ามากกว่า 50 ตัวต่อปี

บรรณานุกรม

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2559). เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่. ค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2560. จาก : http://www.dnp.go.th/wildlife_it/n_web/menu_ map/ page_DY.php --------------. (2556). องค์ความรู้เรื่องการจัดการช้างป่าในพื้นที่กันชนป่าอนุรักษ์. กรมฯ. กรุงเทพฯ จีรณา ณรงค์. (2553). ช้าง คน ป่า แนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาชุมชนติดแนว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ จังหวัดบุรีรัมย์. กรุงเทพมหานคร : ส านักงานกองทุนสนับสนุน การวิจัย. ราชกิจจานุเบกษา. (2539). พระราชกฤษฎีกาก าหนดบริเวณที่ดินป่าดงใหญ่ ในท้องที่ต าบลโคก มะม่วงต าบลหูท านบ อ าเภอปะค า และต าบลโนนดินแดง ต าบลล านางรอง กิ่งอ าเภอโนนดิน แดง อ าเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พ.ศ. 2539. กรุงเทพฯ นริศ ภูมิภาคพันธ์. (2550). เอกสารการประชุมเรื่อง สารพันความรู้และการแก้ไขปัญหาเรื่อง ช.ช้าง. ศูนย์วิจัยป่าไม้คณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ วิกิพิเดีย สารานุกรมเสรี. (2558). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. ค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2559, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก. (ม.ป.ป.). ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่. ค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2560. จาก : http://www.thaiwhic.go.th/heritage_nature2.aspx ศูนย์วิจัยป่าไม้. (2542). โครงการศึกษาการประยุกต์ใช้ข้อมูลจากการส ารวจระยะไกลและระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อส ารวจตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน. คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศิระ โอภาสพงษ์. (2542). ทฤษฎีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2559, จาก http://www.gisthai.org/about-gis/gis.html. ศุภกิจ วินิตพรสวรรค์. (2545). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อวิเคราะห์การ แพร่กระจายของช้างป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ. ค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2559, จาก http://web3.dnp.go.th/wildlifenew/researchPublishList.aspx สุชาติ โภชณงค์. (ม.ป.ป). การประเมินถิ่นที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมของสัตว์ป่าชนิดส าคัญในกลุ่ม ภูเขียว-น้ าหนาว. ส านักอนุรักษ์สัตว์ป่า. กรุงเทพฯ สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า ประเทศไทย. (2550). เทคนิคการจัดการปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับ ช้าง. แสงเมืองการพิมพ์. กรุงเทพฯ สรรค์ ใจกลิ่นดาว. (2542). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ : หลักการเบื้องต้น. ค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2559, จาก http://kmcenter.rid.go.th/kmc14/gis_km14/gis_km14(39).pdf. ไสว วังหงษา และคณะ. (2549). ท าไมช้างป่าจึงออกหากินนอกพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่าง ฤๅไน. ผลงานวิจัย และรายงานความก้าวหน้างานวิจัย ประจ าปี 2548. กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า ส านักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช. กรุงเทพฯ สิริพร กมลธรรม. (2553). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เบื้องต้น. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2559, จาก http://kmcenter.rid.go.th/kmc14/gis_km14/gis_km14(40).pdf. ส านักกิจการอวกาศแห่งชาติ. (2552). ระบบดาวเทียมน าร่อง "จีเอ็นเอสเอส" ตอนที่ 1. ค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2559, จาก http://www.space.mict.go.th/knowledge.php?id=gnss1 ส านักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ. (2559). ความหมายของเทคโนโลยีภูมิ- สารสนเทศ. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2559, จาก http://www.gistda.or.th/main/th/ node /815

ไฟล์แนบ

pdf 270836_756852

ขนาดไฟล์ 3 MB | จำนวนดาวน์โหลด 492 ครั้ง

ความคิดเห็น