ผู้วิจัย

กิ่งแก้ว ปะติตังโข และคณะ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนบ้านลิ่มทองเพื่อการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองจังหวัดบุรีรัมย์” มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองจังหวัดบุรีรัมย์ (2) ศึกษาแนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองจังหวัดบุรีรัมย์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์บ้านลิ่มทอง หมู่ 4 ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ การเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ เป็นการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้นำชุมชน ชาวบ้าน และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัย 1) สภาพของหมู่บ้านลิ่มทอง ในเบื้องต้นมีการรวมกลุ่ม ได้แก่ เป็นศูนย์สาธิตเพื่อการเกษตร กลุ่มข้าวรังแตน และกลุ่มเกษตรทฤษฏีใหม่ 2) แนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนบ้านลิ่มทอง คือ การไปศึกษาดูงาน ณ พุทธสถานศีรษะอโศก ตำบลกระแชง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ชาวบ้านได้นำความรู้การทำปุ๋ยอินทรีย์ 1 เทพ 8 เซียน มาปฏิบัติใช้ในครัวเรือนของตนเอง และถ่ายทอดให้ชาวบ้านที่สนใจทำตาม จากศักยภาพของกลุ่มที่มีทุนเดิม คือ มีเครื่องสีข้าวขนาดเล็ก มีอาคารสถานที่ขนาดใหญ่ และขนาดกลางสามารถทำกิจกรรมเกี่ยวกับการแพ็กข้าวเพื่อการจำหน่ายได้ มีเครื่องแพ็กข้าวสุญญากาศ มีพัดลมเป่า มีกลุ่มคนที่มีสนใจและความตั้งใจทำเกษตรอินทรีย์ จึงทำให้เกิดความเข้มแข็งจนเกิดการสร้างกลุ่มใหม่ชื่อ กลุ่มเกษตรอินทรีย์ข้าวปลอดสารบ้านลิ่มทอง มีสมาชิก 17 คนมีการจัดตั้งประธานกลุ่ม รองประธาน ฝ่ายการเงิน ฝ่ายการผลิต และฝ่ายการตลาด ในการดำเนินงานของกลุ่มมีกติกาควบคุม สมาชิกต้องทำตามกติกา ข้าวที่ปลูกเพื่อเป็นผลผลิตของกลุ่ม ได้แก่ ข้าวจิ๊บ ข้าวหอมนิล ข้าวไรซ์เบอร์รี ข้าวเหลืองปลาซิว ข้าวมะลิแดง คำสำคัญ : การเสริมสร้างความเข้มแข็ง บ้านลิ่มทอง ข้าวพื้นเมือง

บรรณานุกรม

กรมพัฒนาชุมชน, กองอาสาสมัครและผู้นำท้องถิ่น. (2542). ยุทธศาสตร์การพัฒนาอาสาสมัคร และองค์กรชุมชน.ใน เอกสารประกอบการสัมมนาองค์การเครือข่ายงานพัฒนาชุมชน (หน้า 12-28). กรุงเทพมหานคร : กองอาสาสมัครและผู้นำท้องถิ่น กรมพัฒนาชุมชน. กาญจนา แก้วเทพ. (2540). องค์กรชุมชน กลไกเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม. ขอนแก่น : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. กำธร อุดชา. (2554). รูปแบบและปัจจัยการเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้ด้อยโอกาสด้วย ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน : ศึกษากรณีเทศบาลตำบลโนนสะอาด จังหวัดหนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์ รป.ม. (การปกครองท้องถิ่น). ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น. โกมินทร์ กุลเวชกิจ. (2558). รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้านเศรษฐกิจโดยยึด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านดอนดู่ ต.ป่าสังข์ อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. (ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. ครรชิต พุทธโกษา. (2554). คู่มือการสร้างต้นแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำนักงาน คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. เจริญ เหล่าธรรมทัศน์. (2557). ยอดส่งออกข้าวไทยร่วงอันดับ 3 ของโลกติดต่อกัน 2 ปี. เดลินิวส์ ออนไลน์, ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557. เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. (2541). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ : คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. เฉลียว บุรีภักดี. (2545). หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตการจัดการและการประเมินโครงการชุด วิชาการวิจัยชุมชน. กรุงเทพฯ : เอส อาร์ พริ้นติ้งแมสโปรดักส์. ชลัส จงสืบพันธ์. (2546). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารท้องถิ่น. ใน การบริหารงานท้องถิ่น. (หน้า 309-350). นนทบุรี : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ทิพวรรณ สิทธิรังสรรค์. (2542). ปุ๋ยหมัก ดินหมัก และปุ๋ยน้ำชีวภาพ เพื่อการปรับปรุงดินโดยวิธี เกษตรธรรมชาติ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. นิติภูมิ เนาวรัตน์. (2557). จำนำข้าว การต่อสู้ทางชนชั้นในไทย. ไทยรัฐออนไลน์วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557. ปราณี จินาบุญ. (2554). แนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งของพัฒนาการ: ศึกษากรณี การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน เขตที่ 8. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ปาริชาติ วลัยเสถียร, พระมหาสุทิตย์ อบอุ่น, สหัทยา วิเศษ, จันทนา เบญจทรัพย์ และ ชลกาญจน์ ฮาซันนารี. (2543). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. พาลาภ สิงหเสนี, ถวิลวดี บุรีกุล, อรวรรณ เกตุเจริญ, หญิงทิพิชา โปษยานนท์, ศศิธร แจ่มถาวร, ศุทธฤทัย เชิญขวัญมา และคนอื่นๆ. (2545). การมีส่วนร่วมเพื่อคุณภาพชีวิตของชุมชนและ การพัฒนาที่ยั่งยืน : กรณีศึกษาการแก้ปัญหาสารพิษในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อักษรโสภณ. พิริยา เล็กพลอย. (2557). แนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางธุรกิจให้แก่เกษตรกรผู้ปลูก ยางพารา อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. (บริหารธุรกิจ). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้. พีรสุต ศรีธวัช ณ อยุธยา. (2541). องค์ประกอบเชิงระบบและปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มแข็งของ ชุมชน. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์). กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สมใจ ศรีเนตร. (2555). การเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชน ของจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์. นครปฐม : มหาวิทยาลัยราชมงคลรัตนโกสินทร์. สมเดช สิทธิพงศ์พิทยา. (2544). การมีส่วนร่วมของขาวชนบทผู้ยากจนในโครงการพัฒนาชนบท. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สมพันธ์ เตชะอธิก และคณะ. (2540). การพัฒนาความเข้มแข็งขององค์การชาวบ้าน. ขอนแก่น : เจริญวิทย์การพิมพ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2551). มหัศจรรย์พันธุ์ข้าวพื้นบ้านคุณค่าทาง โภชนาการของสายพันธุ์ข้าวท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : มหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 5 ข้าวไทยชีวิตไทยชีวิตโลกระหว่างวันที่ 3-7 กันยายน 2551 ณ อิมแพค เมืองทองธานี. สุรพล ทองมีค่า. (2554, มกราคม – มิถุนายน). “ชาวนากับการสูญหายของพันธุ์ข้าวพื้นเมือง,” วารสารวิชาการข้าว. 5 (1) : 31. เสถียร ฉันทะ. (2554). ความหลากหลายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองและการอนุรักษ์ของชุมชนในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ ปร.ด. (ความหลากหลายทางชีวภาพ). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. อมรฤทธิ์ เอมะปาน. (2543). กลยุทธ์การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์บพิธการพิมพ์. อคิน รพีพัฒน์. (2547). การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์การศึกษานโยบายสาธารณสุข. อนุชาติ พวงสำลี และอรทัย อาจอ่ำ. (2541). การพัฒนาเครื่องชี้วัดคุณภาพาชีวิตและสังคมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. อภิญญา กังสนารักษ์. (2544). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในองค์กรที่มีประสิทธิผล. ระดับคระของสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Milbrath, L. W., & Goel, M. L. (1977). Political participation ; How and why do people get involved in politics. (2nd ed.). Chicago : Rand McNally. Huntington, S. P., & Dominguez, J. I. (1975). “Political development”. In F. I. Greenstein & N. W. Polsby (Eds.), Handbook of political sciences. (pp. 1-114). Boston : Addison Wesley.

หน่วยงานการอ้างอิง

โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ไฟล์แนบ

pdf รวม

ขนาดไฟล์ 2 MB | จำนวนดาวน์โหลด 238 ครั้ง

ความคิดเห็น